กระบวนการพยาบาล ที่พยาบาลรู้จัก


กระบวนการพยาบาล

ใครมีเทคนิคพิเศษ ในการใช้กระบวนการพยาบาล ช่วยบอกหน่อย

หมายเลขบันทึก: 118293เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
เป็นปัญหาโลกแตก  เป็นอะไรที่เสมือนจับต้องได้แต่ก็จับไม่ได้สักที  ยากยิ่งกว่าตาบอดคลำช้าง คิดแต่ทฤษฎีไปวันๆก็ไม่ต้อง  intervention กันแล้ว  จริงๆแล้วมันต้องมีวิธีที่ต้องทำให้คิดแบบอัตโนมัติได้เลยโดยไม่ต้องหลับตาสร้างภาพ  ซึ่งต้องสร้างระบบการเรียนรู้ใหม่เป็นกระบวนการและขั้นตอนในการคิดโดยตรง  เพราะปัจจุบันพวกเรามีแต่ว่ากระบวนการพยาบาลนี้เป็นสิ่งดีนะ  แต่ไม่มีวิที่จะจัดการเจ้าสิ่งที่ดีนี้ให้นำไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพอย่างไร  เหมือนกับที่เราสอนลูกว่าทำสิ่งนี้แล้วไม่ดีนะ  ห้ามทำ  แต่ไม่ได้บอกว่าถ้าทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นจะได้รับการลงโทษอย่างไร ไม่มีเกณฑ์ชี้วัด  และ outcomes  ให้ลูก เป็นต้น ฉันใดก็ฉันนั้น  กระบวนการพยาบาลจึงยังไม่สามารถอยู่ในใจวิชาชีพของเราได้นับตั้งแต่  ฟอร์เรนส์  ไนติงเกลมานู่นแล้ว.... แต่อย่างไรก็อยากคิดให้ได้จริงๆนะ  ขอให้พระเจ้าเมตตา........

กระบวนการพยาบาลเป็นหัวใจสำคัญของวิชาชีพแต่ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมพยาบาลจึงมีความความเข้าใจและใช้กระบวนการพยาบาลได้น้อย  โดยเฉพาะนักศึกษา  ผู้เขียนเป็นครูสอนfundaมานานกว่า10 ปีแล้วแต่ก็ยังหนักใจว่าจะสอนให้นักศึกษาเก่งในการใช้NPได้อย่างไร  ล่าสุดทดลองใช้วิธีการสอบปฏิบัติการใช้NP กับนศ.ปี 3โดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานตามปกติคือดูassignment, pre-post conferenceทุกวัน, ปฏิบัติการพยาบาลแบบtotal careในผู้ป่วยที่ได้รับมอบหมาย เป็นเวลา 5 วัน  หลังจากนั้นกำหนดวันสอบNP วันนั้นนศ.ไม่ต้องดูcaseล่วงหน้า  ครูให้นศ.จับฉลากเลือกผู้ป่วยตอนเช้า หลังจากนั้นให้เวลาassess เป็นเวลา1/2วัน ขณะassessคุณครูก็สังเกตและประเมินทักษะการซักประวัติและตรวจร่างกาย  หลังจากนั้นช่าวบ่ายก็ให้นศ.นำเสนอแผนการพยาบาล ผลปรากฎว่าเห็นศักยภาพของนศ.แต่ละคนชัดเจนมาก  ครูก็ได้feedbackนศ.เป็นรายบุคคล นศ.ก็บอกว่าดีมากเลยอยากให้ทำต่อเนื่อง  เเปลกแต่จริง  กระบวนการเดิม ๆ ที่เราใช้กันให้นศ.ศึกษาผู้ป่วยล่วงหน้า  ตอนเช้านศ.pre-conferece คุณครูให้ข้อเสนอแนะทุกวันแต่นศ.ไม่คอยมีพัฒนาการ...เป็นไปได้

การนำกระบวนการพยาบาลไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นไม่ยาก

-ขั้นการประเมินสภาพ นอกจากความรู้อื่นๆแล้ว     ต้องเข้าใจเกี่ยวกับกรอบแนวคิดที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล  พยาธิสรีรวิทยา        การประเมินสภาพร่างกาย   และข้อมูลที่ได้ต้องแม่นตรงและเชื่อถือได้  บนพื้นฐานความเอื้ออาทร

 

จริงๆไม่ยากอย่างที่คิด ทุกกิจกรรมที่ปฏิบัติแต่เริ่มต้นจนจบสิ้นกระบวนการกับผู้ป่วยนั้นใช้กระบวนการพยาบาลทั้งนั้น

กระบวนการพยาบาลเป็นกรอบในการทำงานของพยาบาลให้ครอบคลุมและมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน อย่างที่เราเรียนกันมานั่นแหละ แต่ว่าในเนื้องานจริงๆของแต่ละงานก็ขึ้นอยู่กับว่า กระบวนการทำงานหรือกระบวนการหลักของเราประกอบด้วยอะไรบ้าง เท่านั้น ก็จับกระบวนการหลักในการทำงานมาใส่เป็น Content เท่านั้นเอง

จริงแล้วพยาบาลเราก็ทำงานโดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์นั่นแหละ แต่บางครั้งก็ทำด้วยความเคยชิน ซึ่งอาจมาจากความรู้ที่สั่งสมมาตกตระกอน แต่บางครั้งก็เลยบอกสังคมไม่ได้ว่าใช้กระบวนการพยาบาลในการทำงานอย่างไร

แต่เชื่อว่าถ้าไปนั่งดูพยาบาล 1 คนทำงานโดย Observe อย่างเดียวต้องพบการใช้กระบวนการาพยาบาลในการทำงานอย่างแน่นอน

ขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ค่ะ

...........สมเล็ก.........

ปัญหาการใช้กระบวนการพยาบาลไม่ใช่มาจากการไม่รู้กระบวนการ แต่มาจาก พื้นฐานการขาดทักษะในกระบวนการ เช่น

1.การประเมินภาวะสุขภาพ ถ้าขาดความรู้ ความแม่นในพื้นฐาน กายวิภาค สรรีร ก็จะขาดความเข้าใจกลไกการเปลี่ยนแปลงในภาวะสุขภาพที่เบี่ยงเบน

2.การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ถ้าไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ว่าข้อมูลอะไรที่เป็นประเด็นปัญหา ก็จะรู้สึกกำหนดยาก แต่จริงๆแล้ว วินิจฉัยทางการพยาบาล ควรจะเป็นอะไรที่ พยาบาลมองโดยยึดปัญหาและความต้องการการตอบสนองจากผู้ป่วยเป็นหลัก และอธิบายเหตุผลได้ จะไปสู่การกำหนดแผนการพยาบาลได้ไม่น่ายาก

วันนี้เสนอแนะสั้นๆเท่านี้ก่อนนะคะ

หลังจากที่เราจัดการฝึกประสบการณ์นักศึกษาพยาบาล เราพบว่า การใช้กระบวนการพยาบาล ของนักศึกษา ยังมีจุดที่ต้องพัฒนาอย่างมาก ครูแต่ละคนมีทักษะในการสอนต่างๆกัน ดังนั้นวิทยาลัยจึงจัดการความรู้ในเรื่อง การพัฒนาสมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาล และเป็นที่สมใจเราได้แนวปฏิบัติที่ดี มาเผยแพร่เผื่อว่าใครสนใจจะนำไปใช้หรือมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม วิทยาลัยยินดีรับทุกๆความคิดเห็นเป็นอย่างมากเลยค่ะ ช่วยๆกันเพื่อวิชาชีพ

รายงานสรุปประเด็นความรู้จาก การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อจัดการความรู้

เรื่อง  การพัฒนาสมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยเด็ก

เทคนิคในการสอนให้นักศึกษามีพัฒนาการ การใช้กระบวนการพยาบาล

ขั้นที่ 1 การรวบรวมข้อมูล

1.       ชี้ประเด็นแนวทางในการรวบรวมข้อมูล โดยเน้นconcept หรือKey word สำคัญในโรค/กลุ่มอาการเพื่อให้นักศึกษาสามารถจับประเด็นการรวบรวมข้อมูล

2.       ให้แนวทางหลักในการรวบรวมข้อมูลซึ่งควรมาจาก 3 เรื่องใหญ่ๆได้แก่ 1. จากการสัมภาษณ์ประวัติ 2. การตรวจร่างกายและ3.การประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และเชื่อมโยงข้อมูล  แนะนำ/ยกตัวอย่างการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นระบบ

3.       ชี้ประเด็นความแตกต่างในการรวบรวมข้อมูลระหว่างเด็กแต่ละวัยและผู้ใหญ่เน้นองค์รวมในการดูแลผู้ป่วยและใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง(Family Center Care)

4.       ครูศึกษาcaseที่มอบหมายนักศึกษาก่อนล่วงหน้าเพื่อให้รู้ข้อมูลที่ชี้ประเด็นให้ชัดเจน

5.       ช่วงการศึกษาผู้ป่วย/รวบรวมข้อมูลครูควรอยู่เป็นที่ปรึกษา(หากเป็นไปได้) เนื่องจากนักศึกษาอาจมีประเด็นในการซักถาม การตรวจร่างกายครูควรสาธิตให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง

6.       ครูเชื่อมโยงข้อมูล และจัดหมวดหมู่ข้อมูล ยกตัวอย่างกรณีcaseที่แตกต่างและมีความหลากหลาย

7.       ให้เขียนสรุปอาการก่อนรับไว้ในความดูแล สรุปเป็นประเด็นๆ เพื่อจัดหมวดหมู่ข้อมูล

             ขั้นที่ 2 กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล

                                1.   ให้นักศึกษาระบุข้อมูลประเด็นที่เป็นปัญหา /ข้อมูลที่สำคัญ เพื่อกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล ครูชี้ประเด็นให้เห็นการตั้งปัญหาในแต่ละLevelในความรุนแรงของปัญหา

                                2.   ส่งเสริมการตั้งข้อวินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาลให้สอดคล้องกับ NANDA   รวมทั้งมีข้อมูลสนับสนุนให้เพียงพอและมีข้อมูลสอดคล้องกับปัญหา

                                3.    ส่งเสริมให้กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลครอบคลุมองค์รวม

                ขั้นที่ 3  วางแผนการพยาบาล

                                1.   ส่งเสริมการวางแผนการพยาบาลให้สอดคล้องกับบริบทโดยเน้นให้เห็นความแตกต่างระหว่างการพยาบาลผู้ใหญ่กับเด็ก  รวมทั้งกิจกรรมการพยาบาลควรมีความเป็นไปได้

                                2.  กระตุ้นให้มีการประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในการวางแผนการพยาบาลอย่างเหมาะสม

                                3. ให้ประเด็น/ข้อมูลในการวางแผนการพยาบาลที่มีความเป็นไปได้ ให้เหมาะสมกับกรณีและบริบทในสถานการณ์จริง

                ขั้นที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล

1.       เป็นแบบอย่างในการสาธิตการปฏิบัติที่ถูกต้อง ชี้ประเด็นความแตกต่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ สอดแทรกความเอื้ออาทร

2.       เน้นให้เห็นการปฏิบัติการพยาบาลที่ให้ครอบครัวมีส่วนร่วม และfamily center care

ขั้นที่ 5 การประเมินผล

3.       พยายามติดตามpost conference เป็นระยะ  เดินตรวจเยี่ยมประเมินผลเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้อภิปรายการประเมินผล

แนวปฏิบัติที่ดีในการสอนทำให้นักศึกษามีพัฒนาการการใช้กระบวนการพยาบาล

1.สอนกระบวนการMind Mapping เชื่อมโยงกระบวนการพยาบาล/การคิดอย่างมมีวิจารณญาณ

2.System thinking สะท้อนการคิดหรือพัฒนาการคิดของนักศึกษาให้เกิดการคิดอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงกระบวนการพยาบาลให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม

3.เรียนรู้จากประสบการณ์จริงสถานการณ์จริง

 

การพัฒนาสมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วย

(1)

1.ให้นักศึกษาเขียนแผนการพยาบาลรายบุคคล ล่วงหน้าและมีการPre conference  ตามที่วางแผนมา ครูให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมหลังจากนั้น ให้นักศึกษาปรับแก้ไขแผนการพยาบาล ใน

2.ให้นักศึกษาเขียนสรุปอาการก่อนรับไว้ในความดูแลโดยศึกษาจากเวชระเบียน การรักษาผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจร่างกายที่พบ สิ่งผิดปกติ  เสนอเป็นลำดับ ๆ จนกระทั้งปัจจุบัน ผลของการรักษาสามารถควบคุมปัญหาของผู้ป่วยได้

3.ให้นักศึกษาประเมินภาพ 2 3 แบบแผน ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นปัญหา จัดกลุ่มข้อมูลให้ชัดเจนและกำหนดข้อวินิฉัยทางการพยาบาล

4.ให้นักศึกษาไปศึกษา  ความรู้เกี่ยวกับโรคและทำความเข้าใจในพยาธิสรีรภาพ

-          แล้วให้นักศึกษาเขียนสรุป ถ้าเขียนไม่เป็นจะสอนให้นักศึกษาเขียนสรุปแผนการรักษาและสรุปอาการก่อนรับไว้ในความดูแล

-          ให้นักศึกษาเตรียมเอกสารอ้างอิงใช้ประกอบกับ แผนการพยาบาลที่นักศึกษาวางแผนไว้ หรือเพื่อลดระยะเวลาสืบค้นด้วยการมี เอกสารประกอบการสอนให้ผู้เรียน

 

การพัฒนาสมรรถนะการใช้กระบวนการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วย

(2)

ขั้นเตรียมผู้เรียน

1. การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา การสาธิตย้อนกลับในสถานการณ์จริงในการรวบรวมข้อมูล ,ความรู้เรื่องโรค , ศึกษาLab, ตัวอย่าง Case , การรักษา , ยา เป็นต้น

2. ถูกเตรียมความพร้อมจาก Case ตัวอย่าง (จริง)

3. เตรียมศึกษาเรื่อง ตามวัตถุประสงค์ รายวิชา ครอบคลุมโรค สาเหตุ พยาธิ การรักษาและการพยาบาล

4. สอน /แนะแนะการรวบรวมข้อมูล ละเอียดครอบคลุมจะไปสู่การเขียนข้อวินิจฉัย ภายใต้ข้อมูลที่พอ โดยระบุเกณฑ์ได้ครอบคลุม

ขั้นสอนในคลินิก

5. Pre-conference มีการเสริมจากครูนิเทศ และ staff nurse

6. ใช้การกระตุ้นความคิดวิจารณญาณ ในทุกกระบวนการโดยตั้งคำถามให้ตอบ

7. ให้ความสำคัญทั้ง อภิปรายก่อน-หลังให้การพยาบาล เพื่อเปิดโอกาสซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และ สะท้อนคิด

8. ใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน โดยจับคู่ในการศึกษา Case ที่เหมือนกันและช่วยกันเรียนรู้

9. ใหันักศึกษาศึกษาแนวทางการพยาบาลจากทฤษฎีการพยาบาลเทียบกัน Case ที่ได้รับมอบหมาย

10. ร่วมกันอภิปรายทั้งแบบฝึกหัด และ Case จริงในตึก กระตุ้นให้นักศึกษากล้าพูด กล้าอธิบาย

11. ติดตามประเมินรายบุคคล จากรายงานการวางแผนการพยาบาล

12. ตรวจ / ให้การสะท้อนคิดจาก รายงานแผนการพยาบาล

13. ให้สรุป concept ตามหัวข้อที่ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้

ใครเคยใช้กระบวนการพยาบาลโดยมุกดา โมเดลบ้าง ช่วยอธิบายหน่อยงงมาก แบบกำลังเข้าอบรมกับอาจารย์

ประโยชน์ของกระบวนการพยาบาล

1. กระบวนการพยาบาลที่ใช้ในผู้ป่วยจะช่วยกำ หนดขอบเขตของวิชาชีพพยาบาลได้ชัดเจน

ขึ้น และมองเห็นวัตถุประสงค์ของการพยาบาลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของทีมสุขภาพ คือการแก้ไข

ปรับปรุง และฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยเป็นสำ คัญ เพราะพยาบาลต้องรับผิดชอบสุขภาพของผู้ป่วยเท่าเทียมกับ

บุคลากรในทีมสุขภาพคนอื่นๆ

2. กระบวนการพยาบาลจะช่วยให้การปฏิบัติพยาบาลเป็นระบบขึ้น ก่อให้เกิดความเข้มแข็ง

และความมั่นคงของวิชาชีพพยาบาลจากความสามารถของพยาบาลในการนำ กระบวนการพยาบาลไปใช้ใน

การพยาบาลผู้ป่วยในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งมีความภูมิใจในวิชาชีพ เพราะมองเห็นเป้า

หมายของงานที่ทำ อยู่และเป็นการสร้างสมรรถภาพของการปฏิบัติงานให้เป็นที่ยอมรับของสังคมพยาบาล

สังคมของทีมสุขภาพ และสังคมภายนอก ซึงถ้าพยาบาลใช้กระบวนการพยาบาลอย่างเป็นระบบจะทำ ให้การ

ปฏิบัติงานทำ ได้อย่างเหมาะสม และสามารถตอบ คำ ถามได้ว่า “การพยาบาลคืออะไร” ซึ่งถ้าพยาบาลทุกคน

ใช้กระบวนการพยาบาลในการให้การพยาบาลผู้ป่วยทุกราย คำ ตอบที่ได้จะไม่มีความแตกต่างกัน คือ การ

พยาบาลเป็นกระบวนการช่วยเหลือบุคคลให้ได้รับการแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ ซึ่งอาจเป็นการแก้ปัญหาที่

พยาบาลช่วยเหลือ ประคับประคองจนสามารถ แก้ไขปัญหาได้ หรือพยาบาลเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้สติ

ปัญญาในการแก้ไขปัญหาด้วยตัวของผู้ป่วยเอง ซึ่งปัญหาบางอย่างจำ เป็นต้องให้ผู้ป่วยยอมรับและหาวิธีการ

แก้ปัญหาด้วยตนเองจึงจะประสบผลสำ เร็จ

4. ช่วยในการสื่อสารระหว่างสมาชิกในทีม เป็นการลดความซํ้าซ้อนในการปฏิบัติการ

พยาบาล ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

5. เป็นการปรับปรุงคุณภาพการพยาบาล ช่วยให้มีการติดตามประเมินผลแต่ละขั้นตอนของ

กระบวนการพยาบาล

คุณลักษณะของกระบวนการพยาบาล

คุณลักษณะของกระบวนการพยาบาลมี 6 ประการคือ

1. มีเป้าหมาย (Purposeful) กระบวนการพยาบาลมีเป้าหมายเป็นตัวชี้นำ การปฏิบัติ ผู้ใช้

กระบวนการพยาบาลจะต้องกำ หนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของผู้รับบริการให้ชัดเจน

2. เป็นระบบ (System) กระบวนการพยาบาลมีวิธีการและขั้นตอนที่ชัดเจนในการจัดการ

เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลที่บอกต่อกันมาหรือการดูแลเฉพาะ

สถาบัน

3. เป็นพลวัตร (Dynamic) กระบวนการพยาบาลไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีการปรับเปลี่ยนตลอด

เวลา และมีความต่อเนื่อง เหมาะสมกับความต้องการหรือปัญหาของผู้รับบริการ กล่าวคือ กระบวนการ

พยาบาลไม่หยุดนิ่งอยู่ที่การวางแผนเท่านั้น แต่ต้องมีการปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินผลการพยาบาล

เมื่อประเมินผลแล้วถ้าพบว่ายังมีปัญหาทางการพยาบาลอยู่ ก็ต้องเริ่มต้นกระบวนการพยาบาลใหม่ด้วยการ

ประเมินภาวะสุขภาพใหม่ วินิจฉัยทางการพยาบาลใหม่และวางแผนการพยาบาลใหม่ เพื่อให้ผู้รับบริการได้

รับการแก้ปัญหานั้น ๆ ให้หมดไป คือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการตลอดเวลา

4. มีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ตลอดกระบวนการพยาบาล พยาบาลต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้

รับบริการ ครอบครัว ชุมชน และบุคลากรอื่น ๆ ในทีมสุขภาพ เพื่อให้เกิดการดูแลผู้รับบริการเฉพาะบุคคล

5. มีความยืดหยุ่น (Flexible) กระบวนการพยาบาลสามารถนำ ไปปรับใช้ได้ทุกสถานการณ์

ทั้งรายบุคคล รายกลุ่ม หรือ ชุมชน ปฏิบัติที่ละขั้นตอนหรือปฏิบัติพร้อม ๆ กัน ไปในหลายขั้นตอนก็ได้

6. อยู่บนพื้นฐานของทฤษฏี (Theoretically base) กระบวนการพยาบาลได้รับการออกแบบ

จากพื้นฐานความรู้ที่กว้างขวางทั้งทางวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และประยุกต์ใช้ได้กับทุก ๆ กรอบแนว

คิดทฤษฏีทางการพยาบาล

องค์ประกอบของกระบวนการพยาบาล

กระบวนการพยาบาลมีองค์ประกอบที่สำ คัญหรือมีขั้นตอนการดำ เนินงาน ดังนี้

ขั้นที่ 1 การประเมินสภาพผู้ป่วย (Assessment)

ขั้นที่ 2 การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing Diagnosis)

ขั้นที่ 3 การวางแผนการพยาบาล (Nursing Care Planning)

ขั้นที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing Intervention)

ขั้นที่ 5 การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)

การประเมินสภาพ (Assessment) เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการพยาบาล เป็นการเก็บรวบรวม จัด

กลุม่ ตรวจสอบและบันทึกข้อมูลของผู้รับบริการอย่างมีระบบ โดยใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพ แล้วนำ ข้อ

มูลมาวิเคราะห์เพื่อนำ ไปสู่การวินิจฉัยการพยาบาลต่อไป

การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing Diagnosis) เป็นขั้นตอนของการดำ เนินการเกี่ยวกับข้อมูลที่เก็บรวบ

รวมมาได้ เพื่อนำ มาตัดสินว่าปัญหาหรือสภาวะสุขภาพของผู้รับบริการที่เกิดขึ้นในขณะนั้นคืออะไร หรือมี

แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นคืออะไร พยาบาลนำ ข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ แปลความ จัดกลุ่ม ตัดสิน และ

กำ หนดชื่อของภาวะสุขภาพนั้น เพื่อนำ ไปวางแผนการพยาบาลต่อไป

การวางแผนการพยาบาล (Nursing Care Planning) เป็นขั้นตอนที่พยาบาลนำ เอาปัญหาหรือสภาวะ

สุขภาพของผู้รับบริการที่ประเมินได้จากขั้นตอนการวินิจฉัยมาจักลำ ดับความสำ คัญของปัญหา เพื่อให้ทราบ

ว่าปัญหาใดต้องได้รับการแก้ไขก่อนหลัง จากนั้นกำ หนดจุดมุ่งหมายของการพยาบาล กำ หนดเกณฑ์การ

ประเมินผล กำ หนดกิจกรรมการพยาบาล และเขียนแผนการพยาบาลลงในแบบฟอร์มแผนการพยาบาลเป็น

ลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน

การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing Intervention) เป็นขั้นตอนเพื่อนำ แผนที่กำ หนดไว้ในขั้นที่ 3 มาสู่

การปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ในขั้นตอนนี้พยาบาลต้องมีความรู้ ความเข้าใจถึง

ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดูแลผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม ภายหลัง

ปฏิบัติการพยาบาลแล้วจะต้องทำ การบันทึกกิจกรรมที่ได้ให้

การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation) เป็นการประเมินว่าผู้รับบริการได้รับการดูแลและมีการ

พัฒนาไปสูจุ่ดมุ่งหมายที่วางไว้ตามเกณฑ์ที่กำ หนดหรือไม่ ในขั้นตอนนี้พยาบาลและผู้รับบริการต้องตัดสิน

ร่วมกันว่าแผนการพยาบาลได้ผลหรือไม่ มีปัจจัยใดที่มีผลทำ ให้บรรลุผลหรือล้มเหลว ถ้าพบว่าการพยาบาล

ที่ปฏิบัติไม่บรรลุเป้าหมาย จำ เป็นต้องปรับแผนการพยาบาลใหม่ โดยเริ่มดำ เนินการตั้งแต่ข้อ 1-4 ใหม่ จน

สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

คิดว่า พยาบาลเกือบ 100% ว่ากระบวนการพยาบาลดีอย่างไร แต่การสะท้อนการนำกระบวนการพยาบาลลงสู่การบันทึก โดยมีภาระงานที่หนัก มีNursing Product 130-140% เป็นเรื่องที่ยากมากจริงๆ เพราะเราต้องใช้เวลาส่วนใหญ่คลุกคลีใกล้ชิดอยู่กับคนไข้ แทบทุกคนที่สามารถบันทึกได้ครอบคลุม ต้องใช้เวลาหลังส่งเวรให้เวรตอไปเสร็จแล้วอีกเฉลี่ยประมาณ 1-1.30 ชม.จึงจะได้ลงเวร (โดยทุกคนต้องขึ้น OTประมาณ 15-18เวร/เดือน เนื่องจากขาดอัตรากำลัง)

พอจะมีวิธีการไหนที่จะกระทำได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมผู้ป่วยทุกรายบ้างมั้ยค่ะ จะได้เป็นสิ่งจูงใจให้ปฏฺบัติได้จริง

ตอนนี้ทำงานด้าน assesment คนไข้ oncho มีหลักเกณฑ์ใดบ้างที่ใช้ในการasses คนไข้กลุ่มดังกล่าว ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท