การปรับแต่ง PostNuke หลังการติดตั้ง


การปรับแต่ง PostNuke หลังการติดตั้ง
การปรับแต่ง PostNuke หลังการติดตั้ง

Articles / Documents
Date: Nov 21, 2003 - 06:41 PM

ในการใช้งานโปรแกรม PostNuke จัดการบริหารเนื้อหาบนเว็บไซต์ไซต์นั้นผู้ใช้ต้องเรียนรู้วิธีการปรับแต่งโปรแกรมก่อนโดยในการ ปรับแต่งนั้นมีขั้นตอนอยู่หลายขั้นตอนด้วยกันโดยในบทนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการปรับแต่งการใช้งานโปรแกรม PostNuke

สำหรับการปรับแต่งโปรแกรม PostNuke นั้นผู้ที่สามารถเข้าไปจัดการได้ต้องมีสิทธิเป็น Admin เท่านั้น โดยผู้ใช้งานต้องทำการล็อกอินเข้าไปก่อนโดยมีขั้นตอนดังนี้

การล็อกอินเข้าระบบด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน Admin
1. Login เข้าระบบด้วยชื่อ User ที่ใส่ตอนติดตั้ง( ผู้ใช้ที่มีสิทธิเป็น Admin)


2. หาก Login กับ Password ถูกต้องด้านซ้ายมือที่ Main Menu จะมีส่วนของ Admin เพิ่มขึ้นมาดังรูป


รูปแสดงรายการเมนูสำหรับผู้ดูแลระบบ PostNuke
3. ให้ทำการเปลี่ยน Language เป็น Thai (มุมซ้ายล่าง) เสร็จแล้วคลิกที่ Administration

รูปแสดงการเลือกภาษา
4. โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างเมนูผู้ควบคุมระบบดังรูป

รูปแสดงหน้าต่าง Administration

---------------------------------------------------------------------------
การเริ่มสร้างเว็บสำเร็จรูปด้วย PostNuke
ขั้นตอน
1. Login เข้าระบบด้วย User / Password ที่มีสิทธิเป็น Admin
2. ระบบจะแสดงเมนูขึ้นมา 3 เมนูคือ
เมนู My Account ใช้สำหรับปรับตั้งค่าส่วนตัว

รูปแสดงรายการเมนูสำหรับปรับแต่งค่าส่วนตัว
มีรายละเอียเต่างๆ ดังนี้
ข้อมูลหน้าแรก (Change Homepage) ใช้ในการเพิ่มรายการเมนูส่วนตัวของผู้ดูแลระบบโดยเมื่อทำการล็อกอินเข้ามาแล้วจะเห็นรายการเมนูนี้เพียงผู้เดียว

รูปแสดงรายการเมนูส่วนตัว
ข้อมูลท่าน (Change your info) ใช้ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อมูลส่วนตัว

รูปแสดงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดส่วนตัว
เลือกฉากโปรแกรม (Select Theme) ใช้สำหรับเลือกรูปแบบฉากหลักโปรแกมสำหรับ Account ที่เป็น Admin

รูปแสดงการเลือกฉากหลัง (Theme)
ข้อมูลความเห็น (Comments Setup) ใช้ในการปรับตั้งค่าระบบออกความเห็นต่างๆ

รูปแสดงหน้าต่างสำหรับการปรับตั้งค่าระบบออกความเห็น
ออกจากระบบ/เลิกโปรแกรม (Logout/exit) ใช้สำหรับล็อกเอาต์ออกจากระบบจากชื่อผู้ใช้ปัจจุบัน
เมนู Administrator ใช้สำหรับปรับแต่รายละเอียดต่างๆ ของหน้าเว็บไซต์

รูปแสดงเมนูผู้ควบคุมระบบ

----------------------------------------------------------------
เทคนิคต่างๆ ในการบริหารเนื้อหาบนเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม PostNuke
ในการจัดการต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์ของโปรแกรม PostNuke นั้น ผู้ดูแลเว็บไซต์สามารถทำได้โดยการล็อกอินเข้าระบบก่อน หากล็อกอินเข้า ระบบได้แล้วให้คลิกที่ Administration จะมีรายการปุ่มรายการต่างๆ ดังนี้


Add Story ใช้ในการเพิ่มบทความ/เรื่อง

รูปแสดงหน้าต่างสำหรับเพิ่มบทความเรื่อง

ในการใช้งานผู้ใช้สามารถพิมพ์รูปแบบของข้อความได้สองแบบ แบบแรกเป็นข้อความธรรมดา (Plan Old Text) ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อมูลต่างๆ เข้าไปในกรอบข้อความเรื่อง (Story Text) แบบที่สองคือ แบบฝังแท็ก HTML ร่วมกับข้อความ (HTML formatted) โดยผู้ใช้สามารถตั้งเวลาในการแสดงเรื่องแต่ละเรื่องได้




Admin Messageใช้ในการแสดงข้อความแนะนำเว็บไซต์หน้าแรก

รูปแสดงการเพิ่มรายการ Admin Message
สำหรับรายการ Admin Message ส่วนมากใช้ในการแสดงข้อความแนะนำเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ให้ผู้ใช้ได้เห็นว่าเว็บไซต์มี เหตุการณ์อะไรใหม่ๆ บ้าง

รูปแสดงข้อความแนะนำเว็บไซต์ ส่วนของ Admin Message

Banners ระบบจัดการแถบโฆษณา

เป็นคำสั่งในการจัดการต่างๆเกี่ยวกับแถบโฆษณา

รูปแสดงหน้าต่างสำหรับเปลี่ยนแปลงรายการ Banner
ผู้ดูแลเว็บไซต์สามารถใส่รายละเอียดเกี่ยวกับแถบโฆษณาและชื่อผู้ติดต่อได้ตามต้งการ


Blocks ใช้ในการเพิ่ม-ยกเลิก โปรแกรมประกอบ (Block)


รูปแสดงรายชื่อโปรแกรมประกอบ (Block)
สำหรับในส่วนของ Block ส่วนมากใช้ในการทำเมนูต่างๆ โดยผู้ใช้สามารถเลือกสร้างเมนูส่วนตัวขึ้นมาได้ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะนำเมนู ที่สร้างไปวางไว้ด้านซ้ายหรือด้านขวามือ
วิธีการสร้าง Block
1. คลิกที่โปรแกรมใหม่
2. พิมพ์ชื่อเมนู / ตำแหน่งการวาง / ภาษา / รายละเอียดภายในเมนู ตามต้องการ
3. เสร็จแล้วคลิกตกลง
4. จะได้เมนูใหม่อยู่ด้านซ้ายมือด้านบน

รูปแสดงการเพิ่มเมนูใหม่
รูปแสดงเมนูที่ทำการสร้างมาใหม่

ในการใช้งานจริงผู้กาช้สามารถเลื่อนเมนูขึ้นบน-ลงล่างได้ตามต้องการ หรือหากต้องการวางรูปภาพหน้าเมนู หรือใส่จุดลิ้งให้เมนู ผู้ใช้เพียงแค่เขียนคำสั่งภาษา HTML ร่วมกับข้อความที่ต้องการ

** สามารถดูรายละเอียดการใช้งานคำสั่ง HTML พื้นฐานที่ทางทีมงานจัดทำ


Comments ใช้ในการตั้งค่าระบบในการออกความคิดเห็น

ใช้ในการกำกับดูแลคำวิจารณ์ต่างๆ ว่าต้องการให้ใครดูแล รวมทั้งจะยอมให้ผู้ใช้แก้ไขคำวิจารณ์ได้หรือไม่


รูปแสดงการตั้งค่าระบบออกความเห็น

Downloads ใช้ในการตั้งค่าต่างๆ ในการดาวน์โหลดข้อมูล

ผู้ใช้สามารถใส่ประเภท/ชนิด โปรแกรมที่ต้องการบริการให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดได้ตามต้องการ


รูปแสดงหน้าต่างไว้สำหรับเพิ่มรายละเอียดการดาวน์โหลด

รูปแสดงรายการดาวน์โหลดที่สร้างเสร็จแล้ว


Ephemerids ใช้ในการเพิ่มเหตุการณ์ในอดีต

ใช้สำหรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เคยผ่านมาแล้วในอดีต เพื่อบันทึกเก็บเป็นข้อมูลไว้ตรวจสอบภายหลัง



รูปแสดงการใส่รายละเอียดเหตุการณ์สำคัญต่างๆ


FAQ ใช้ในการใส่คำถาม-คำตอบที่ผู้ใช้ถามบ่อยๆ

ปกติในการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาสักเว็บไซต์หนึ่งนั้นไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์องค์กร หรือเว็บไซต์ส่วนตัว ย่อมมีคำถามที่ผู้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์มัก ถามอยู่เสมออย่างเช่น ใช้เครื่องมือตัวใดทำ มีทีมทำกี่คน บริการฟรีไหม และอื่นๆ อีกจิปาถะ ซึ่งเราในฐานะผู้ดูแลเว็บต้องมานั่งตอบคำถาม เหล่านั้นซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เสียเวลาพอสมควร เราสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้โดยการรวมคำถามและคำตอบที่ผู้ใช้ถามบ่อยๆ ได้ไว้ในส่วนของ FAQ



รูปแสดงการเพิ่มหัวข้อประเภทคำถามที่ถูกถามบ่อย

รูปแสดงการใส่คำถาม-คำตอบที่มีผู้ถามบ่อยๆ

รูปแสดงเมื่อคลิกรายการ FAQ


Group ระบบจัดการกลุ่มผู้ใช้

ในการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์นั้นปกติก็มีผู้ทำอยู่เพียงผู้เดียว แต่หากเป็นเว็บไซต์ขององค์กรหรือบริษัทใหญ่ๆ จะมีการแบ่งทีมทำและพัฒนาเว็บไซต์อย่างชัดเจน โดยสามารถแบ่งทีมพัฒนาเว็บไซต์ได้ดังบล็อกไดอะแกรมด้านล่าง

ทีมพัฒนาเว็บไซต์
Web Master / Web Programmer / Web Designer / Web Content โดยแต่ละคนมีหน้าที่ดังนี้
Web Master เป็นผู้ดูแลและบริหารเว็บไซต์ทั้งหมด
> Web Designer เป็นผู้ออกแบบหน้าตาเว็บไซต์
> Web Programmer เป็นผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ไว้ใช้งานบนเว็บไซต์ > Web Content เป็นผู้ดูแลด้านเนื้อหาต่างๆ ทำหน้าที่อับเดทข้อมูลข่าวสาร

รูปนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นนะครับ อาจมีตำแหน่งอื่นขึ้นมาอีก เช่น กรณีเป็นเว็บ E-Commerce ก็จะมี Web Marketing เพิ่ม ขึ้นมาอีกตำแหน่งหนึ่ง โดยในการทำงานจริงๆ แต่ละคนมีสิทธิในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่เท่ากัน ซึ่งในตัว PostNuke เองก็สามารถ กำหนดได้ว่าใครทำหน้าที่อะไรโดยการคลิกที่รายการ กลุ่ม (Group)



รูปแสดงเมื่อคลิกที่ กลุ่ม (Group)
หากต้องการเพิ่มชื่อกลุ่มให้คลิกที่ เพิ่มกลุ่ม (Add Group) เสร็จแล้วพิมพ์ชื่อกลุ่มที่ต้องการ เช่น Staff

รูปแสดงการเพิ่มชื่อกลุ่มเข้าไปในระบบ


Language ใช้ในการเลือกภาษาที่ต้องการทำงาน

ในโปรแกรม PostNuke เองผู้ใช้สามารถเลือกระบบภาษาที่ใช้ในการทำงานได้ ในที่นี้สามารถเลือกได้สองภาษาคือภาษาอังกฤษและภาษาไทย


ในที่นี้ไม่ขอกล่าวถึงเพราะสามารถใช้งานได้ดีอยู่แล้วผู้ใช้เพียงคลิกเลือกภาษาที่ต้องการใช้งานเท่านั้น

รูปแสดงระบบภาษาที่ต้องการทำงาน


Mail User ใช้ในการส่งเมล์ถึงผู้ใช้

ในการที่จะส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ไปถึงสมาชิก ผู้ดูแลเว็บไซต์สามารถที่จะส่งเมล์ถึงผู้ใช้ได้โดยสามารถส่งเป็นรายบุคคลหรือส่งไปถึง สมาชิกทุกคนได้ผ่านหน้าเมล์ฟอร์มในโปรแกรม PostNuke ได้


รูปแสดงกรอบหน้าต่างไว้สำหรับส่งเมล์ถึงผู้ใช้


Module ใช้ในการเพิ่มเติมและจัดการโปรแกรมอิสระ เช่น Forum , Guestbook, ChatRoom, Gallery
สำหรับในเรื่องของ Module จะกล่าวอีกครั้งเรื่องการใช้งาน Module

รูปแสดงรายชื่อโมดูลที่มีในระบบ


Permission ใช้สำหรับจัดการสิทธิของผู้ใช้

ในกรณีที่เรามีทีมทำเว็บไซต์หลายคน เราสามารถที่จะจัดการบริหารเว็บไซต์ได้ผ่านรายการ Permission โดยเราสามารถกำหนดได้ว่าให้ใครมีสิทธิอะไรบ้าง



รูปแสดงรายระบบการอนุมัติ (Permission)
หากเราต้องการสร้างสิทธิของผู้ใช้ใหม่สามารถทำได้ดังนี้
1 คลิกเลือกรายการ ตั้งค่าอนุมัติใหม่สำหรับกลุ่ม
2 คลิกเลือกกลุ่มที่ต้องการเช่น Staff
3 ใส่รายละเอียดองค์ประกอบ เช่น
> .* ใช้ได้ทุกองค์ประกอบ
> Menublock:: จัดการ Block ได้
4 ใส่รายละเอียดขั้นตอนการทำงาน
> .* ใช้งานรายละเอียดทั้งหมดได้
> Main Menu:Administration: ปรับแต่งเมนู และเข้าหน้า Admin ได้
5 ระดับการอัตโนมัติ เราสามารถเลือกได้ว่าให้ผู้ใช้ในกลุ่ม Staff ทำอะไรได้บ้าง เช่น หากต้องการให้ทำได้ทุกอย่างก็เลือก ระบบจัดการ

รูปแสดงการตั้งค่าระบบอนุมัติใหม่สำหรับกลุ่ม


Polls ใช้ในการจัดการแบบสำรวจ (Poll)

หากเราต้องการสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้งานเว็บไซต์ว่าข้อมูลแต่ละชนิดตัวใดที่สนใจมากที่สุด ทางเลือกวิธีหนึ่งก็คือการทำแบบ แบบสอบถามหรือ Poll โดยในตัว Postnuke ได้เตรียมโมดูลเกี่ยวกับการทำแบบสอบถามให้เรียบร้อยแล้วโดยผู้ดูแลระบบเพียงเข้าไปแก้ราย ละเอียดตามต้องการ โดยที่เราสามารถแยกแบบสอบถามเป็นเรื่องๆ ได้


รูปแสดงแบบฟอร์มให้เราระบุรายละเอียดแบบสอบถาม
แต่หากเราต้องการแก้แบบสอบถามตัวเก่าก็สามารถทำได้โดยคลิกที่แก้ไขเรื่องสำรวจ เสร็จแล้วก็ป้อนรายละเอียดแบบสอบถามที่ต้องการ

รูปแสดงแบบสอบถามที่สร้างเสร็จแล้ว


Quotes
ใช้ในการเพิ่มประโยคพูด-และประโยคพูด



HTTP Referer HTTP ที่ส่งผู้ชมเข้ามา

ในการเข้าชมเว็บไซต์ของผู้เข้าชมแต่ละครั้งเราสามารถที่จะทราบสิติได้ว่า ผู้ชมเข้ามายังเว็บเราผ่านมาทาง URL อะไร ความถี่ในการเข้าใช้งานกี่ครั้งแล้ว รวมทั้งมีการเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็น โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ดูแลเว็บไซต์วิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้รายนั้นได้ว่าเขาสนใจเรื่องใดมากที่สุด โดยเราสามารถตรวจสอบได้ที่ อ้างอิง (HTTP Referer)




รูปแสดงรายละเอียดระบบอ้างอิงการเข้าใช้งานของผู้ใช้ (HTTP Referer)

Reviews ใช้ในการจัดการบทวิจารณ์

หากเราต้องการใส่ข้อมูลเกี่ยวกับคำวิจารณ์ หรือประชาวิจารณ์ต่างๆ ในเว็บไซต์ก็สามารถทำได้ โดยในโปรแกรม Postnuke ได้เตรียมโมดูลในการจัดการคำวิจารณ์ชื่อว่า Reviews




รูปแสดงการใส่รายละเอียดคำวิจารณ์ (Reviews)

ขั้นตอนการเขียนคำวิจารณ์
1. คลิกที่รายการ บทวิจารณ์ (Reviews)
2. ระบุหัวข้อคำขึ้นต้นบทวิจารณ์ และรายละเอียดบทวิจารณ์
3. คลิกปุ่มบันทึกการเปลี่ยนแปลง
4. คลิกที่ กดที่นี่เพื่อเขียนบทวิจารณ์ หรือเมนู Reviews ด้านซ้ายมือ

รูปแสดงหน้าต่างสำหรับแสดงและเขียนบทวิจารณ์
5. คลิกที่รายการ เขียนบทวิจารณ์ด้านบน
6. ระบุรายละเอียดต่างๆ ตามต้องการ

รูปแสดงการกรอกรายละเอียดบทวิจารณ์

6. เสร็จแล้วคลิก ทดสอบแสดงผลบนจอภาพ และตกลง ตามลำดับ

รูปแสดงบทวิจารย์ที่สร้างเสร็จแล้ว

Section ระบบจัดการหัวข้อบทความพิเศษ

หากเราต้องการที่จะสร้างบทความพิเศษหรือบทความเด่นๆ ก็สามารถทำได้โดยคลิกที่ บทความพิเศษ (Section)


รูปแสดงหน้าต่างสำหรับจัดการหัวข้อบทความพิเศษ
ขั้นตอนการเพิ่มบทความพิเศษ (Section)
1. คลิกรายการ บทความพิเศษ (Section)
2. พิมพ์ชื่อหัวข้อ และใส่ชื่อภาพหัวข้อ (สำหรับชื่อภาพให้เราหามาจากแหล่งภายนอกหรือสร้างเองก็ได้เสร็จแล้วคัดลอกนำไปไว้ในโฟลเดอร์ images/sections เวลาในการอ้างอิงรูปให้ใส่เฉพาะชื่อรูปเท่านั้น)

รูปแสดงการเพิ่มหัวข้อบทความพิเศษ
3. คลิก เพิ่มหัวข้อในบทความพิเศษ
4. ใส่รายละเอียดตามต้องการ
5. เสร็จแล้วคลิกที่ เพิ่มบทความใหม่

รูปแสดงการเพิ่มหัวข้อบทความใหม่
6. สามารถตรวจสอบบทความพิเศษได้โดยคลิกที่รายการ Section ที่เมนูด้านซ้าย

รูปแสดงบทความพิเศษที่สร้างเสร็จแล้ว


Setting ใช้ในการปรับแต่งค่าต่างๆ ของ PostNuke

Setting เป็นทางเข้าในการปรัปแต่งโปรแกรม PostNuke โดยเราสามารถปรับแต่งสภาพแวดล้อมต่างๆ ของหน้าเว็บไซต์ผ่านรายการนี้ ตัวอย่างที่สามารถปรับแต่งได้เช่น ชื่อเว็บไซต์ โลโก้ประจำเว็บ คีย์เวิร์ด ฉากหลังประจำโปรแกรม โมดูลที่แสดงหน้าแรก ข้อมูลส่วนท้าย คำสั่ง HTML ที่ต้องการเปิดใช้ เป็นต้น




รูปแสดงรายการต่างๆ ใน Setting

รูปแสดงการสั่งเปิด – ปิด แท็ก HTML ผ่านรายการ Setting


Submit News ใช้ในการเซ็ตการติดตั้งระบบส่งข่าว

กรณีที่ผู้ใช้ส่งข่าวหรือบทความผ่านทางหน้าเว็บ เราสามารถตั้งให้โปรแกรมแจ้งรายละเอียดให้ผู้ดูแลเว็บหรือผู้ที่เราต้องการส่งเมล์ให้ได้ผ่านทาง ติดตั้งระบบส่งข่าว (Submit News)




รูปแสดงการปรับแต่งระบบส่งข่าว


Topics ใช้ในการจัดการหัวข้อ

ในการเขียนบทความและข่าวต่างๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือหัวข้อบทความ/หัวข้อข่าว โดยปกติโปรแกรม Postnuke ได้เตรียมไว้ให้สองหัวข้อคือ PostNuke และ Linux หากผู้ดูแลเว็บต้องการเพิ่มหัวข้อเพิ่มเติมได้


ขั้นตอน
1. คลิกที่ หัวข้อ (Topics)
2. พิมพ์ชื่อหัวข้อ หัวข้อเรื่อง และภาพหัวข้อ (หากต้องการภาพอื่นให้หารูปภาพหรือทำการสร้างรูปภาพเอง แล้วทำการคัดลอกไปไว้ในห้อง images/topics)
3. คลิกที่ปุ่ม เพิ่มหัวข้อ
แสดงชื่อหัวข้อที่เพิ่มเสร็จแล้ว



รูปแสดงชื่อหัวข้อที่เพิ่มเสร็จแล้ว


Top List ติดตั้งระบบนับความนิยม

ในกรณีที่ต้องตรวจสอบว่าข่าวหรือบทความที่มีบนเว็บนั้น หัวข้อใดที่มีผู้นิยมอ่านมากที่สุด ผู้ดูแลเว็บสามารถระบุจะนวนตัวเลข ในการนับ ความนิยมได้ ผ่านรายการ Top list




รูปแสดงการติดตั้งระบบนับความนิยม


Users ระบบจัดการบัญชีสมาชิก

ในการทำเว็บไซต์นั้น กรณีที่มีทีมทำหลายคนโดยการแบ่งเป็นฝ่ายๆ ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง
คำถาม

บริษัท ABC จำกัด ต้องการสร้างเว็บไซต์ใหม่ โดยมีการแบ่งหน้าที่กันทำเป็นฝ่ายๆ ดังนี้ ฝ่ายบุคคล มีหน้าที่ในการจัดการรายละเอียดประวัติ พนักงาน ฝ่ายการตลาดมีหน้าที่ส่งโปรโมชั่นใหม่ๆ ฝ่าย Support มีหน้าที่บริการลูกค้า ฝ่ายวิชาการมีหน้าที่ส่งบทความและข่าวใหม่ๆ เรา ในฐานนะผู้ดูแลเว็บไซต์ (Web Master) จะมีแนวทางการทำอย่างไร


ตอบ

ในฐานะผู้ดูแลเว็บไซต์อันดับแรกเลยต้องมีการสร้างกลุ่มผู้ใช้ก่อน (Add Group) โดยการแยกผู้ใช้เป็นฝ่ายๆ หลังจากนั้นก็เพิ่มเติมผู้ใช้ ผ่านรายการ User และท้ายสุดก็นำผู้ใช้แต่ละฝ่ายเพิ่มเข้ากลุ่มพร้อมกับกำหนดสิทธิ (Permission) ของผู้ใช้ว่าให้สิทธิในการทำงานระดับใด


ขั้นตอนเพิ่มเติมผู้ใช้
1. คลิกที่รายการ User
2. ระบุชื่อผู้ใช้ อีเมล์ และรหัสผ่าน
3. คลิกปุ่ม เพิ่มชื่อสมาชิก
4. คลิกที่ เพิ่มชื่อสมาชิก
5. กรณีที่เราต้องการกำหนดหนดรายละเอียดสมาชิก เช่นอายุในการสมัครสมาชิก ความยาวของรหัสผ่าน สามารถคลิกที่ คำเฉพาะของสมาชิก
6. หน้าต่างสำหรับปรับแต่งคำเฉพาะสมาชิก
7. สำหรับการเพิ่มกลุ่มและเปลี่ยนสิทธิผู้ใช้ให้ย้อนกลับไปดูรายการคำสั่งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้

รูปแสดงการเพิ่มผู้ใช้เข้าไปในระบบ


Links ใช้ในการจัดการหน้าเพจ Link

ปกติหากเราต้องการค้นหาสิ่งใดเราจะใช้งานผ่านบริการ Search Engine อย่างเช่นเว็บ www.google.co.th, www.yahoo.com เป็นต้น เช่น เดียวกันหากเราต้องการบริการผู้เข้าใช้งานเว็บลักษณะ Search Engine ก็สามารถทำได้โดยผ่านรายการ Web Links โดยผู้ใช้สามารถสืบค้น ผ่านหน้าเว็บไซต์ได้ โดยการพิมพ์ที่ช่องค้นหา (Search)

ขั้นตอนการเพิ่มชื่อเว็บไซต์
1. คลิกที่รายการ Web Link
2. พิมพ์ประเภทลิงค์ รายละเอียด
3. คลิกปุ่ม เพิ่ม
4. กรณีที่เราต้องการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์เข้ากลุ่ม ก็เลื่อนลงมาที่เพิ่มเว็บ
5. พิมพ์รายละเอียดเว็บไซต์ที่ต้องการ
6. คลิกปุ่ม เพิ่ม URL
7. ทดสอบลองคลิกที่เมนู Web Links ด้านซ้ายมือ ระบบจะแสดงรายการลิงค์ที่เพิ่มเข้าไป



-------------------------------------


This article comes from CMSThailand.com
http://www.cmsthailand.com/web45-47/

The URL for this story is:
http://www.cmsthailand.com/web45-47/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=9
คำสำคัญ (Tags): #cms#post nuke
หมายเลขบันทึก: 117560เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท