ประวัติความเป็นมาของอักษรไทยน้อย


 

 

ประวัติความเป็นมาของอักษรไทยน้อย 

 

                อักษรไทยน้อย เป็นอักษรที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มคนไทยลุ่มแม่น้ำโขง คือล้านช้างและภาคอีสานของประเทศไทย โดยดินแดนทั้งสองส่วนนี้มีรูปแบบและวิวัฒนาการของอักษรที่ใช้นั้นร่วมกัน ชาวอีสานเชื่อกันว่าอักษรไทยน้อยเป็นอักษรดั้งเดิมของชาวไทยน้อย พิทูร มลิวัลย์ เห็นว่า ดูตามชื่อแล้วอักษรไทยน้อยน่าจะมีความหมายเกี่ยวพันกับชาวไทยน้อยซึ่งคู่กับชาวไทยใหญ่

           คงเดช ประพัฒน์ทอง ได้แสดงความเห็นจากข้อสันนิษฐานของเซเดย์ เกี่ยวกับภาษาและอักษรของไทยน้อยไว้ว่า พวกไทยน้อยที่อยู่ในดินแดนเหนือห่างไกลจากกรุงกัมพูชา ไม่ได้ถูกฤทธิ์อำนาจของขอมครอบงำ  ภาษาของเขาไม่มีคำเขมรสักคำเดียว  แลตัวอักษรที่ใช้ก็เป็นอักษรไทยเดิมที่เซเดย์ได้สันนิษฐานมา      แล้วว่าชนชาติไทยได้แบบอักษรมาจากมอญโบราณ อักษรมอญโบราณนั้นเป็นต้นเค้าของอักษรมอญ อักษรพม่า ในปัจจุบันนี้ และตั้งแต่ครั้งโบราณมักเขียนเป็นตัวกลม เพราะฉะนั้นอักษรไทยเหนือ ทั้งไทยใหญ่และไทยน้อยจึงมีรูปสัณฐานกลม แต่ไม่ไม่ใช่เพราะเกิดจากอักษรพม่า

                อักษรไทยน้อยเป็นอักษรที่วิวัฒนาการไปจากอักษรสุโขทัยสมัยพระยาลิไท โดยพระยาลิไทได้ทรงฟื้นฟูพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ขึ้น ทำให้กรุงสุโขทัยเป็นศูนญ์กลางของพระพุทธศาสนา พระองค์ได้ส่งสมณทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาในอาณาจักรไทยต่างๆ ดังที่ปรากฏในตำนานมูลศาสนาว่า มีสมณทูตจากสุโขทัยไปเผยแผ่ศาสนาที่อโยธยา หลวงพระบาง น่านและเชียงใหม่ ซึ่งมีพระสุมนเถระเป็นสมณทูต การที่พุทธศาสนาจากเมืองสุโขทัยแผ่ขยายเข้าสู่อาณาจักรไทยอื่นๆในสมัยพระยาลิไทนี้เองเป็นปัจจัยสำคัญให้อักษรไทยน้อยแพร่ขยายไปสู่อาณาจักรและหัวเมืองเหล่านั้นด้วย ในการศึกษาศิลาจารึกในอาณาจักรล้านช้าง เรายังไม่พบศิลาจารึกที่จะเชื่อได้แน่ว่าสร้างขึ้นในสมัยการเผยแผ่พุทธศาสนาครั้งนี้ นอกจากจารึกลายเขียนสีที่ผนังถ้ำนางอัน รูปแบบอักษรอนุมานได้ว่าสร้างขึ้นในสมัยนั้นหรือใกล้เคียงกัน และจารึกลายเขียนสีที่ผนังถ้ำนางอันนี้น่าจะเป็นอักษรต้นแบบของอักษรไทยน้อย

                ครั้นเมื่ออาณาจักรล้านช้างและล้านนาได้มีความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองการปกครองและด้านเครือญาติใกล้ชิด โดยพระเจ้าโพธิสาลราชแห่งอาณาจักรล้านช้างได้อภิเษกกับพระธิดาของพระเมืองเกษเกล้ากษัตริย์เชียงใหม่ ได้นำคัมภีร์และเถรมหาเถระไปสู่อาณาจักรล้านช้าง ในช่วงปลายราชวงศ์มังรายนั้นอาณาจักรล้านนาไทยเชียงใหม่ได้ใช้อักษรสุโขทัยเป็นอักษรทางพระพุทธศาสนา อักษรไทยสุโขทัยนี้ได้มีการผสมผสานกับอักษรท้องถิ่นคืออักษรยวน จนมีรูปต่างไปจากอักษรสุโขทัยต้นแบบ เรียกอักษรที่เกิดขึ้นนี้ว่า อักษรฝักขาม อักษรฝักขามจึงเข้าไปมีอิทธิพลต่อการคลี่คลายรูปแบบของอักษรไทยน้อย ส่วนภาคอีสานในสมัยโบราณนั้นรับวัฒนธรรมจากอาณาจักรล้านช้าง(ประเทศลาว)ได้สะดวกกว่าจากอยุธยาเพราะภูมิประเทศบังคับ ตัวอักษรไทยน้อยของภาคอีสานจึงรับอิทธิพลจากตัวหนังสือฝักขามของเชียงใหม่โดยผ่านทางอาณาจักรล้านช้างอีกทอดหนึ่ง เท่าที่ค้นพบแล้วตัวอักษรไทยน้อยในภาคอีสานที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในศิลาจารึกวัดแดนเมือง จังหวัดหนองคาย พ.ศ. ๒๐๗๓ ส่วนในประเทศลาวศิลาจารึกอักษรไทยน้อยที่เก่าแก่ที่สุดได้แก่ จารึกวัดบ้านสังคะโลก พ.ศ. ๒๐๗๐  และ พ.ศ. ๒๐๙๐ พระเจ้าชัยเชษฐาได้ทรงนำเอาวรรณคดีชาดกและช่างฝีมือจากเชียงใหม่ไปล้านช้าง ทำให้อักษรไทยน้อยในอาณาจักรล้านช้างได้วิวัฒนาการคลี่คลายรูปแบบไปบ้าง

                สิ่งที่แสดงถึงอิทธิพลของอักษรฝักขามต่ออักษรไทยน้อยในอาณาจักรล้านช้าง ประการหนึ่งที่เห็นชัดคือ การมีอักขรวิธีของอักษรตัวธรรมปะปนอยู่ด้วย ดังหลักฐานที่พบจากศิลาจารึกวัดแดนเมือง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย พ.ศ. ๒๐๗๘  ซึ่งศิลาจารึกหลักนี้น่าจะเป็นแบบอย่างของศิลาจารึกที่สร้างขึ้นภายหลังจากนี้ ของอาณาจักรล้านช้าง และบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ที่นิยมการเขียนอักษรไทยน้อย โดยเอาวิธีการของอักษรตัวธรรมปะปนเข้ามาเป็นทวีคูณ จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอักษรไทยน้อย จึงพบเอกสารใบลานและศิลาจารึกที่สร้างขึ้นมาในสมัยหลังมีอักขรวิธีของอักษรตัวธรรม  และอักษรบางตัวของอักษรตัวธรรมเข้ามาปะปนอย่างมาก

                อักษรไทยน้อยในอาณาจักรล้านช้างและในภาคอีสาน ในสมัยต่อๆมาก็ได้มีวิวัฒนาการรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากอาณาจักรล้านช้าง ได้ตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศส อักษรไทยน้อยในอาณาจักรนี้ได้วิวัฒนาการไปโดยมีการเพิ่มวรรณยุกต์และเปลี่ยนแปลงรูปอักษรบางตัวจนรูปแบบต่างๆต่างไปจากเดิม เรียกชื่ออักษรใหม่นี้ว่าอักษรลาว ส่วนอักษรไทยน้อยในภาคอีสานไม่มีวิวัฒนาการต่อไป เนื่องจากอักษรไทยปัจจุบันเข้าไปมีบทบาทแทน

          อักษรไทยน้อยที่พบในประเทศไทยนั้นส่วนมากจะพบอยู่ทางภาคอีสาน แต่ก็พบว่ามีกระจายอยู่ในแถบภาคกลาง ที่มีกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวอาศัยอยู่ เช่น ในจังหวัดนครปฐม และสุพรรณบุรีเป็นต้น อักษรไทยน้อยเหล่านี้นิยมจารลงในใบลาน มากกว่าจะเขียนลงบนกระดาษสมุดโบราณ เรื่องที่จารลงในใบลานนั้น มักเป็นนิทาน ตำนาน คำสอนต่างๆ ที่เป็นสุภาษิต และแต่งเป็นบทกลอนทำนองนิยายหรือนิทานพื้นเมือง เรื่องที่จารด้วยอักษรไทยน้อยนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของชาวบ้าน เท่ากับเป็นหนังสืออ่านเล่นประโลมโลก หรือทำนองวรรณกรรม จารุบุตร เรืองสุวรรณ กล่าวถึงการใช้อักษรไทยน้อยว่า ตัวไทยน้อย ใช้ในกิจการฆราวาส ส่วนเอกชนหรือราชการ งานเมือง วรรณคดี หรือนิทานชาดก

                พิสูจน์ ใจเที่ยงกุล  ได้พบอักษรไทยน้อยในชุมชนที่มีคนไทยเชื้อสายลาว ๒ เชื้อสายคือ พบเรื่องข้องคอกุ้น ที่วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นอักษรไทยน้อยที่จารโดยชาวไทยเชื้อสายลาวครั่ง ซึ่งเชื่อว่าบรรพบุรุษได้อพยพมาจากอาณาจักรล้านช้าง เรื่องนี้ พิสูจน์ ใจเที่ยงกุลนำมาวิจัยเป็นวิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยศิลปากร

                อีกเรื่องคือเรื่อง ไพยะสาน เป็นอักษรไทยน้อย พบในชุมชนชาวไทยเชื้อสายลาวพวนที่ วัดอู่ทอง ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

          นอกจากนี้ พิสูจน์ ใจเที่ยงกุล ยังพบหนังสือผูกที่จารด้วยอักษรไทยน้อย ที่จังหวัดนครปฐมอีกหลายเรื่อง ซึ่งต้นฉบับส่วนหนึ่งยังอยู่กับ พิสูจน์ ใจเที่ยงกุล และ รศ.สิริวัฒน์ คำวันสา

                                                                เรียบเรียงโดย พิสูจน์ ใจเที่ยงกุล (ศศ.ม.จารึกภาษาไทย)

 

คำสำคัญ (Tags): #อักษรไทยน้อย
หมายเลขบันทึก: 117899เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2007 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)
ผมต้องฝึกเขียนอักษรไทน้อยบ้างแล้ว อักษรของบรรพบุรุษจะได้ไม่สูญหาย. แต่ฝึกแล้วไม่จะเขียนได้เหมือนของเดิมหรือเปล่า ... -_-'
  • ขอบใจ คุณวีร์ ที่ให้ความสนใจมรดกทางวัฒนธรรมของปู่ ย่า ตา ยาย
  • ต่อไปผมจะนำตัวอย่างอักษรไทยน้อยมาแสดง
  • คอยติดตามและหัดเขียนนะครับ

ผมเองเป็นลูกหลาน ลาวครั่ง หรือ ลาวขี้คั่ง ปู่ย่าตายายว่าอย่างนั้น และเพิ่งทราบเหมือนกันว่ามีภาษาไทยน้อยด้วย ซึ้งเท่าที่ผมทราบแถบ ต.ห้วยด้วน(ไม่ห่างจากโพรงมะเดื่อมากนักและเป็นชนกลุ่มเดียวกัน) อย่างน้อยก็อาศัยอยู่มาตั้งแต่รัชกาลที่ 5  เพราะผมเคยเห็น โฉนด ของคุณตา(ผมเรียกพ่อคุณ)ครับ

 แต่ผมยังไม่เคยทราบเรื่องตัวอักษรที่ติดมากับบรรพบรุษที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาจากหลวงพระบาง ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์  ผมเองเคยเข้าไปหลวงพระบางแต่ก็ยังไม่เคยพบผู้คนที่พูดสำเนียงคล้าย ลาวครั่งในเมืองไทยเลยครับ ยกเว้นกลุ่มลาวพวนแถบเชียงขวาง (ทุ่งใหหิน)

ผมสนใจในอดีดของชนกลุ่มนี้ และไม่ทราบว่าอักษรไทยน้อย นั้นติดมากับชนกลุ่มนี้หรืออย่างไร ครับ

ด.ช. กิตติ ศรีลาศักดิ์

ผมมีความประสงจะอยากอ่านอักษรไทยน้อยเป็นครับถ้ามีคำเเนะนำช่วยส่งมาที่อีเมลนี้ครับ  [email protected]

แล้วลาวก่อนหน้านี้ใช้อักษรอะไร

อักษรลาวปัจจุบันนี้ เหมือนกับอักษรไทน้อยมากครับ หรือว่าเป็นอักษรไทน้อยครับครู?

ภาษาไหนก็เหมือนกันเพราะ ภาษาทำให้เราเข้าใจกันมากขึ้น

สวัสดีค่ะ อาจารย์ พิสูจน์ จำลูกศิษย์คนนี้ได้เปล่าค่ะ

แต่หนูจบมานานแล้วค่ะ เพิ่งหัดเล่นกับเค้าอ่ะค่ะ

มีอะไรแนะนำด้วยนคะ ................

อยากหัดเขียนอักษรไทยน้อย ให้เป็น ค่ะ (ไทยน้อย เป็นนามสกุล ของหนูเอง ค่ะ)

นักศึกษาวิชาชีพครู

ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู ที่มีความสนใจในความเป็นมาของอักษรไทย

ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกดีที่ได้อ่านบทความนี้

ขอบคุณมากคะ

ที่แสดงบทความนี้

  • ได้ความรู้ดีมาก ๆ ค่ะ
  • พอรู้บ้างแต่ไม่ลึกซึ้งเท่านี้ค่ะ
  • ขอขอบคุณ
  • และเป็นกำลังใจให้นะคะ

ได้ความรู้และสาระดีๆมากค๋ะ

พอศึกษามาบ้าง คนภูครั่ง คือคนภูเรือ โบราณเรียกว่าเมืองภูครั่ง (แต่ก่อนเป็นเมืองด่านซ้าย)จังหวัดเลย ตามเอกสารทางลาวบอกไว้ว่าคนภูครั่ง(ด่านซ้าย )ได้โดนกวาดต้อนไปอยู่เมืองนครปฐม หลักฐานอักษรไทยน้อยของด่านซ้ายอยู่ที่ศิลาจารึกของพระธาตุศรีสองรักครับ ผ่านมาที่ด่านซ้ายก็อย่าลืมมานมัสการด้วยนะครับ

ขอบคุณ สายยันต์ ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผมพบใบลานอักษรไทยน้อย ในกลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวพอสมควรทีเดียว แต่ที่ยืนยันได้คือกลุ่มลาวครั่งและลาวพวนดังกล่าวไว้ แสดงว่า คนไทยเชื้อสายลาวท่านได้นำอักษรไทยน้อยติดตัวมาด้วยในการอพยพเข้ามา หรือท่านอาจจะจารขึ้นใหม่ก็ได้..แต่ผมดูใบลานแล้วเก่ามาก

ขอบใจ ด.ช.กิตติ ผมกำลังจะเขียนเอกสารฝึกหัดอ่านอักษรไทยน้อย..คอยติดตามก่อนนะครับ...น่ายินดีที่เยาวชนสนใจสมบัติทางปัญญาของคยรุ่นเก่าๆ

ขอบคุณ คุณชนชาติลาว เซเดย์ บอกว่าชนชาติไทยโบราณได้แบบอักษรมาจากมอญโบราณ ชนชาติไทยโบราณ กับชนชาติลาว คงเป็นคนกลุ่มเดียวกันนะครับ

ขอบคุณ คุณpaleeyon ถ้าดูตามประวัติ...อักษรลาว..ก็น่าจะวิวัฒนาการมาจากอักษรไทยน้อยครับ

ขอบคุณ คุณ ๑๒ กุมาร จริงครับที่ว่ามา

ขอบใจ สุนิสา ที่แวะมาเยี่ยมเยียนครู หมั่นขยันศึกษาหาความรู้มากๆจะเจริญจ้ะ

ขอบคุณ คนใช้ไทยน้อย รอสักนิดผมจะสอนวิธีเขียนและอ่านอักษรไทยน้อย..เป็นเอกสารเผยแพร่ครับ

ขอบคุณ นักศึกษาวิชาชีพครู...ยินดีครับที่ได้ความรู้..ที่ผมก็นำความรู้จากผู้รู้มาเผยแพร่อีกทีหนึ่งครับ...โดยเฉพาะจากอาจารย์ของผม..นั่นเอง

ขอบคุณครูคิมครับ..ที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ขอบคุณ มิ้นท์ ที่ให้ความสนใจของเก่าๆครับ

ขอบคุณ ปื๊ด ที่ให้ความรู้เพิ่มเติมอันเป็นประโยชน์มากครับ

น่าสนใจมากค่ะ ที่นครปฐมก็มีลาวอยู่หลายกลุ่มเหมือนกัน กำลังจัดให้มีโครงการศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาอยู่ค่ะ และขอเชิญอาจารย์ร่วม planet ด้วยค่ะที่

URL://gotoknow.org/planet/nptlocalwisdom/

ก้อพอจร้ารู้เรื่องนะ

ภาษาไทย เป็นภาษาที่เราใช้อยู่ประจำวัน คับ

ทำไมอักษรลาวถึงเหมือนกับอักษรไทย

*ทำให้มีความรู้

*ทำให้รู้ภาษา

ให้ความรู้

ใครที่อยากเห็นอักษรไทยน้อยบนศิลาจารึกสามารถชมได้ที่ วัดปัจจันตบุรี(วัดบ้านแดนเมือง) พร้อมทั้งชมบั้งไฟพญานาคได้ที่วัดได้เช่นเดียวกันครับ เป็นศิลาจารึกไว้ตั้งแต่ปี พศ.2073โดยประมาณ มี 2 ศิลาจารึกครับ

ลืมแจ้งวัดปัจจันตบุรี ตั้งอยู่ที่ บ.แดนเมือง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ร่วมชมและอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมร่วมกัน

นาย ชนินทร์ สุขสำราญ

รอวันที่ครูเเวะเข้ามาดูผลสำเร็จที่ครูได้ปลูกฝังให้ผมไป ขอขอบพระคุณครูอีกครั้งครับ

เว็บไซต์ส่วนตัวของ ชนินทร์ สุขสำราญ

http://www.weblampang.com/mancit

การทำขวัญนาคสดๆๆ

http://www.youtube.com/watch?v=KGcs7rclcII

http://www.youtube.com/watch?v=8k9vGPZR2xA

ดาวน์โหลดเสียงเเหล่ทำขวัญนาคของผมจากเว็บไซต์ด้านล่างนี้ครับ

เเหล่หัวอกมารดา

http://www.4shared.com/file/136753743/11bb1497/___online.html

เเหล่เรียกขวัญนาค

http://www.4shared.com/file/136955353/10c8b3a6/___online.html

เเหล่เปิดตำนานนาค

http://www.4shared.com/file/138513374/4b8c06bd/_online.html

บทลิเก ชมเจ้าภาพ

http://www.4shared.com/file/138515835/71d94312/___.html

บทสักเคบูชาเทพเทวดา

http://www.4shared.com/file/138518005/a68d99b4/___.html

บทเสภา ไหว้ครู

http://www.4shared.com/file/138518653/3614b476/_____.html

เดี่ยวพิณ

http://www.youtube.com/watch?v=iL0UXh7_cYA

จริง หล่อจริง

อักษร หรืออักขระ ใช้เป็นสือในการสื่อสารเรื่องราวต่างๆ เมื่ออักขระมาประกอบกันจึงเกิดเป็นคำอ่าน นั่นก็คือเสียง

ทำไม่เอา ก.ไก่ขึ้นก่อน ตัวอื่น?

ตอบ เพราะเสียงแรกที่เราได้ยิน คือเสียงไก่

ทำไม ข.ไข่ ถึงเขียนอย่างที่เราเห็นทุกวัน?

ตอบ เพราะพระภิกษุทางใต้เป็นผู้ถูกนิมนต์ไปประดิษฐิอักษรไทย ตามนิสัยคนใต้มักมีนิสัยทลึง ลองเอาหัว ข.ไข่ควำ่ลงล่างสิ เหมือนอะไร นั้นแหละคนใต้ เรียกว่า ไข่

ทำไม่ ต.เต่า หลังแตก

ตอบ มาจากนิทานชาดก เต่าตกสวรรค์

ไม่เห็นจะเหมือนที่ครูสอนเลย

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

ประจักษ์ จิตเสนาะ

คุณพ่อบอกผมว่า พ่อเป็นไทน้อย ส่วนแม่เป็นไทลื้อ เห็นพ่อบอกว่า อักษรลาวที่ใช้อยู่เป็นของไทน้อย
พ่อและผมจะตัวเล็กไม่สูงมาก 160 ซ.ม กว่าๆ ผิวขาวเหมือนคนเหนือ ตาโตขนตายาวแบบคนใต้ ผมหยิกหยักศก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท