เด็กพิการทางหู


เด็กพิการทางหู

เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
       เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึงเด็กหูหนวก และ เด็กหูตึงเด็กหูหนวก เป็นเด็กที่สามารถได้ยินเสียงคนพูดน้อยมาก ใช้เครื่องช่วยฟังก็ไม่ได้ผล ซึ่งเด็กหูตึงเป็นเด็กที่สามารถได้ยินเสียงพูดบ้าง แต่ต้องใช้เครื่องช่วยฟัง ช่วยขยายเสียงให้ชัดเจนขึ้น


สาเหตุที่ทำให้หูพิการมาตั้งแต่เด็ก

ขณะที่แม่ตั้งครรภ์อาจได้รับเชื้อ ไวรัสหัดเยอรมัน เยื้อหุ้มสมองอักเสบ และซิฟิลิส
ขณะที่แม่ตั้งครรภ์อาจได้รับสารหรือยาที่เป็นอันตราย
กรรมพันธุ์
        เด็กขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน ในขณะทำคลอด
เด็กที่ต้องคลอดก่อนกำหนด



ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าเด็กมีความพิการทางหู


จากคำแนะนำของคุณหมอเด็ก จากโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง กล่าวว่า ถ้าอยากจะรู้ว่าเด็กคนนั้นมีความผิดปกติทางหูหรือไม่นั้น ต้องอาศัยการตรวจอย่างละเอียด อย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ซึ่งการตรวจเช็คนั้นจะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คุณหมอทราบว่าเด็กคนนั้นมีความพิการทางหูหรือไม่ แต่คุณแม่สามารถสังเกตุจากพัฒนาการการได้ยินเสียงของลูกได้ คือ เด็กตั้งแต่แรกเกิด เมื่อได้ยินเสียงดัง เค้าจะผวา อายุ 5 เดือน เค้าก็จะพยายามเปล่งเสียง อ้อ แอ้ เพื่อตอบสนองเวลาเราพูดด้วย และอายุ 9 เดือน ลูกจะพยายามหันมองตามเสียงที่เราเรียก ดังนั้น คุณแม่ควรเฝ้าดูและช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางการฟังของลูกน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรพาลูกไปรับวัคซีนและพบคุณหมออย่างสม่ำเสมอ





                                     วิธีการที่จะช่วยเด็กที่มีความพิการทางหู มี 2 วิธี
การฝึกฟัง
จะช่วยพัฒนาทักษะในการใช้ประสาทสัมผัส ในส่วนของการได้ยินเสียงที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด อุปกรณ์ที่มีวามสำคัญมากที่สุดในการฝึกฟัง คือ เครื่องช่วยฟัง ซึ่งจะทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังขึ้น โดยมีปุ่มสามารถปรับเสียงดังค่อยได้ตามความต้องการ มีอยู่ 4 ประเภท แล้วแต่ความถนัดของผู้ใช้ คือ


เครื่องช่วยฟังแบบใส่ในรูหู เครื่องช่วยฟังแบบทัดหู                                        เครื่องช่วยฟังแบบติดกระเป๋าเสื้อ เครื่องช่วยฟังแบบแว่นตา


การฝึกพูด
เพื่อส่งเสริมให้เด็กเข้าใจในภาษาพูด และสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้


สถานศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางหู


โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เขตดินแดง กรุงเทพฯ โทร 245-1700 , 642-8065 , 245-0448
โรงเรียนเศรษฐเสถียร ราชวัตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทร 241-4738 โทรสาร 241-4455
โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ สาทร กรุงเทพฯ โทร 285-5618 , 286-0733 โทรสาร 286-6129
         โรงเรียนโสตศึกษา จ.นนทบุรี บางบัวทอง โทร 571-7052 โทรสาร 571-0336


โรงเรียนที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นโรงเรียนสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องในการได้ยินโดยเฉพาะ มีชั้นเรียนตั้งแต่ เด็กเล็ก - ม.6 จะได้รับการฝึกฝนให้สามารถสื่อสารกับคนทั่วไปได้ ขณะนี้ มีโรงเรียนหลายแห่งได้เปิดรับเด็กที่มีความบกพร่องในการได้ยิน เข้าเรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลลอออุทิศ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
 ความรู้ทั่วไปสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

     ประวัติความเป็นมาด้านการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

การศึกษาสำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทย เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2494 โดย ม.ร.ว.เสริมศรี เกษมศรี ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยกอลอเดท (Gallaudet College) วิทยาลัยทางศิลปศาสตร์แห่งแรก และแห่งเดียวสำหรับคนหูหนวก ได้เปิดหน่วยทดลองสอนคนหูหนวกขึ้นเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนวัดโสมนัส การสอนคนหูหนวกในตอนนั้นเป็นการสอนพูดโดยใช้ท่าภาษามือประกอบ ต่อมาคุณหญิงกมลา ไกรฤกษ์ ได้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเดียวกันมาเป็นครูใหญ่โรงเรียนสอนคนหูหนวกดุสิต (ปัจจุบันคือโรงเรียนเศรษฐเสถียร) ได้รวบรวมภาษามือขึ้นเป็นหนังสือภาษามือไทยขึ้น เพื่อใช้สอนคนหูหนวกในประเทศไทย โดยให้มีการสอนพูดรวมกับการใช้ภาษามือและการสะกดนิ้วมือร่วมกับการอ่านและการเขียนตามปกติ

     ปัจจุบันการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในประเทศไทย มี 2 แบบคือ
1. การจัดการศึกษาพิเศษ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ระดับชันเด็กเล็ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีการปรับปรุงให้เหมาะสมเพียงเล็กน้อย
2. จัดการเรียนร่วมกับคนปกติ จัดให้เข้าเรียนในโรงเรียนเดียวกับเด็กปกติ โดยมีครูพิเศษช่วยเหลือในด้านภาษาและการสื่อสาร


     ความหมายของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

     บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง บุคคลที่บุคคลที่สูญเสียการได้ยิน การรับฟังเสียงต่างๆบกพร่องไม่ได้ยิน เสียงเหมือนเด็กปกติ อาจจะเป็นเด็กหูตึงหรือเด็กหูหนาวก็ได้ (ผดุง อารยะวิญญู.2539)
     บุคคลที่ความบกพร่องทางการได้ยิน (Hearing Impaired Children) หมายถึงบุคคลที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับรุนแรงจนถึงระดับน้อย (ศรียา นิยมธรรม.2541)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินหมายถึงบุคคลที่มีความสามารถในการรับฟังเสียง ต่าง ๆ บกพร่องหรือสูญเสียไปเป็นเหตุให้ได้ยินเสียงต่าง ๆ ไม่ชัดเจน ในกรณีที่สูญเสียการได้ยินเพียงเล็กน้อย เรียกว่า หูตึง และไม่ได้ยินเสียงพูดในกรณี
ที่สูญเสียการได้ยินมาก เรียกว่า หูหนวก (ปรีดา จันทรุเบกษา.2525)


     ประเภทของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

     เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน 90 เดซิเบลขึ้นไป วัดด้วยเสียงบริสุทธิ์ ณ ความถี่ 500,1000 และ2,000เฮิร์ท ในหูข้างที่ดีกว่า เด็กไม่สามารถใช้การได้ยินให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อาจเป็นผู้ที่สูนเสียการได้ยินมาแต่กำเนิดหรือสูญเสียการได้ยินภายหลังก็ตาม

    เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินระหว่าง 26-89 เดซิเบล วัดด้วยเสียงบริสุทธิ์ ณ ความถี่ 500,1000 และ2,000เฮิร์ท


เป็นเด็กที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อยไปจนถึงการ สูญเสียการได้ยินขั้นรุนแรง  ระดับการได้ยิน
     ระดับที่ 1 หูปกติ (ไม่เกิน 25 เดซิเบล)
          ได้ยินเสียงพูดกระซิบเบา ๆ
     ระดับที่ 2 หูตึงเล็กน้อย (26-40 เดซิเบล)
          ไม่ได้ยินเสียงพูดเบา ๆ แต่ได้ยินเสียงพูดปกติ อาจใช้เครื่องช่วยฟังบางโอกาส เช่น เรียนหนังสือ
     ระดับที่ 3 หูตึงปานกลาง (41-55 เดซิเบล)
          ไม่ได้ยินเสียงปกติ ต้องพูดดังกว่าปกติจึงจะได้ยิน จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังขณะพูดคุย
     ระดับที่ 4 หูตึงมาก (56-70 เดซิเบล)
          พูดเสียงดังแล้วยังไม่ได้ยิน จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังตลอดเวลา
     ระดับที่ 5 หูตึงรุนแรง (71-90 เดซิเบล)
          ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงจึงจะได้ยิน แต่ได้ยินไม่ชัด
     ระดับที่ 6 หูหนวก (91 เดซิเบลขึ้นไป)
          ตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงแล้วยังไม่ได้ยิน และไม่เข้าใจความหมาย   
กระบวนการแบบสองภาษา
          กระบวนการแบบสองภาษา เป็นการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งสำหรับเด็กหูหนวก ทำการสอนโดยครู 2 คน คือ ครูหูหนวก และครูที่มีการ ได้ยิน โดยครูหูหนวกจะเป็นแบบอย่างของการใช้ภาษามือ เป็นผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ วิถีชีวิตของคนหูหนวกให้กับเด็กหูหนวก และครูที่มีการได้ยินจะเป็นแบบอย่างของการใช้ภาษาไทย ทั้งการเขียน การอ่าน และการพูด โดยเด็กหูหนวกจะต้องเรียนภาษามือที่สอนโดยครูหูหนวก เป็นภาษาแรกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ จนเด็กสามารถใช้ภาษามือได้อย่างดี และเรียนรู้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองโดยครูที่มีการได้ยิน ซึ่งการสอนภาษาโดยใช้วิธีการสอนแบบภาษาที่สอง โดยใช้ภาษามือไทยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ภาษาไทย การสอนภาษาไทยจะสอนจากการเขียน การอ่าน หรือการพูด ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน สำหรับเด็กโต บางวิชาอาจจะสอนด้วยภาษามือ โดยครูหูหนวก เช่น วิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคม โดยใช้เทคนิค การสอนที่ตอบสนองความต้องการและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนหูหนวก

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 11806เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2006 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
ได้ความรู้เรื่องเด็กพิการทางหูดีมากเลยค่ะณัฏฐ์ธิดาษ์

ได้รับความรู้มากมายจากสิ่งที่ไม่เคยทราบมาก่อน  เนื้อหาดีมากเลยคะ      ขอบคุณมากคะ  ณัฏฐ์ดาษ์

เบ็ญจวรรณ ฟักแฟง ( โอเด็ต)
ได้ความรู้เรื่องเด็กพิการทางหูดีมากเลยค่ะณัฏฐ์ธิดาษ์
วนิดา สายวงษ์ (พอลล่า)
ได้รับความรู้มากมายจากสิ่งที่ไม่เคยทราบมาก่อน  เนื้อหาดีมากเลยคะ      ขอบคุณมากคะ  ณัฏฐ์ดาษ์
อาจารย์ประไพ สิทธิเลิศ

ข้อมูลที่นำเสนอเป็นประโยชน์  ขอให้ณัฏฐ์ธิดาษ์  หวลหอม พัฒนาทักษะการใช้เว็บไซต์นี้มาก ๆ พยายามฝึกอัพโหลดภาพและไฟล์ให้ได้ ขณะนี้ถือว่ายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการบูรณาการ การเรียนรู้จากการใช้เทคโนโลยีกับเนื้อหาสาระในวิชาการศึกษาแบบเรียนรวม 

ข้อทดสอบไม่มีปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ นักศึกษาควรเพิ่มเติมให้ครบสมบูรณ์ด้วย

รุจิเรข เฟื่องบางหลวง (แอนนี่)
   หลังจากที่ได้อ่าน เรื่อง เด็กพิการทางหูแล้ว ได้รับความรู้เรื่องนี้เพิ่มขึ้นมากทีเดียว  เนื้อหาดีมากค่ะ.........ขอบคุณนะคะ...

เนื้อหาดีมากคะอ่านแล้วได้รับประโยชน์มากมายขอบคุณมากคะ

 

เนื้อหาดีมากคะอ่านแล้วได้รับประโยชน์มากมายขอบคุณมากคะ

 

จตุพร นาเครือhttp://gotoknow.org/javascripts/tinymce/jscripts/tiny_mce/themes/advanced/color_picker.htm
ณัฏฐ์ธิดาษ์ หวลหอม  เก่งมากเลยนะครับผม จะคอยเป็นกำลังใจให้นะครับ
ศุภลักษณ์ เรืองเรื่อ

เนื้อหาเหมาะสำหรับคุณแม่มากเพราะลูกคือดวงใจ น่าศึกษาเพื่อการป้องกันที่ดีค่ะ

ข้อมูลเป็นประโยชน์มากเลย

กำลังสนใจเรื่องนี้อยู่พอดี

ขอบคุณมากนะคะ

ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง เพราะ บางคนไม่ได้ผล ดีที่สุดสำคัญการฝึกพูด เพื่อการสื่อสาร ตามร้าน เเละฝึกอ่านปาก ด้วย เเทนฟังค่ะ ดิฉันเป็นคนหูหนวกมาตั้งเเต่เกิด เเต่พอพูดได้ชัดเจน ไม่อยากใส่เครื่องช่วยฟังอีกเเล้ว เห็นเเล้วไม่ได้ผลอะไร

ขอบคุณมากสำหรับข้อความดี ดี เพราะอยากรู้เรื่องอยู่พอดี

อยากทราบชื่อโรงเรียนที่รับเด้กพิการทางหูเรียนร่วมกับเด้กปกติ ที่ไหนดี บ้างค่ะ

อยู่กระบี่ค่ะ..อยากทราบว่ามีโรงเรียนสำหรับเด็กพิการทางหูที่อยู่ใกล้ๆกระบี่มั้ยค่ะ

แอพฟรี สำหรับช่วยคนหูหนวก หรือผู้ที่มีปัญหาในการฟังและการพูด ให้สื่อสารกับคนที่ไม่เข้าใจภาษามือได้ง่ายขึ้น

ดิฉันได้สร้างแอพฟรี สำหรับช่วยให้คนหูหนวกสามารถสื่อสารกับคนที่ไม่เข้าใจภาษามือได้ง่ายขึ้น แอพนี้จะแปลงเสียงพูดของผู้พูดให้เป็นตัวหนังสือ ให้คนหูหนวกได้อ่าน และคนหูหนวกสามารถพิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสาร และแอพนี้จะแปลงข้อความที่พิมพ์เป็นเสียงพูด ทำให้คนที่ไม่เข้าใจภาษามือ สามารถสื่อสารกับคนหูหนวกได้ง่ายขึ้น

แอพนี้ใช้ได้กับโทรศัพท์หรือแทปเลตที่เป็น Andriod เท่านั้น ของ IOS ยังไม่ได้ทำออกมาค่ะ

ฟังชั่นการแปลงเสียงพูดเป็นตัวหนังสือสามารถใช้ได้เฉพาะตอนที่โทรศัพท์ หรือแทปเลตต่อกับอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่ฟังชั่นการแปลงตัวหนังสือเป็นเสียงพูดใช้ได้ในทุกกรณี

แอพนี้มีให้โหลดฟรีได้ที่ Google App Store ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.thunkable.android.justpissapp.HearItTH

ดิฉันหวังว่าแอพนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีปัญหาในการฟังและพูดค่ะ

ลองโหลดมาใช้ดูนะคะ และถ้าใช้แล้วต้องการให้เพิ่มฟังชั่นอะไรใหม่ๆ หรือต้องการให้แนะนำ หรือติชม ติดต่อเข้ามาได้ที่อีเมล์ที่ให้ไว้ที่ Google Play store ค่ะ

ถ้าเห็นว่าแอพนี้เป็นประโยชน์กับคนพิการหูหนวก หูตึง หรือคนใบ้ ช่วยบอกต่อด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท