พระอุโบสถเงินหลังแรกของโลก


เครื่องเงินแบบล้านนา

การสร้างอุโบสถเงินวัดศรีสุพรรณ
ลักษณะโครงการ เป็นลักษณะต่อเนื่อง
ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าอาวาส คณะกรรมการ คณะศรัทธาวัดศรีสุพรรณ กลุ่มหัตถศิปล์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ
หลักการและเหตุผล
อุโบสถเป็นศาสนสถานในการประกอบศาสนากิจในการทำสังฆกรรม ลงอุโบสถสวดพระปาฏิโมกซ์ พิธีอุปสมบทและ พิธีกรรมอื่น ๆ ของพระภิกษุสงฆ์ ในบวรพระพุทธศาสนา นับว่าอุโบสถเป็นศาสนาสถานที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการประกอบสังฆกรรม ในพระพุทธศาสนา หากไม่มีอุโบสถ ศาสนกิจสำคัญหลายประการย่อมดำเนินไปให้บริบูรณ์ได้ยาก เพาะฉะนั้นในแต่ละวัดจึงจัดให้ มีการสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถให้สมบูรณ์มั่นคง เอื้อประโยชน์ในการใช้อย่างยิ่ง
วัดศรีสุพรรณ ได้สร้างขี้นเมือพุทธศักราช 2043 รัฐสมัยของพระเจ้าเมืองแก้ว กษัตริย์ในราชวงค์มังราย และทำการผูก พันธสีมาพระอุโบสถ พุทธศักราช 2052 ใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมของคณะสงฆ์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธปาฏิหารย์ (พระเจ้า 500 ปี) ของวัดศรีสุพรรณมาโดยตลอด และอุโบสถหลังนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมลงจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมจาก เจ้าอาวาส และคณะศรัทธาวัดศรีสุพรรณในแต่ละสมัยเป็นลำดับมา บัดนี้พุทธศักราช 2547 นับเป็นเวลา 495 ปี อุโบสถหลังดัง กล่าวได้ชำรุดทรุดโทรมลงไม่สะดวกในการประกอบศาสนกิจ และอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ ทรงคณะสงฆ์คณะกรรมการ และคณะศรัทธาวัดศรีสุพรรณ ได้มีความเห็นเป็นฉันทสามัคคี ที่ทำการก่อสร้างขึ้นใหม่ ในการสร้างอุโบสถเงินครั้งนี้ ได้ดำเนินการในเขตพันธสีมาและฐานเดิม แต่จะเพิ่มเติมในส่วนของรูปทรงให้เป็นแบบ สถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ โครงสร้างก่ออิฐถือปูน และประดับตกแต่งลวดลายทุกส่วนด้วยอลูมิเนียมและเงิน สลักลวดลายภาพ สามมิติ เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศิลป์ปริศนาธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ของวัดและชุมชน ตลอดถึงวิธีการ ขั้น ตอนลวดลาย ประจำตระกูลช่างเครื่องเงินของบ้านศรีสุพรรณ โดยช่าง (สล่า ) เครื่องเงินของบ้านศรีสุพรรณ ซึ่งนอกจากจะเป็นการ สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการทำเครื่องเงินไว้เป็นมรดกสืบทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลังให้ ยั่งยืนต่อไป ดังนั้นทางวัดจึงได้จะทำโครงการสร้างอุโบสถเงินวัดศรีสุพรรณนี้ขึ้นโดยมีปณิธานว่าจะร่วมสร้างสรรค์ ส่งเสริม สนับสนุน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างศิลป์เป็นอนุสรณ์แก่แผ่นดินถิ่นล้านนา และถวายไว้ในบวรพระพุทธศานาสืบต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้เป็นศาสนสถานสำหรับทำสังฆกรรมสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
2. เพื่อสร้างศาสนาสถานเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำเครื่องเงิน เป็นอนุสรณ์แก่แผ่นดินล้านนา
3. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่

เป้าหมาย
การจัดสร้างอุโบสถเงินหลังแรกของโลก โดยภูมิปัญญาท้องถิ่น และผู้มีจิตศรัทธาที่เห็นคุณค่าแห่งการสร้างศิลป์เป็นอนุสรณ์ แก่แผ่นดินถิ่นล้านนาทุกท่าน

คำสำคัญ (Tags): #no tag
หมายเลขบันทึก: 118375เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีเจ้า ศิลปล้านนาสวยงามจ้วยกั๋นฮักษาไว้เน่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท