ถึงเวลาปฏิวัติด้านคุณธรรม


วิกฤตด้านคุณธรรมมาถึงแล้ว

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กําหนดความมุ่งหมายและหลักในการจัด
การศึกษาว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรม ในการดํารงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมีความสุข
การที่จะบรรลุตามความมุ่งหมายนี้ ผู้เรียนจะต้องได้รับการปลูกฝังและพัฒนานิสัยใฝ่รู้ ใฝ่ดี
มีความสามารถให้เกิดในตน เพราะความรู้วิชาการ เป็นเพียงอุปกรณ์ให้นิสัยนําไปใช้ สมดังพุทธดํารัสว่า
“ความรู้หากเกิดแก่คนพาล มีแต่จะนําความฉิบหายมาให้” นิสัยดีจึงมีคุณค่ามากกว่าความรู้วิชาการ
กอปรกับกระทรวงศึกษาธิการ ได้กําหนดนโยบาย “คุณธรรมนําความรู้” และการขับเคลื่อนปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นําไปปฏิบัติทั่วประเทศ แม่สํานักงานรับรองมาตรฐานการ
ประเมินคุณภาพภายนอก ก็ตระหนักถึงความสําคัญดังกล่าว ได้กําหนดให้มีการประเมินคุณภาพด้าน
คุณธรรม จริยธรรม ไว้ในมาตรฐานที่ ๑ ของการรับรองคุณภาพสถานศึกษา
การดําเนินการจัดการศึกษา เพื่อการพัฒนานิสัยใฝ่รู้ ใฝ่ดี มีความสามารถให้แก่ผู้เรียนนั้น
ไม่อาจดําเนินการให้สําเร็จได้โดยอาศัยบุคคล หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น หากแต่ต้องอาศัยการมี
ส่วนร่วมจากหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะบ้าน วัด โรงเรียน เป็นหลักในระดมทรัพยากร และองค์ความรู้
จากทุกภาคส่วนของสังคม
การพัฒนานิสัยใฝ่รู้ ใฝ่ดี มีความสามารถให้แก่ผู้เรียนนั้น สมควรยึดหลักธรรมของพระบรม
ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เป็นแม่บทหลักในการจัดการศึกษา โดยบูรณาการลงสู่กลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่ม
สาระฯ และ ๑ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงจะทําให้การ
พัฒนานิสัยประสบความสําเร็จ

คำสำคัญ (Tags): #วิกฤตคุณธรรม
หมายเลขบันทึก: 118069เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2007 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท