สมรรถนะในระบบจำแนกตำแหน่ง


สมรรถนะ
เกี่ยวกับระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่ (PC Specific) โดยจัดกลุ่มตำแหน่งออกเป็น 4 กลุ่ม อิสระจากกัน

มีบัญชีเงินเดือนพื้นฐานแยกแต่ละกลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 2-5 ระดับ (Level) แตกต่างกันตามค่างานและโครงสร้างการทำงานในองค์กรไปแล้วนั้น ความคืบหน้าว่า กฎหมายในการปรับปรุงระเบียบข้าราชการพลเรือนใหม่ ได้เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และผ่านการพิจารณาวาระที่ 1 ไปแล้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีก 2 ฉบับคือ พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการและ พรบ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ซึ่งคาดว่าคงผ่านสภาในเร็ววันนี้ และจะประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป  ภายใน 1 ปี หลังจากนี้ กฎหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ส่วนราชการจะต้องดำเนินการจัดคนลงในกลุ่มตำแหน่งและระดับต่าง ๆ ตามที่ ก..กำหนด        ฉะนั้น ในฉบับนี้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงเรื่อง สมรรถนะ (Competency) ในระบบการจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่ ว่าเป็นหัวใจสำคัญที่ข้าราชการทุกคนต้องทราบและทำความเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ เพราะเป็นการพลิกโฉมระบบการบริหารงานบุคคลใหม่ก็ว่าได้

 สมรรถนะ คืออะไร เกี่ยวข้องกับระบบการจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่อย่างไร

 สำนักงาน ก.. ได้กำหนดนิยามสมรรถนะว่าเป็น คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อร่วมงานอื่น ๆ ในองค์กร  กล่าวคือ การที่บุคคลจะแสดงสมรรถนะใดสมรรถนะหนึ่งได้ มักจะต้องมีองค์ประกอบของทั้ง ความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น สมรรถนะการบริการที่ดี ซึ่งอธิบายว่า สามารถให้บริการที่ผู้รับบริการต้องการได้ นั้น หากขาดองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ ความรู้ในงาน หรือทักษะที่เกี่ยวข้อง เช่น อาจต้องหาข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ และคุณลักษณะของบุคคลที่เป็นคนใจเย็น อดทน ชอบช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว บุคคลก็ไม่อาจจะแสดงสมรรถนะของการบริการที่ดีด้วยการให้บริการผู้รับบริการต้องการได้   กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ สมรรถนะเป็นกลุ่มพฤติกรรมที่องค์การต้องการจากข้าราชการ เพราะเชื่อว่า หากข้าราชการมีพฤติกรรมการทำงานในแบบที่องค์การกำหนดแล้ว จะส่งผลให้ข้าราชการผู้นั้นมีผลการปฏิบัติงานดี และส่งผลให้องค์กรบรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการไว้ ตัวอย่างเช่น การกำหนดสมรรถนะการบริการที่ดี เพราะหน้าที่หลักของข้าราชการคือการให้บริการแก่ประชาชน ทำให้หน่วยงานของรัฐบรรลุวัตถุประสงค์คือการทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน            ผลการศึกษาของสำนักงาน ก.. ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษา (บริษัท เฮย์ กรุ๊ป จำกัด) ได้จัดตำแหน่งงานต่าง ๆ รวมกันเป็นกลุ่มงาน (Job Family) แล้วกำหนดคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม (สมรรถนะ) ประจำกลุ่มงานต่าง ๆ เพื่อที่จะใช้คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม (สมรรถนะ) ในการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แบ่งได้เป็น 18 กลุ่มงานสมรรถนะ มี 2 ส่วน คือ     1. สมรรถนะหลัก สำหรับข้าราชการพลเรือนทุกคน ทุกกลุ่มงานต้องมีประกอบด้วย 5 สมรรถนะ คือ1.1    การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) หมายถึง ขยันขันแข็ง ตั้งใจทำงานรับผิดชอบ ทำงานอย่างถูกต้อง1.2    การบริการที่ดี (Service Mind) หมายถึง เต็มใจให้บริการ ให้บริการที่ผู้รับบริการต้องการได้1.3    การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise) หมายถึง หมั่นศึกษา ขวนขวายหาความรู้มาปรับใช้ในงานเสมอ1.4    จริยธรรม (Integrity) หมายถึง ซื่อสัตย์ โปร่งใส ยึดหมั่นในหลักการ ดำรงความถูกต้อง

1.5    ความร่วมแรงร่วมใจ (Teamwork) หมายถึง ช่วยเหลือเพื่อร่วมทีม ทำให้งานประสบผลสำเร็จ

2. สมรรถนะประจำกลุ่มงาน  คือ สมรรถนะที่กำหนดเฉพาะสำหรับกลุ่มงาน เพื่อสนับสนุนให้ข้าราชการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมแก่หน้าที่ และส่งเสริมให้ข้าราชการปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ให้ได้ดียิ่งขึ้น มีทั้งหมด 20 สมรรถนะ แบ่งเป็นกลุ่มงานละ 3 สมรรถนะ  ยกเว้นกลุ่มงานนักบริหารระดับสูง มี 5 สมรรถนะ ดังนี้ 
ลำดับ กลุ่มงาน สมรรถนะประจำกลุ่มงาน
1 สนับสนุนทั่วไป ความยึดหยุ่นผ่อนปรน, ความถูกต้องของงาน, การคิดวิเคราะห์
2 สนับสนุนงานหลักทางเทคนิคเฉพาะด้าน ความยึดหยุ่นผ่อนปรน, การคิดวิเคราะห์, ความถูกต้องของงาน
3 ให้คำปรึกษา การมองภาพองค์รวม, ความเข้าใจองค์กรและระบบราชการ,ศิลปะการสื่อสารจูงใจ
4 บริหาร (มี 5 สมรรถนะ) วิสัยทัศน์, การวางกลยุทธภาครัฐ, ศักยภาพเพื่อนำการปรับเปลี่ยนการควบคุมตนเอง, การให้อำนาจแก่ผู้อื่น
5 นโยบายและแผน การมองภาพองค์รวม, การคิดวิเคราะห์, ศิลปะการสื่อสารจูงใจ
6 ศึกษาวิจัยและพัฒนา การมองภาพองค์รวม, การคิดวิเคราะห์, การสืบเสาะข้อมูล
7 ข่างกรองและสืบสวน การสืบเสาะข้อมูล, การคิดวิเคราะห์, ความยืดหยุ่นผ่อนปรน
8 ออกแบบเพื่อพัฒนา การมองภาพองค์รวม, การดำเนินการเชิงรุก, การสืบเสาะข้อมูล
9 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การมองภาพองค์รวม, ความเข้าใจข้อแตกต่างทางวัฒนธรรม,ศิลปะการสื่อสารจูงใจ
10 บังคับใช้กฎหมาย การสั่งการตามอำนาจหน้าที่, การคิดวิเคราะห์, การสืบเสาะหาข้อมูล
11 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ศิลปะการสื่อสารจูงใจ, การดำเนินการเชิงรุก, ความมั่นใจในตนเอง
12 ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจผู้อื่น, การพัฒนาศักยภาพคน, ศิลปะการสื่อสารจูงใจ
13 บริการประชาชนด้านสุขภาพและสวัสดิการ การพัฒนาศักยภาพคน, การดำเนินการเชิงรุก, การวิเคราะห์
14 บริการประชาชนทางศิลปวัฒนธรรม สุนทรีภาพทางศิลปะ, การดำเนินการเชิงรุก, การคิดวิเคราะห์
15 บริการประชาชนทางเทคนิคเฉพาะด้าน การคิดวิเคราะห์, การสืบเสาะข้อมูล, ความถูกต้องของงาน
16 เอกสารและทะเบียน ความถูกต้องของงาน, ความยึดหยุ่นผ่อนปรน, การสั่งการตามอำนาจหน้าที่
17 การปกครอง การดำเนินการเชิงรุก, ศิลปะการสื่อสารจูงใจ, ความเข้าใจองค์กรและระบบราชการ
18 อนุรักษ์ การมองภาพองค์รวม, การคิดวิเคราะห์, การสั่งการตามอำนาจหน้าที่
                                 โดยหลักการแล้ว สมรรถนะไม่ต้องกำหนดมากจนเกินไป เพราะข้าราชการจะจำไม่ได้และการประเมินจะยุ่งยากซับซ้อน ยอกจากนี้ยังมีในส่วนของความรู้ ทักษะ ความสามารถนี้จำเป็นในการทำงานเป็นสิ่งที่ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการคัดเลือก และการฝึกอบรมพัฒนาด้วย ซึ่งสำนักงาน ก.. ไม่ได้เรียกความรู้ ทักษะ ความสามารถว่าเป็นสมรรถนะ แต่กำหนดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง                                                                                                                                                        
คำสำคัญ (Tags): #สมรรถนะ
หมายเลขบันทึก: 118314เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท