มารู้จักจิตวิทยาอุตสาหกรรมกันเถอะ


จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการนำความรู้เรื่องพฤติกรรมของมนุษย์ไปใช้ในกิจกรรมทางอุตสาหกรรม เกี่ยวกับพฤติกรรมในการจัดการและการวางแผนงาน อุตสาหกรรมการผลิต การโฆษณาสื่อสาร การจำหน่าย การบริโภค และการบริการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในการดำเนินงานอุตสาหกรรม ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำทฤษฎีและหลักการทางจิตวิทยาไปช่วยพัฒนาและแก้ปัยหาด้านพฤติกรรมของมนุษย์ที่ดำเนินงานอุตสาหกรรม ทั้งด้านการสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและการวางตนตามบทบาทหน้าที่ในหน่วยงาน

มารู้จักจิตวิทยาอุตสาหกรรมกันเถอะ ท่านทั้งหลายมักจะคุ้นกับเรื่องในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่เรียกว่า (HR: Human Resources ) แต่อาจจะไม่คุ้นกับจิตวิทยาอุตสาหกรรม หรือ จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ที่เรียกกันว่า (IO:Industrial and Organizationa Psychology ) พอเอ่ยถึงคำว่า จิตวิทยาอุตสาหกรรม เชื่อว่าหลายท่านคงจะเข้าใจและนึกไปถึงเรื่องการบำบัดจิต โรงพยาบาลของคนจิตไม่ปกติ อะไรประมาณนั้น  จิตวิทยาอุตสาหกรรม นั้น เป็นศาสาตร์แขนงหนึ่งของจิตวิทยาที่ถูกประยุกต์ขึ้นมาเรียนรู้เรื่องของการจัดการพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ ซึ่งใกล้เคียงกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ต้องจัดการกับคนเหมือนกัน  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรม         

ความหมายของวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม          

จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษย์ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการนำความรู้เรื่องพฤติกรรมของมนุษย์ไปใช้ในกิจกรรมทางอุตสาหกรรม เกี่ยวกับพฤติกรรมในการจัดการและการวางแผนงาน อุตสาหกรรมการผลิต การโฆษณาสื่อสาร การจำหน่าย การบริโภค และการบริการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในการดำเนินงานอุตสาหกรรม ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำทฤษฎีและหลักการทางจิตวิทยาไปช่วยพัฒนาและแก้ปัยหาด้านพฤติกรรมของมนุษย์ที่ดำเนินงานอุตสาหกรรม ทั้งด้านการสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและการวางตนตามบทบาทหน้าที่ในหน่วยงาน          จากความหมายของจิตวิทยาอุตสาหกรรมดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการศึกษาจิตวิทยาอุตสาหกรรมนั้น จะต้องศึกษาตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานอุตสาหกรรม แล้วหาวิธีการนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมนั้นไปใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมทุกด้าน ทุกขั้นตอน นับแต่ขั้นตอนการเริ่มงานอุตสาหกรรม การผลิต การติดต่อสื่อสาร โฆษณา ประชาสัมพันธ์ การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและการให้บริการที่สนองความพอใจของผู้บริโภคได้ ทั้งนี้โดยผู้ให้บริการก็ทำงานได้ด้วยความสุขความพอใจ เจ้าของกิจการก็ประสบความสำเร็จและเกิดความสุขความพอใจในงาน จึงเห็นได้ว่า การที่จะได้ชื่อว่าใช้จิตวิทยาเป็นนั้นต้องก่อให้เกิดความพึงพอใจหรือโดยสมัครใจกับทุกฝ่าย        

  ความเป็นมาของจิตวิทยาอุตสาหกรรม          งานธุรกิจมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ นับตั้งแต่มนุษย์เริ่มมีการติดต่อสื่อสาร ไปมาหาสู่กัน ทั้งในระดับครอบครัว ระดับหมู่บ้าน ระดับท้องถิ่น ระดับเมือง และระดับประเทศ เมื่อมีการติดต่อสื่อสารไปมาหาสู่กันก็มีการแลกเปลี่ยนวัตถุสิ่งของซึ่งกันและกัน แบ่งปันกัน เช่น แลกเปลี่ยนสัตว์เลี้ยงกับพืชผัก แลกเปลี่ยนอาหารกับเครื่องประดับ ต่อมาแลกเปลี่ยนสิ่งของกับสิ่งของไม่สะดวกก็เปลี่ยนเป็นใช้เงินแลกเปลี่ยนสิ่งของ จากสิ่งของที่จำนวนไม่มากมาย มีตามส่วนเกินความต้องการของครอบครัว ก็กลายเป็นผลิตมากๆ เพื่อการค้า การซื้อขายสินค้าก็ตาม เมื่อสังคมใหญ่และซับซ้อนขึ้นไปอีก ความต้องการสินค้ามีเพิ่มขึ้นเกิดมีผู้ผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นตามมา           ระบบการแข่งขันทางธุรกิจก็เกิดการแข่งขันทางธุรกิจนั้นเป้นไปทั้งในด้านการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพของผู้ประกอบการ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การให้บริการที่ทำให้ได้ลูกค้ามากที่สุด มีการศึกษาค้นคว้า และทดลองการดำเนินงานธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในรูปแบบมากมาย ได้ทฤษฎีพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่องานธุรกิจอุตสาหกรรมอีกมาก จนในที่สุดเริ่มมีการศึกษาค้นคว้าธรรมชาติพฤติกรรมมนุษย์ในงานธุริกจอุตสาหกรรมกันอย่างแพร่หลายและอย่างจริงจัง จนได้เป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่ง เรียกว่าจิตวิทยาอุตสาหกรรม ซึ่งจัดเป็นจิตวิทยาประยุกต์ ว่าด้วยการนำความรู้ทางพฤติกรรมไปใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งการที่วิชาเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มากน้อยเพียงใดต่อผู้ศึกษาขึ้นอยู่กับการเรียนเพียงเพื่อรู้หรือเรียนแล้วลองนำไปปฏิบัติ ประโยชน์จะเกิดต่อเมื่อได้นำความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง
          ในด้านการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรม กล่าวได้ว่าการศึกษาพฤติกรรมในวงการธุรกิจเริ่มอย่างจริงจังในสหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ.1901 หลังจากนั้น เริ่มตื่นตัวต่อมาในอังกฤษ ประเทศทั่วไปในยุโรป อัฟริกา และเอเซีย สมัยแรกๆ ตื่นตัวศึกษาเกี่ยวกับการคัดเลือก การบรรจุพนักงาน วิเคราะห์การทำงาน การฝึกอบรมพนักงาน ต่อมาประมาณ ค.ศ. 1925 เริ่มใช้จิตวิทยาในการอุตสาหกรรมและวิศวกรรม บุคคลสำคัญที่สนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจิตวิทยาในงานอุตสาหกรรม เช่น เทเลอร์ กิลเบอร์ธ สก็อต มันสเตอร์เบอร์ก ซึ่งจะกล่าวเป็นลำดับโดยสังเขป ดังนี้
         

 ค.ศ.1882 เฟรดเดอริค วินสโลว์ เทเลอร์ (Frederick Winslow Taylor) วิศวกรชาวอเมริกัน ทำงานในโรงงานถลุงเหล็ก ศึกษาลักษณะการทำงานของคนงานในด้านกิริยาท่าทาง การเคลื่อนไหวขณะทำงาน จับเวลาการเคลื่อนไหวและท่าทางในการทำงานแต่ละระยะตั้งแต่เริ่มการทำงาน จนเสร็จงานและได้ข้อสรุปในการทำงานว่า ผลผลิตในการทำงานของพนักงานจะสูงขึ้น ความเหนื่อยจะลดน้อยลงเมื่อทำงานถูกวิธี เป็นที่มาใช้จิตวิทยาในหารคัดเลือกบุคลากร การจัดฝึกอบรม การจัดวางคนให้เหมาะกับงาน การสร้างสัมพันธภาพในหน่วยงาน การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ซึ่งก่อนหน้าที่เทเลอร์จะนำแนวคิดของเขาไปใช้ในการทำงานของคนงานนั้น พบว่าคนงานมีชั่วโมงการทำงานมาก ทำงานหนัก แต่ผลผลิตกลับได้น้อย          

ค.ศ.1885 แฟรงค์ และลิเลียน กิลเบอร์ธ (Frank and Lilian Gilbreth) ศึกษาพฤติกรรมด้านท่าทางและการเคลื่อนไหวของพนักงานในการเรียงก้อนอิฐ ใช้วิธีสังเกตพฤติกรรมตามธรรมชาติของคนงาน จากนั้นเขาคิดวิธีการใหม่ วางขั้นตอนการทำงานและการเคลื่อนไหวของพนักงานใหม่ ย้ายอุปกรณ์บางอย่างให้สะดวกต่อการเคลื่อนไหวและย่นเวลางาน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อวางแผนอย่างดี พนักงานเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ได้งานมากขึ้นในเวลาเท่าๆ กัน และคนงานเหนื่อยน้อยลง ความเมื่อยล้าลดน้อยลงด้วย          

ค.ศ.1903 วอลเตอร์ ดิล สก็อต (Walter Dill Scott) เขียนตำรา จิตวิทยาวิทยาการโฆษณานำจิตวิทยาเข้าไปใช้ในการขายและการโฆษณา มีชื่อเสียงและได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาประยุกต์ใน ค.ศ.1915 ต่อมาศึกษาวิทยาด้านการคัดเลือกบุคลากรให้เหมาะกับงาน และตั้งบริษัทให้บริการแนะแนวและคำปรึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และนับได้ว่า สก็อตเป็นนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมคนแรกที่ได้ริเริ่มนำเอาหลักจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม          

ค.ศ.1913 ฮิวโก มันสเตอร์เบอร์ก (Hugo Munsterberg) เขียนตำราจิตวิทยาและประสิทธิภาพของงานอุตสาหกรรมว่าด้วยการนำจิตวิทยาไปใช้ในการคัดเลือกบุคลากรและการฝึกอบรมเพื่อการปรับปรุงงานและระบุความสำคัญของจิตวิทยาต่องานธุรกิจซึ่งช่วยให้ทราบความแตกต่างด้านความสามารถและบุคลิกภาพของพนักงาน ช่วยจัดวางตัวพนักงานในงานต่างๆ ช่วยให้ได้แนวทางในการทำให้คนงานทำงานอย่างได้ประสิทธิภาพและเป็นสุขและเป็นแนวทางในการจูงใจคนในงานอุตสาหกรรม          ที่กล่าวมา เป็นความเป้นมาโดยสังเขปของการศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมในต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทย การนำจิตวิทยาไปประยุกต์ในวงการต่างๆ มีมานานแล้ว ทั้งในด้านการปกครองและการเมือง ที่จัดว่าเป็นการนำจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมจริงๆ นั้น เช่น ด้านการประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร การจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ให้แก่บุคลากรในหน่วยงานอุตสาหกรรม จนกระทั่งต่อมามีการนำศาสตร์ทางจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ด้านอื่นๆ ในหน่วยงานอุตสาหกรรมและแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน 

   ขอบข่ายของจิตวิทยาอุตสาหกรรม          จิตวิทยาอุตสาหกรรมเป็นสาขาวิชาทางจิตวิทยาที่มีการศึกษาครอบคลุมถึงการผลิตและการใช้สินค้า รวมทั้งการจัดบริการในการวงการเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และการจัดการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ โดยภาพรวมแล้วจะมุ่งศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ ของงานอุตสาหกรรมทุกประเภทและทุกระดับ ผลจากการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรมเหล่านี้ จะถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมกระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรมและนำไปใช้ประกอบการแก้ไขปัญหาของงานอุตสาหกรรมที่อาจต้องใช้ข้อมูลความรู้ของศาสตร์สาขาอื่นด้วย เช่น การแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านการสื่อสาร ด้านสถาปัตยกรรม ด้านการออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์นั้นจะต้องดำเนินการและเก็บข้อมูลไว้อย่างต่อเนื่อง เพราะสภาพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลาและเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเสมอ     

วิวัฒนาการของจิตวิทยาอุตสาหกรรมในประเทศไทย          สำหรับในประเทศไทย ทางด้านวิชาการได้เริ่มมีการสอนวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมขึ้น ในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เป็นครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.2507 ในระดับปริญญาตรีแต่ยังไม่ได้ให้นักศึกษาเรียนเป็นวิชาเอกโดยตรง ตำราวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมเล่มแรกของไทยเขียนขึ้นในปี พ.ศ.2511 โดยนายเด่นพงษ์ พลละคร ต่อมาก็ได้มีตำราจิตวิทยาอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอีกหลายเล่ม ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เปิดสอนสาขานี้โดยตรงในระดับปริญญาตรี สำหรับระดับปริญญาโท มีเปิดสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
           หนังสือจิตวิทยาอุตสาหกรรม ซึ่งนายเด่นพงษ์ พลละคร ได้เขียนขึ้นมานั้น นอกจากจะได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว ในวงการอุตสาหกรรม นักบริหารทางอุตสาหกรรมมีความตื่นตัวในการรับเอาเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ๆ ตลอดจนมองเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์มากยิ่งขึ้น จึงได้ให้ความสนใจและนำความรู้ในด้านนี้ไปใช้ในการบริหารงานในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น ปัจจุบันสังคมไทยกำลังพัฒนาไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม ดังนั้นความจำเป็นในการนำความรู้ทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร ไปใช้ในการจัดการทางอุตสาหกรรม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ
   

  สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร          ปัจจุบัน จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทำให้มีการแตกกิ่งก้านเป็นสาขาเฉพาะด้านต่างๆ ดังนี้          

จิตวิทยาบุคลากร (Personnel Psychology) เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้ ด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลมาประยุกต์ เพื่อใช้ในการคัดเลือก หรือกำหนดทักษะและความสามารถพิเศษของมนุษย์ให้เหมาะสมกับงานประเภทต่างๆ สนใจในการประเมินศักยภาพของลูกจ้าง การจัดอันดับผลงานของลูกจ้าง การฝึกอบรวมเพื่อพัฒนาการทำงานของคนงาน จิตวิทยาบุคลากรเป็นสาขาที่เก่าแก่ของจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร ที่สืบทอดมาช้านาน โดยเฉพาะในตอนต้นจิตวิทยาบุคลากรกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรแทบจะเป็นเรื่องเดียวกัน จนกระทั่งเมื่อนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร หันความสนใจไปยังเรื่องอื่นๆ จึงทำให้จิตวิทยาบุคลากรกลายมาเป็นเพียงสาขาหนึ่งของจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรในปัจจุบัน         

พฤติกรรมองค์กร (Oranizational Behaviour) เป็นสาขาใหม่ของจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร เกี่ยวข้องกับการศึกษาอิทธิพลขององค์กรที่มีต่อเจตคติและพฤติกรรมของบุคคลที่อยู่ในองค์กรนั้น หัวข้อที่สาขานี้ให้ความสนใจคือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับบทบาทและพฤติกรรม แรงกดดันของกลุ่มที่มีผลกระทบต่อบุคคล ความรู้สึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ตลอดจนกระบวนการสื่อสารภายในองค์กร เนื่องจากในองค์กรเป็นลักษณะของการรวมกลุ่มทางสังคม จึงมีการทำวิจัยพฤติกรรมในองค์กรที่เกี่ยวข้องอิทธิพลของสังคมแบบต่างๆ ถ้าจะเปรียบเทียบระหว่างจิตวิทยาบุคลากรกับพฤติกรรมองค์กรแล้ว จิตวิทยาบุคลากรจะเกี่ยวกับปัญหาระดับบุคคล แต่พฤติกรรมองค์กรจะเกี่ยวกับปัญหาระดับสังคมและอิทธิพลของกลุ่มมากกว่า สาขาพฤติกรรมองค์กรนี้เป็นสาขาที่วงการธุรกิจ และวิชาการด้านอื่นๆ นำมาศึกษาอยู่มากเช่นเดียวกัน         

จิตวิทยาวิศวกรรม (Engineering Psychology) เป็นสาขาที่สนใจด้านระบบการทำงานของคนกับเครื่องจักร หรือที่เรียกว่า “man-machine systems” ซึ่งจะต้องครอบคลุมในเรื่องของการออกแบบเครื่องมือเครื่องจักร เพื่อส่งเสริมผลผลิตและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของคนงาน การออกแบบเครื่องจักรกลต่างๆ นั้นจะต้องคำนึงถึงข้อจำกัดทางความแข็งแรงและความสามารถทางกายของมนุษย์ เช่น ความไวต่อการโต้ตอบ การประสานงานของระบบประสาทสัมผัส เป็นต้น นักจิตวิทยาวิศวกรรมจะต้องพยายามปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะกับความสามารถ และทักษะของมนุษย์ สาขานี้อาจมีชื่อเรียกอย่างอื่น เช่น Human factors Psychology และ Ergonomics เป็นต้น         

การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาชีพ (Vocational and Career Counseling) สาขานี้คาบเกี่ยวกันระหว่างสาขาการให้คำปรึกษา กับจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร ในขณะที่การให้คำปรึกษาใช้สำหรับบุคคลที่มีปัญหาในการปรับตัว การให้คำปรึกษาทางด้านอุตสาหกรรม ช่วยคนงานในการตัดสินใจเลือกสิ่งตอบแทนที่เป็นรางวัลหรือความพอใจในการทำงาน ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างความสนใจในงาน และไม่ใช่งาน การปรับตัวกับงานที่น่าสนใจ และการเตรียมตัวเมื่อถึงเวลาเกษียณ           นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรที่สนใจด้านการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาชีพก็จะทำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว         

การพัฒนาองค์กร (Organization Development) ในสาขานี้จะเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร จะต้องสามารถวินิจฉัยปัญหาขององค์การได้ สามารถให้คำแนะนำทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและประเมินประสิทธิภาพของการเปลี่ยนแปลงได้ การพัฒนาองค์กรจะเกี่ยวข้องกับการวางแผน วางจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อแก้ไขปัญหาบางประการ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกี่ยวกับคนและกระบวนการทำงานหรือเทคโนโลยี การพัฒนาองค์กรเป็นแขนงที่ใหม่ที่สุดของจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ         

อุตสาหกรรมสัมพันธ์ หรือแรงงานสัมพันธ์ (Industrial Relations or Labour Ralations) เป็นสาขาสุดท้ายของจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร จะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่าง นายจ้าง และลูกจ้าง โดยเฉพาะสหภาพแรงงาน นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรสนใจในแรงงานสัมพันธ์ เช่น ความร่วมมือ การขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนงาน การต่อรอง การตกลงยินยอมระหว่างส่วนต่างๆ ของแรงงาน นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมที่ทำงานด้านนี้จะต้องมีการติดต่อใกล้ชิดกับผู้ชำนาญด้านแรงงานสัมพันธ์ คือต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน สิทธิของลูกจ้าง และผลประโยชน์ของกลุ่ม เป็นต้น           จากสาขาต่างๆ ของจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร ที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่าจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร เป็นสาขาที่ต้องอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชาชีพและบทเรียนก็มักจะคาบเกี่ยวกัน เพราะเกี่ยวข้องกับคนและการทำงานนั่นเอง  

   บทบาทหน้าที่ ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมสำหรับบทบาทหน้าที่ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรอย่างกว้างๆ ซึ่งกำหนดไว้ในสาขาที่ 14 ของสมาคมนักจิตวิทยาอเมริกัน ในส่วนที่เรียกว่า The Psychologist in Industry เมื่อปี ค.ศ.1959 มีดังนี้         

          1. การคัดเลือกและการทดสอบ
          2. การพัฒนาการจัดการ
          3. การให้คำปรึกษา
          4. การจูงใจคนงาน
          5. วิศวกรรมมนุษย์
          6. การวิจัยตลาด
          7. การวิจัยด้านประชาสัมพันธ์
          

แต่ทิฟฟิน และแมคคอร์มิกค์ ได้อธิบายถึงหน้าที่และกิจกรรมต่าง ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรไว้ 4 ประการ คือ          

          1. การวิจัย
          2. การเป็นที่ปรึกษา
          3. การพัฒนาโปรแกรม
          4. การประเมินผลบุคคล
          

หน้าที่ทั้ง 4 ประการนี้ ถือว่าเป็นหน้าที่พื้นฐาน ส่วนหน้าที่อื่นก็มี เช่น การบริหาร โดยเฉพาะการบริหารงานบุคคล แต่ถ้าทำงานด้านนี้เราก็ไม่เรียกว่านักจิตวิทยา ถึงแม้จะนำภูมิหลังทางด้านจิตวิทยามาใช้ก็ตามรายละเอียดในหน้าที่หลัก 4 ประการ มีดังต่อไปนี้          

หน้าที่ในการวิจัย การวิจัยคือ การค้นหาข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์กับปัญหาต่างๆ ได้เช่น อาจจะวิจัยวิธีการฝึกอบรมชนิดหนึ่งว่า จะมีประสิทธิภาพต่อการฝึกอบรมคนงานในลักษณะงานใด หรือวิจัยถึงการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสนับสนุนและจูงในการทำงานของคนงาน เป็นต้น          

หน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษา นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรผู้ทำหน้าที่นี้มักจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านความถนัดในการทำงานของคน การจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม การฝึกอบรมด้านการจัดการ การให้คำปรึกษาแนะนำหรือทำงานร่วมกับวิศวกรออกแบบเครื่องจักรกล เช่น การให้คำปรึกษาว่ามนุษย์ควรทำอะไรได้บ้างในยานอวกาศ หรือจะทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัยขณะคุมเครื่องจักรทำงาน รวมทั้งการให้คำปรึกษาด้านโฆษณาสินค้าต่างๆ เป็นต้น          

หน้าที่ในการพัฒนาโปรแกรม ในบทบาทนี้ นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรจะทำหน้าที่ช่วยดำเนินการ และจัดการเกี่ยวกับโปรแกรมต่างๆ เช่น โปรแกรมการทดสอบบุคลากร โปรแกรมการฝึกอบรม โปรแกรมการประเมินผลคนงาน โดยอาศัยความรู้เทคนิคและวิธีการต่างๆ ทางด้านจิตวิทยา เช่นกระบวนการกลุ่มและมนุษยสัมพันธ์ เป็นต้น          

หน้าที่ในการประเมินผลบุคคล นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรจะต้องทำหน้าที่ให้บริการทางการประเมินผลแก่บุคคลตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันของโรงงานหรือองค์กรนั้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการประเมินผลมักจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเรื่องการว่าจ้างคนงาน การเลื่อนตำแหน่ง หรือค่าจ้างให้สูงขึ้นหรือเกี่ยวกับงานการบริหารบุคลากร บางครั้งอาจเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาหารือแก่แต่ละบุคคลโดยเฉพาะก็ได้ เทคนิคที่ใช้ในการประเมินผลได้แก่ การสัมภาษณ์ และการทดสอบ          

นอกจากหน้าที่หลัก 4 ประการดังกล่าวแล้ว นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรยังมีกิจกรรมปลีกย่อยที่ต้องกระทำตลอดเวลา เช่น การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบ การดำเนินการสอบและการให้คะแนน การแปรผล และการประเมินผล การสัมภาษณ์บุคคลเพื่อรวบรวมข้อมูลการวิจัย ซึ่งอาจจะเป็นโครงการศึกษาวิจัยหรือโครงการเกี่ยวกับโปรแกรมต่างๆ ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะแก่บุคลากรทางด้านการจัดการ ได้แก่ หัวหน้างาน วิศวกรและผู้อื่นเกี่ยวกับการตัดสินหรือการดำเนินงานซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับคุณลักษณะของมนุษย์ เช่น ทางด้านการคัดเลือกบุคลากร การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน การออกแบบเครื่องมือ ความสัมพันธ์กับคนงานและการดำเนินการโฆษณา เป็นต้น

บทสรุป
          จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติพฤติกรรมของบุคคล ช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจสาเหตุแห่งพฤติกรรม ทำนายแนวโน้มของพฤติกรรมและสร้างสิ่งเร้าเพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคล เดิมเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ต่อมาจัดเป็นวิทยาศาสตร์เนื่องจากใช้วิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติพฤติกรรม จิตวิทยาประกอบไปด้วยหลายสาขา สำหรับจิตวิทยาอุตสาหกรรม จัดเป็นส่วนหนึ่งของสาขาจิตวิทยาประยุกต์ ให้ความรู้ในเรื่องพฤติกรรมเชิงอุตสาหกรรม ทั้งพฤติกรรมเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย การให้บริการ รวมไปถึงพฤติกรรมในการบริหารงานอุตสาหกรรม การจัดการงานบุคคล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงอุตสาหกรรม จัดเป็นศาสตร์ที่ช่วยส่งเสริมการดำเนินงานอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ ลดโอกาสของความล้มเหลวและช่วยให้งานอุตสาหกรรมดำเนินไปได้โยราบรื่นในบรรยากาศของความสุข พอใจร่วมกันทั้งฝ่ายผู้บริหาร พนักงาน และผู้ใช้บริการ ทั้งยังเป็นแนวทางให้ผู้ดำเนินงานอุตสาหกรรมได้ดำเนินชีวิตส่วนตัวอย่างเหมาะสม อันเป็นปัจจัยสนับสนุนประสิทธิภาพของการทำงานได้เป็นอย่างดี
 

 

หมายเลขบันทึก: 117640เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ยินดีที่รู้จักเช่นกันครับ  ที่ ม.ราม ป.โท จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ  ก็เป็นวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (มีทั้งป.ตรีและป.โท ครับ)

ผมเองก็เรียนป.ตรี HR  ป.โท IO ผสมผสานกันได้ลงตัวเลยครับ สนุกกับการเรียนมากๆเลยครับ โดยเฉพาะวิชาที่เกี่ยวกับ Organizational Development (OD) อันนี้สุดยอดเลยครับ เพราะได้วิทยากรจากปูนซีเมนต์ไทย มาสอน ได้ความรู้เยอะเลยครับ

ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ  

หวัดดีครับ

แต่ทำไม IO ป.โท จุฬา เป็นศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต งง

รบกวนผู้รู้ช่วยอธิบายหน่อยครับ

IO ป.โท ธรรมศาสตร์ ก็เป็นศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต เหมือนกันครับ

จ.ส.อ.ไพรบูรณ์ ชายสวัสดิ์

อยากจะเรียนเหมือนกัน (IO)เพราะกำลังศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์อนาคตพอดี แต่ไม่มีทุน

กำลังสนใจสาขานี้อยู่เหมือนกัน เพราะตัวเองทำงานมา 10 ปีในสายทีต้องใช้การจูงใจคน แต่บอกตรงๆว่าถ้าจะเรียนปริญญาโทอยากให้เป็นอะไรที่เราอยากรู้จริงๆ ไม่ใช่เรียนตามแสแล้วรู้สึกไม่ชอบตอนเรียน เลยอยากได้คำปรึกษาจากผู้ที่จบสาขานี้(ป.โท) มากๆว่า เรียอย่างไร การเรียนการสอน และการสอบหนักไปอย่างไร เพราะคงต้องทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยแน่ คงไม่ได้ออกไปเรียนภาคปกติ ดังนั้นมีที่ไหนเปิดสอนภาคพิเศษบ้าง

โดยส่วนตัวกำลังมองไว้ที่ เกษตรศาสตร์ หรือไม่ก็ที่จุฬา

ขออนุญาตประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมนะคะ ตามที่ทาง โครงการปริญญาโท สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่

เพื่อสอบเข้าหลักสูตรปริญญาโท สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การประจำปี 2553 ไปแล้วนั้น

ขณะนี้ทางกลุ่มนักศึกษาปริญญาโทสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การรุ่นที่ 19 จึงได้ร่วมกันจัดงาน

"แนะนำหลักสูตรปริญญาโท สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ( MIOP Open House ) และแนะนำการสอบเข้า"

ขึ้นในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ระหว่างเวลา 08.30 - 16.00 น. เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่สนใจจะเข้ามาศึกษาต่อในสาขานี้

ได้เกิดความรู้ความเข้าใจในสาขาวิชาชีพนี้ดียิ่งขึ้น

ทางกลุ่มนักศึกษาฯ จึงใคร่ขอประชาสัมพันธ์มูลข่าวสารและหากมีข้อสงสัยๆใดๆ สามารถโทรสอบถามได้ทันทีที่หมายเลขโทรศัพท์ 086-5434-920 หรือ 086-5443-962, email [email protected]

งานนี้ไม่เสียค่าใช่จ่ายใดๆทั้งสิ้น

สวัสดีรุ่นพี่คะ ปูIO12 รามคำแหง ได้ยินชื่อพี่มานานแล้ว ดีใจที่ได้เจอในนี้คะ

ขออนุญาตแนะนำค่ะ สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มีเปิดที่ มจพ.ด้วยนะคะ

เปิดการเรียนการเรียนการสอน หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ตั้งแต่ปี 2546

และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ตั้งแต่ปี 2551

ขณะนี้กำลังเปิดรับสมัครผู้สนใจเรียนต่อ ปริญญาโท และ ปริญญาเอก อยู่ค่ะ

*****************************************************************************************

?? สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

รับสมัคร นักศึกษาปริญญาโท – เอก ภาคการศึกษา 1-2560

***เปิดเทอม 9 สิงหาคม 2560

ปริญญาโท ศศ.ม. (จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ) ภาคพิเศษ เรียนเสาร์ อาทิตย์

ปริญญาโท ศศ.ม. (จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ) ภาคปกติ เรียนในเวลาราชการ

ปริญญาเอก ปร.ด (จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ) ภาคพิเศษ เรียนเสาร์ อาทิตย์

***รับสมัคร

รอบที่ 1 วันที่ 2 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2560

รอบที่ 2 วันที่ 1 มีนาคม - 30 เมษายน 2560

รอบที่ 3 วันที่ 1 พฤษภาคม - 19 มิถุนายน 2560

***สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

โทร 02-555-2000 ต่อ 2405, 2407, 2408 บัณฑิตวิทยาลัย

คลิ๊กลิงค์ ระเบียบการและการสมัครออนไลน์

http://grad.admission.kmutnb.ac.th/Apply/ApplyLogin.aspx

http://www.grad.kmutnb.ac.th/

โทร. 099-154-2619, 089-034-2787, อาจารย์ประจำหลักสูตร

https://www.facebook.com/pages/จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ-มเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท