เชื่อว่า จิตกับใจแยกจากกันได้จริง


ปุจฉา มีคำถามจะฝากนมัสการเรียนถาม หลวงปู่เกี่ยวกับธรรมะข้อหนึ่งคะ "เชื่อว่า จิตกับใจแยกจากกันได้จริง (ไม่ใช่ตอนตาย หมายถึงตอนที่ยังมีลมหายใจอยู่)ทำได้อย่างไร เช่นเวลาที่กายเจ็บป่วยแล้วใจก็เศร้าหมอง เราจะมีทางระงับได้อย่างไรเพื่อไม่ให้กายเป็นนายของใจ"
หลวงปู่ วิสัชนา

จริงๆแล้วคำถาม ถามค่อนข้างจะสับสน ก่อนที่จะมาพูดถึงเรื่องจิตกับใจแยกกันได้จริงหรือไม่ หลายคนอาจจะสงสัยว่าอะไรคือจิต และอะไรคือใจ
จิตในภาษาธรรมะ วิชาการศาสนา เขาเรียกมันเป็นสภาวะธรรม จิตนี้เป็นสภาวะธรรม ไม่มีรูปร่างแต่ต้องการที่อยู่ ธรรมชาติของจิตคือมีความซึมสิง ซึมทราบ มีตัวรู้ เมื่อจิตไม่มีรูปร่างต้องการที่อยู่ มีคุณสมบัติคือรับรู้อารมณ์ รับรู้สภาวะธรรม ที่อยู่ของจิตก็คือกายนี้
ส่วนใจ หรือภาษาบาลี หรือภาษาวิชาการศาสนา เขาเรียกว่า หะทะยัง หรือหัวใจ มีสันฐานกลมเหมือนดอกบัวตูม ใหญ่เล็กเท่าเจ้าของกับกำปั้นของคนๆนั้น รูปร่างจะใหญ่โตเท่ากับกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของใจๆนั้น ใจนี้มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เหมือนโรงงานสูบน้ำ เพราะฉะนั้นจิตอิงอาศัยกายและใจนี้ โดยภาษาธรรมะแล้ว จิตนี้เปรียบดั่งพลังงาน มีอำนาจเหนือการควบคุมของสมอง สำหรับผู้ไม่ได้รับการฝึกปรือ แต่ถ้าผู้ควบคุมแล้วคือฝึกปรือแล้ว ก็สามารถควบคุมจิตนี้ให้ดำรงค์ตั้งมั่นหรือแยกออกจากกายและใจนี้ได้ การควบคุมหรือการฝึกปรืออันนั้น ก็ได้มาจาการเจริญสติและทำให้สติตั้งมั่น เมื่อสติตั้งมั่นอยู่ในจิตนี้แล้ว เราก็จะควบคุมจิตนี้ได้ไม่ให้รับความรู้สึกจากเวทนาที่ปรากฏทางใจหรือเวทนาที่ปรากฏทางกาย
คำถามที่ถามว่า ทำอย่างไรที่จะแยกจิตออกจากใจ ก็คือ ต้องฝึก ต้องมีสติ ฝึกให้จิตนี้ปรากฏสติทุกดวงที่เกิดดับ จนเป็นความชำนาญสามารถแยกจิตออกจากใจได้ เมื่อจิตออกจากใจก็คือเหมือนกับจิตที่ออกจากกาย กายตรงไหนที่เป็นทุกข์เดือดร้อน เช่นปวดขา ปวดมือ ปวดหัว ปวดท้อง อาการปวดเป็นเวทนา เมื่อจิตนี้สามารถแยกออกจากใจได้ก็คือไม่รับรู้อารมณ์ที่ปรากฏขึ้น เวทนานั้นก็จะไม่มีอำนาจ คือจะไม่มีอำนาจครอบคลุมกายนี้ มีเรื่องอยากจะบอกคุณอีกนิดหนึ่งว่า โดยธรรมชาติของกาย มีสมองเป็นผู้ควบคุมการทำงานของกาย มีใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง มีจิตเป็นผู้ควบคุมการทำงานของสมอง ใจ กาย จิตจะทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ ในและนอกกายนี้ เมื่อฝึกจิตดีแล้ว กายนี้ก็ย่อมไม่มีอิทธิพลต่อจิต

คำสำคัญ (Tags): #ปุจฉา - วิสัชนา
หมายเลขบันทึก: 118764เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2007 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท