ไปเยี่ยมเยียนอาจารย์บุญเรือง


ปัจจุบันได้ปล่อยปลากินพืชลงไปในบ่อเลี้ยงปลา

โทรศัพท์จากอาจารย์บุญเรือง

  

                เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ผมได้รับโทรศัพท์จากอาจารย์บุญเรือง ขุนศรีสุขขา  ให้ไปเยี่ยมแวะหาเพราะว่าพืชผักสวนครัวปลอดภัยจากสารพิษกำลังออกมาก อยากให้ไปพูดคุยประสาคนที่เคารพนับถือกันมานาน   ประวัติโดยย่อของอาจารย์บุญเรือง นั้นผมได้เขียนลงในบล็อกแรกของผม ซึ่งมีผู้อ่านหลายท่านได้เข้ามาอ่านและให้กำลังใจตั้งแต่แรกเลยทีเดียว

 

 

                ช่วงเวลาหลังเลิกงานราชการ ผมรีบขับรถยนต์คู่ชีพ มุ่งตรงไปหาอาจารย์บุญเรืองที่บ้านห้วยน้อย หมู่ที่4 ตำบลมหาชัย อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งระยะทางประมาณ 40 กม. ทันที่ที่ไปถึงบ้านอาจารย์บุญเรืองมีอาจารย์บุญเรืองและภรรยา (ป้าเตียง)มาให้การต้อนรับ  จากนั้นอาจารย์บุญเรืองก็ได้นำเสนอเรื่องเล่าว่าการทำกิจกรรมของเขานั้น ปัจจุบันได้ปล่อยปลากินพืชลงไปในบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งปล่อยไปแล้วประมาณ 1 เดือนเศษแล้ว ซึ่งพันธุ์ปลาได้ไปติดต่อขอรับที่สถานีประมงน้ำจืดกำแพงเพชรมาปล่อย จากนั้นได้ติดหลอดไฟเพื่อล่อแมลงศัตรูพืชบินไปเล่นไฟแล้วตกลงไปที่บ่อปลา ซึ่งเป็นอาหารของปลาไปในที่สุด บริเวณใกล้บ่อปลานั้นได้ปลูกข้าวไว้บริโภคในครอบครัวและยังเหลือผลผลิตข้าวไว้เลี้ยงไก่พื้นบ้านอีกด้วย

                  บริเวณรอบฯบ้าน ได้ปลูกผักสวนครัวผักพื้นบ้านประกอบไปด้วย บวบงู  บวบเหลี่ยม   แฝง  พันงู ตำลึง มะระพื้นเมือง พริกขี้หนู ฟักทอง  นอกจากนี้ยังได้ทดลองปลูก แก้วมังกร สำหรับแก้วมังกรนั้นอาจารย์บุญเรืองมีประสบการณ์คือต้องใช้ตาข่ายพรางแสงแดด  เพื่อ ลดความร้อน

                                   ไม้ผลที่ปลูกไว้คือมะม่วง   ลำไย  น้อยหน่า ส่วนรายได้ที่ได้เป็นกรอบเป็นกำคือมะม่วงครับ นอกจากนี้ยังได้ขยายกิ่งพันธุ์จำหน่ายให้เพื่อนบ้านอีกด้วย

                    จากนั้นผมได้ขอตัว อาจารย์บุญเรืองกลับบ้านพักที่ตัวเมืองจังหวัดกำแพงเพชร   

หมายเลขบันทึก: 117496เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • อ.บุญเรืองเป็นตัวอย่างหนึ่งของคนที่พอเพียงนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแลกเปลี่ยน

ดูภาพแล้ว อยากลงไปดูพื้นที่จริง และพบอ.บุญเรืองด้วยคะ ขอบคุณมากนะคะที่มีเรื่องราวดี ๆ มาให้รับรู้อยูเสมอ

สวัสดีครับอ.สิงห์ป่าสัก ขอบคุณที่เข้ามาแวะเยี่ยม ณ.ปัจจุบันนี้ นวส.มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องออกไปเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจแก่เกษตรกร ซึ่งเป็นการค้นหา Best Practice ในงานส่งเสริมการเกษตร หากรอแต่การบริหารงานโครงการ ประจำคงไปไม่ถึงเป้าหมายในการพัฒนาแห่งความยั่งยืนครับ

เรียนอาจารย์ธุวนันท์ครับ  ขอบคุณมากครับที่มาแวะเยี่ยมและให้กำลังใจมาโดยตลอด  หากมีโอกาสเชิญ มาร่วมปฏิบัติงานเครือข่ายคนทำงานให้แก่เกษตรกรและชุมชนด้วยกันครับ     

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท