รัชชานนท์ คนรักสุขภาพ
สเน่ห์คนเมือง คนเมืองมีเสน่ห์ รัชชานนท์ คนรักสุขภาพ น่วมนา

ความรักกับสุขภาพ


รักอย่างมีสติ
 

ความรัก กับ สุขภาพ

ในชีวิตของคนเรา เชื่อว่าทุกคนคงจะมีประสบการณ์ในเรื่องของความรัก ความรักมีมากมายหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นรักพ่อ แม่ รักพี่น้อง รักแบบคนรัก รักเขาข้างเดียว รักเพื่อนร่วมงาน ถ้าถามว่าความรักคืออะไร แต่ละคน คงมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการให้ ให้สิ่งดี ๆ กับใครคนหนึ่ง , ความรักอาจเป็นสิ่งที่สวยงามหากสมหวังหรือมีความสุขกับรักนั้น แต่หากพลาดหวังในความรัก ความรักก็คือยาพิษดี ๆ นี้เอง ความรักอาจทำให้เราต้องพบจักษุแพทย์เร็วขึ้น เนื่องจากความรักทำให้ตาบอด ก็สุดแล้วแต่มุมมองของแต่ละคนที่มองแตกต่างกันไป แต่ความหมายโดยรวมแล้ว ความรัก คือ ความห่วงใย ความผูกพัน ความเอื้ออาทร ความเข้าใจ มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งเสริมให้คนเกิดความรักบุคคลอื่นได้ง่ายขึ้น การวิจัยพบว่า โอกาสในการเกิดความรักขึ้นกับปัจจัยต่างๆ คือ

1. ความใกล้ชิด เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเกิดความรักกันได้ง่ายขึ้น คนที่อยู่ใกล้ชิดกันหรือทำงานร่วมกันจนกลายเป็นเพื่อนสนิท เป็นคนรัก ทั้งนี้เกิดจากความใกล้ชิดกัน
2. ความดึงดูดใจทางกายภาพ คนที่มีรูปร่างหน้าตาดี มีโอกาสที่คนจะมาหลงรัก มากกว่าคนที่ไม่สวย ไม่หล่อ ทั้งนี้เพราะความสวยงามเป็นสิ่งที่คนทั่วไปปรารถนา และ ค่านิยมของคน มักมีความภูมิใจที่มีคู่ควงหน้าตาดี อีกทั้งมักมีใจเอนเอียงจะเชื่อว่า "ความสวยคือความดี" หรือ "คนสวยเป็นคนดี" อยู่แล้ว คนสวยทำอะไรจึงมักได้รับความชื่นชม ทำผิดก็ได้รับการอภัย
3. ความเหมือนหรือคล้ายกัน คนเรามักชอบคนที่มีหลายๆ สิ่งคล้ายคลึงกัน เช่น นิสัยใจคอ ค่านิยม งานอดิเรก รสนิยม เจตคติ ฯลฯ เหตุผลอาจเป็นเพราะมีความรู้สึกว่าจะสามารถเข้ากันได้ง่ายกว่าคนที่มีลักษณะแตกต่างจากตน การรักชอบบุคคลที่มีความคล้ายตัวเองนั้น บางครั้งความเหมือนกันอาจมีน้อยกว่าที่เป็นอยู่ แต่ความเอนเอียงทำให้รับรู้ว่าคนที่รักนั้น คล้ายกับตัวเอง เมื่อใกล้ชิดกันแล้วก็อาจพยายามโน้มน้าวให้คนรักมีการปฏิบัติตัว และเปลี่ยนเจตคติให้เหมือนตนยิ่งขึ้นอีก
ในกรณีที่คนบางคนมีความสนใจคนอื่นในลักษณะที่ต่างจากตน เช่นรักคนที่มีความแตกต่างกันมากๆ ทั้งฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา อายุ เชื้อชาติ คงต้องหาคำอธิบายที่มีเหตุผลเพียงพอ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นด้วยปมบางอย่างที่อยู่ในจิตไร้สำนึกของเขาความรักเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในชีวิตของคนและมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิต คนที่เกิดมาและได้รับความรักจากพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวอย่างเหมาะสม มักมีพัฒนาการทางจิตใจที่ดี และเติบโตเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี คนที่มีสุขภาพจิตดีจะเริ่มตั้งแต่รักตัวเองเป็น รักพ่อแม่ ญาติพี่น้อง รักเพื่อน รักคู่ครอง รักลูก และ รักเพื่อนมนุษย์ ตลอดจนรักเพื่อนร่วมโลกอื่นๆ เด็กเล็กๆ เรียนรู้ความรักจากพ่อแม่ เด็กสามารถรู้สึกได้ถึงความรักของพ่อแม่ที่แสดงต่อลูก เมื่อได้รับความรักอย่างเหมาะสม ก็เริ่มเรียนรู้ที่จะรักพ่อแม่บ้าง ส่วนใหญ่แล้วในตอนเล็กๆ มักเป็นความผูกพัน ร่วมกับความต้องการพึ่งพิง (dependency need) เมื่อโตเข้าสู่วัยรุ่น เริ่มเรียนรู้ที่จะรักเพศตรงข้าม โดยมีแรงขับทางเพศเป็นส่วนประกอบ ความรักของวัยรุ่น มักมีอารมณ์เป็นพื้นฐาน ยังไม่มีการใช้เหตุผลมากนัก จึงยังไม่จริงจังและมักเปลี่ยนแปลงได้ ความรักแบบนี้จึงคล้ายกับการเล่น ซึ่งอาจเรียกว่าความรักแบบลูกสุนัข (puppy love) ความรักที่มีเหตุผล จะเกิดขึ้นเมื่อคนมีพัฒนาการจนมีวุฒิภาวะ (maturity) จึงรู้จักใช้ความคิดพิจารณาเหตุผล และตัดสินใจรักบุคคลที่เหมาะสม ความรักแบบนี้จึงเป็นแบบที่ไม่มีพิษมีภัย สามารถให้คำอธิบายได้ว่า ทำไมจึงรัก มิใช่เพียงแค่รู้ว่ารักคนนั้นคนนี้ แต่ไม่สามารถตอบได้ว่า ทำไม ความรักแบบมีความใคร่รวมด้วย มักก่อให้เกิดความคาดหวังสูง การที่มีอารมณ์หลายอย่างเกี่ยวข้อง มักทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย และถ้าประสบความผิดหวังก็อาจมีปฏิกิริยารุนแรง คนที่คิดจะมีความรัก ควรรู้จักประเมินตนเองก่อนและเลือกรักคนที่เหมาะสม โดยต้องไม่คาดหวังสูงเกินไป และ เตรียมใจไว้เผื่อความผิดหวังบ้าง หรือการอกหักเป็นประสบการณ์ที่คนส่วนใหญ่เคยพบมาบ้างในชีวิต แต่ปฏิกิริยาต่อการอกหัก มักไม่รุนแรงและมีระยะเวลาจำกัด คนที่อกหักและฆ่าตัวตายเกิดขึ้นเพราะคนนั้นมีพยาธิสภาพในจิตใจของเขาเอง ซึ่งมีได้หลายรูปแบบ เช่นไม่เคยได้รับความรักจากพ่อแม่หรือใครอื่น จึงมาคาดหวังจากบุคคลอื่น และทุ่มเทมากเกินไป การถูกสลัดรัก อาจเป็นการรื้อฟื้นความรู้สึกว่าถูกรังเกียจ (rejection) ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในชีวิตเขา ความรักเป็นประสบการณ์ที่สำคัญของชีวิตเราทุกคน เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ชีวิตบนโลกดำเนินต่อไป เพราะฉะนั้น จงรู้จักรักให้เป็น และใช้ความรักในทางที่สร้างสรรค์ สุขภาพจิตก็ดีจะดีครับ
คำสำคัญ (Tags): #รักอย่างมีสติ
หมายเลขบันทึก: 118278เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2007 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท