มหกรรมตลาดนัดการจัดการความรู้ ๔ ภูมิภาค โครงการ EdKM ครั้งที่ ๓ : ภาคกลาง ตอนที่ ๒


ต่อจากตอนที่แล้วคะ

 ตอนที่ ๑

       ช่วงบ่าย  เป็นการเสวนา  “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรการศึกษา”  โดยสรุปสาระสำคัญของการเสวนาได้ดังนี้

 

          อ.ปัญญา  แก้วเหล็ก  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี  เขต  ๑     
        
วิสัยทัศน์ของจังหวัดลพบุรี  มีเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องศูนย์การศึกษาหรือเมืองแห่งการเรียนรู้  มหานครแห่งการเรียนรู้  ตอนประเมิน  พนักงานบอกว่า  อยากพัฒนาตนเอง อยากก้าวหน้า  จึงทำเรื่อง  KM  ทุกส่วน  พร้อมในส่วนหนึ่งเราได้เข้าร่วมโครงการวิจัยฯ  ทำได้ระยะหนึ่ง  ในเขตพื้นที่ฯ  คิดว่า  น่าจะมีโมเดลของเราเอง  มาคิดว่า  KM  ควรจะต้องมีอะไรบ้าง  ภาระกิจของ  KM  เป็นงานประจำ พัฒนางานประจำ  แต่มีเรื่องหนึ่ง  คือ  งานนโยบาย 
         KM  ของ สพท. ลพบุรี  จึง มี ๓ ส่วน โดยมาเกิดเป็นประเด็นหลักของยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน  KM  ของจังหวัด  คือ
๑. การพัฒนาคน  อบรมคนทั้งเขตและโรงเรียน  ให้ได้รับความรู้ สร้างความตระหนัก  ไปดูงาน
๒. กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (กำหนดวิสัยทัศน์  สร้างทีมงาน  ใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การนำความรู้ไปพัฒนางาน  และบริการและเผยแพร่ความรู้)
๓. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Internet  Blog  e3Office  SMS  eMail  website)
          KM  ของ สพท.ลพบุรี  จึงกลายมาเป็นเครื่องมือช่วยสร้างเอกลักษณ์ขององค์กร


          อ.สมลักษณ์  สุเมธ  ผู้บริหารโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์  สพท.กทม. เขต  ๒
        
 การขับเคลื่อน KM  ของโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์  ใช้ยุทธศาสตร์  ๕ สร้าง  คือ
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจ  ในเรื่องที่เราจะทำ  วิสัยทัศน์ของโรงเรียน  คือ  เป็นองค์กรแห่งความรู้และภูมิปัญญา
๒. สร้างทีมงาน  โดยคัดเลือกคนที่มาเป็นแกนนำ  มีตำแหน่ง  เช่น  ผู้ช่วย  หัวหน้างาน  หัวหน้าช่วงชั้น  รับผิดชอบ  รักองค์กร  เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ที่สำคัญคือ  ทำงานกับคนอื่นได้
๓. สร้างความกลมกลืนกับงาน  บูรณาการในเนื้องาน  เราไม่อบรมทีมงาน  แต่ใชก้วิธีการนั่งคุยและวิเคราะห์สังเคราะห์ทบทวนกัน  ตัดสินใจไม่อบรม  ให้ทำเลย  แต่เลือกจุดที่ทำแล้วเข้ากับงานของเรา  เรามีกิจกรรมประจำปี  ปีที่แล้วเลือกได้  ๓  กิจกรรม  ที่  KM  น่าจะใช้ได้  และเริ่มจากกลุ่มนี้ก่อน  โดย  ไม่ทำกับครูทั้งโรงเรียน
๔. สร้างวัฒนธรรมที่เอื้อ  เรามีทุนทางวัฒนธรรมองค์กรอยู่บ้างแล้ว  เช่น  บุคลากรมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  เป็นกัลยาณมิตรกัน  ไม่แก่งแย่ง  มีการยอมรับและให้เกียรติกัน  ถ้าไม่จำเป็นจะไม่เชิญวิทยากรข้างนอก  พยายามหาจากคนภายในกันเอง  ผลัดกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จัดเป็นตลาดนัดใต้ต้นไม้  มีใบงาน  มีฐานบังคับ  ฐานเลือก  ครูจึงชินกับวัฒนธรรมที่ยอมรับและฟังซึ่งกันและกัน  เราสร้างให้ครูรู้จักพัฒนาตนเอง ใฝ่รู้ใฝ่เรียน  ถ้าเราหยุด  จะล้าหลัง  ครูต้องแสวงหาความรู้  แสวงหาสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตนเองและลูกศิษย์  เราใช้  PDCA   ทำงานเป็นระบบ ครบวงจร
๕. สร้างความมั่นคง  มีเครือข่ายในการทำงาน  วางแผนอย่างดี  แสวงหาพันธมิตรร่วม  ทำให้เรากระตุ้นตนเอง  ต้องมีตัวเปรียบเทียบ  เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน  คือ  ช้าๆ  ได้พร้าเล่มงาม  ซึมเข้าไปทีละเล็กละน้อย  แต่ยั่งยืน

           อ.ธนวัฒน์  เกตุงาม  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม สพท.ฉะเชิงเทรา เขต ๑
           เขตต้องการให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ  เป็น  Best Practice   เมื่ออบรมมาแล้ว  เราก็มีการสร้าง  KM  ในองค์กรของเขตพื้นที่  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  มีการสร้างหัวปลาใหญ่  คือ  รักการอ่าน  และทำขยายไปทุกโรงเรียน  มีการนำ  KM  ไปใช้ในหลายรูปแบบ  เช่น โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนเล็กๆ  การเรียนรู้ในบางเรื่องจึงไม่หลากหลาย  จึงสร้างวงเรียนรู้กับโรงเรียนอื่นๆ  ในเขต 
          สิ่งที่สำคัญ คือ การพัฒนาคนขององค์กร  ได้แก่  การสร้างความตระหนักว่า  KM  เป็นเรื่องสำคัญ  ให้คนมีใจ  มีความรู้ ความเข้าใจ  สร้างแกนนำภายในองค์กร  ต้องคัดสรร  คนที่ทำงานร่วมกับคนอื่นได้  “คุณอำนวย”  กับ  “คุณเอื้อ”  ก็สำคัญ  เรามีการผลัดกันเป็นและที่เน้นอีกอย่างหนึ่ง  คือ  การพัฒนางาน  เพราะเป็นโรงเรียนเล็ก  หากไม่มีการพัฒนา  โรงเรียนจะอยู่ไม่รอด  เราจึงมุ่งเน้นไปที่เด็ก  ทำหลายเรื่อง  เช่น  ลายมือสวย  รักการอ่าน รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากร  คือ  ทุกคนต้องใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตเป็น  เพื่อค้นหาความรู้ได้  มีการค้นหาศักยภาพแต่ละด้านของบุคลากรในองค์กร  โดยให้ครูมาเล่าว่า  เขาทำอย่างไรจึงทำเรื่องนั้นได้ดี  เช่น  ทำแฟ้มสะสมงาน  ทำวิจัยในชั้นเรียน  ทำระบบเฝ้าระวังดูแลเด็กดี  นำมาเผยแพร่ แลกเปลี่ยนกับครูคนอื่นๆ พาบุคลากรไปหาความรู้จากที่อื่นบ้าง  ไปพูดคุย เสาะแสวงหาและนำมาใช้ที่โรงเรียน

          อ.อนุสรณ์  ฟูเจริญ  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต  ๒
          เริ่มมาจากความสนใจที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษา  โดยมองไปที่เครือข่ายก่อน  เครือข่ายครู  มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  เป็นช่วงจังหวะเดียวกับที่  KM  เข้ามา  จึงเริ่มศึกษา  และเข้าใจเอาเองว่า  KM  มี ๒ วง  คือ วงที่พบปะกัน  และวงที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันใน  ICT    ที่ขยายในวงกว้าง  เราถนัดเรื่อง  ICT   จึงเล่นเรื่องนี้ก่อน  แต่ความรู้ที่มีอยู่ใน  ICT  มันตาย นิ่งสนิท  จนมาได้รู้จักกับ  Blog  แต่มาเรียนรู้ว่าการแลกเปลี่ยเนรียนรู้ แบบวงแรก  สำคัญกว่า  
         ทำอย่างไรที่จะนำ  KM  เข้ามาในวิถีชีวิต  โดยเริ่มตั้งแต่ปรับกิจกรรมให้  KM  เป็นเครื่องมือ  มาช่วยเครือข่ายในการจัดการเรียนรู้  ใช้เรื่องเล่า  และคิดว่า  น่าจะหา  Explicit Knowledge  ด้วย 
         ปีต่อมา  จึงนำกระบวนการวิจัยเข้ามา  และเคลื่อนทั้งเขต  สร้างความเข้าใจและเสริมทักษะในเรื่องของกิจกรรม  เราไม่ได้เอา KM  มาใช้ทั้งหมด  ใช้เพียงบางเครื่องมือ  เช่น เรื่องเล่า  และฝึกเทคนิค  “คุณอำนวย”  มีการฝึกหัวหน้ากลุ่มงานของเขต ให้เป็น  “คุณอำนวย”   ฝึกทำ  เรียนรู้  ขยาย “คุณอำนวย”  พบว่า ถ้า “คุณอำนวย” ไม่เข้าใจสิ่งที่ทำอย่างแท้จริง  ก็จะกลับไปทำแบบเดิม  คือ  การระดมสมอง
         กิจกรรมในโครงการฯ  ทั้งหมดของเขต พยายามใช้  KM  ทั้งหมด  โดยหาวิธีการว่า เรื่องระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  มีการเปลี่ยนรูปแบบการประชุมผู้บริหาร  เปลี่ยนมาเป็นการตั้งวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาพูดคุยกันแทน   และสกัดออมาเป็นแนวทางในการทำงานหรือการพัฒนางานในเรื่องนั้น มีการวัฒนธรรมองค์กร  การทำงานเริ่มเปลี่ยนไป  เกิดวามภาคภูมิใจ  เห็นคุณค่าในตัวคนมากขึ้น  แต่  KM  ต้องใจเย็น  ไปเรื่อยๆ  KM  ต้องไม่เป็นไส้ติ่ง เราต้องรู้คุณค่าในสิ่งนั้น  และต้องเข้าใจในสิ่งที่จะทำด้วย

          อ.ศศิธร วงษ์เมตตา  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา  เขต  ๑
          เริ่มต้นเชิญชวนแกนนำ  การขับเคลื่อนให้เกิดผลจริงๆ เป็นปัญหามาก  เราเริ่มด้วยการทำแผน  ทำไปแก้ไป   ให้ความรู้  ให้การรับรู้  ให้ความตระหนัก  ทุกคนเข้าใจว่า  เราต้องแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน  เน้นการเรียนรู้แบบซึมซับตามธรรมชาติ  มีการบันทึกเก็บไว้ด้วย  เพราะต้องประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

          (โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ)

หมายเลขบันทึก: 118343เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท