เชื่อมโยงวิชาการสู่ชุมชนอย่างไร ก่อนที่จะ……………


ผู้นำกระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทยคิดอย่างไรกับสิ่งเหล่านี้ นักวิชาการผู้ทรงภูมิรู้ทั้งหลายจะเชื่อมโยงวิชาการสู่ชุมชนอย่างไร

                  ช่วงนี้ฝนฟ้าพาความชุ่มช่ำมาให้หลายพื้นที่  พร้อมๆกันนี้ข่าวคราวความเดือดร้อนของพี่น้องในหลายพื้นที่จากภัยน้ำท่วม ก็ปรากฏขึ้นให้พวกเราได้คิด  หากทบทวนวิถีชีวิตคนไทยผ่านบทเพลงลูกทุ่ง  เราจะพบคุณค่าแห่งวิถีไทยที่ถ่ายทอดผ่านบทเพลง อาทิเช่น   ย่างเข้าเดินหก  ฝนก็ตกพรำๆ   ( คอเพลงลูกทุ่งไทย  คงยังไม่ลืมเพลงนี้ นะครับ  )                    

                ความเป็นจริงในวันนี้ วิถีความเป็นไทยอันงดงาม  ได้แปรเปลี่ยนตามกระแสโลก ความงดงามที่มีอยู่ จืดจาง  หายไปเพียงชั่วลมหายใจเข้าออก  มันรวดเร็ว จนเราตามไม่ทันหรือมันรวดเร็วจนเราตั้งรับไม่ทันหรือมันรวดเร็ว จนเราเห็นเป็นดั่งเส้นทางสู่สิ่งที่ดีกว่าและพร้อมที่จะไปกับมันทั้งตัวและหัวใจ                     

         คำถามน่าคิด หากพี่น้อง ญาติมิตร รวมทั้งตัวเราเอง  ต้องเผชิญกับภัยน้ำท่วม พายุที่รุนแรง ในฤดูฝน  ต้องเผชิญกับความหนาวเหน็บ อันแสนสาหัส ในฤดูหนาว  ต้องเผชิญกับความร้อน ที่แผดเผา ในฤดูร้อน   สรุปว่าหากต้องเผชิญกับความทุกข์ทั้งสามฤดูกาล      เราท่านทั้งหลายจะมีสภาพเป็นอย่างไร                          

         หลายท่านอาจหาว่าผมตีตนก่อนไข้  ก็สุดแท้แต่ท่านจะพิจารณา  เพียงว่าหากเราทำใจให้เป็นกลาง ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น  เราจะเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมันทำให้เราแทบจะไข้ขึ้นทันที    ความจริงบางอย่างกำลังรอการเรียนรู้ร่วมกันจากหลายคนหลายฝ่าย                              

          ข้อมูลบางเรื่องจากชุมชนเล็กๆ จากเสียงพูดอันแหบแห้ง แต่แฝงแววตาที่กังวล ต่อสิ่งที่เปลี่ยนไป ของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวบ้านเม็กดำ ที่กรากกรำกับชีวิต  จึงเป็นสิ่งที่น่าคิด                                                          

     “…ปีนี้ เห็ดป่า ไม่หอมเหมือนเดิม…”                     

    “…   ต้นไม้ป่าที่ออกดอกบอกฤดูกาลได้ เปลี่ยนระยะเวลาการออกดอกช้ากว่าเดิม ร่วมครึ่งเดือน…”        

                      

        “… หมาจิ้งจอก มันหายไปจากป่าบ้านเรา เกือบสามสิบปี   ปีนี้ได้ยิน  เสียงร้อง    เชื่อว่ามีประมาณยี่สิบตัว  มันมาได้อย่างไร …”     

                                  ฯลฯ                          

       ความจริงเช่นนี้ มันมีความหมายหรือไม่ อย่างไร กับสังคมไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต   ผู้นำกระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทยคิดอย่างไรกับสิ่งเหล่านี้  นักวิชาการผู้ทรงภูมิรู้ทั้งหลายจะเชื่อมโยงวิชาการสู่ชุมชนอย่างไร                   

          วันนี้ต้องมีวิธีคิด  ที่นำไปสู่วิธีทำอย่างจริงจังแล้วครับ   ก่อนที่จะ…………….( เชิญ เติมคำในช่องว่าง เอาเอง  ครับผม )            

หมายเลขบันทึก: 118183เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2007 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มนุษย์รักธรรมชาติแบบ(ทำลาย)รุนแรง

ธรรมชาติก็เลยรักมนุษย์เข้าเต็มกลืน แบบมนุษย์กลืนไม่เข้าคายไม่ออกค่ะ ผอ.

ผอ.ที่เคารพ

  • อะไรก็ไม่แน่นอนครับ
  • อย่างที่ ผองเก็บมาเล่า นานแล้วไม่เจอหมาจอก เจอตอนนี้ก็คิดหนัก
  • เห็นทีต้องกลับไปสนใจพุทธทำนายกันแล้วล่ะครับ
  • คนเราจะได้ไม่ประมาท

''ก่อนที่จะตาย.....ก่อนได้แก้"

ผมเติมถูกไหมครับจารย์

ขอเก็บเข้าแพลนเน็ตไมว่ากันนะ......ขอบคุณหลาย

แม้บทความของ ผอ.จเขียนไปเนิ่นนานแล้ว  แต่ความเป็นจริงยังคงเหลืออยู่ พอที่จะให้นักศึกษาโข่ง แม้ไม่ใช่นักวิชาการ ก็ขอแสดงความคิดเห็นตามแบบฉบับนักศึกษานี่แหละคะ  จากที่ได้อ่านแล้ว ขอเขียนว่า

วิถีชีวิตที่ดีงามแบบไทยๆที่เคยปฏิบัติ เริ่มจะหายากขึ้นแล้ว ความร่มเย็นสงบ อยู่เย็นเป็นสุข กินอิ่มนอนอุ่น แบบวิถีไทยนับวันจะจืดจางหายไป ตามที่ท่านว่าจริงๆ ด้วยเหตุว่าทุกวันนี้ความศิวิไลมันเข้ามา  ทุกคนจึงต้องดิ้นรนมากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เหมือนเดิม  ประสาอะไรกับคน  แม้แต่ดินลมฟ้าอากาศยังแปรปรวน นำท่วมในที่ที่ไม่เคยท่วม  ซึนามิ พายุไซโคลนลูกต่างๆ  ข่าววันที่ 15/11/50ไซโคลนซิกถล่มบังคลาเทศ คนเสียชีวิตมาก  แล้วก็ยังมีแผ่นดินไหว ก็คงไม่ใช่เพราะอะไร  ก้เพราะมนุษย์ทำลายธรรมชาติมาก  ไม่แปลกที่ธรรมชาติจะทำลายมนุษย์บ้าง

  และที่กล่าวว่า เห็ดไม่อร่อย แม้แต่ม้ป่ายังหลงฤดูกาล นับประสาอะไรกับคน ธรรมชาติก็ยังผันแปร

และความจริงที่กล่าวมาทั้งหมด  ที่  ผอ .เขียนบทมา คล้ายกับว่า  อย่าเรียนรู้แต่ในวิชาการมากนัก  เพราะชีวิตมันเปลี่ยนไปแล้ว  แต่คนยังหลงทิศอยู่ โดยเฉพาะนักวิชาการทั้งหลาย ไม่ยอมรับรู้ความจริง

เพราะทุกอย่างมันเกิดในชีวิตจริงๆ ไม่มีในหนังสือ มีก็ไม่ทันกิน ไม่ทันการ ไม่เหมาะสม ฉะนั้นหลักสูตรเพื่อชีวิตในชุมชน ต้องเพื่อชุมชน นักวิชาการในชุมชนเป็นคนว่าเอง หรือต้องมีหลักสูตรเสริมหรือสนับสนุน

อย่างไรก็ตามจะว่าอย่างไร ทำก็ทำไปเถอะ  ถ้าทำแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท