คนดอย
นาย ทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์

SCG Inno Facilitator Development #3 : Project based learning@Amphawa Day1


รับรู้ เรียนรู้ สกัดความรู้ สังเคราะห์ความรู้ วนหลายๆรอบ ให้เกิดเกลียวความรู้

SCG Inno Facilitator Development #3 : Project based learning

ช่วงวันที่ 6-9 สิงหาคม 2550 @ อัมพวา รายละเอียด

Amphawa

งวดนี้ เรามีเวลากันมากขึ้น  4 วัน  3 คืน งานนี้พยายามให้ทุกคนได้มีโอกาสได้ทั้ง Head Heart Hand และหวังว่าจะได้ Happy ในที่สุด

บันทึกวันที่ 1 : เราพาชม ซึบซับความรู้สึกคร่าวๆกันก่อน เริ่มกันตั้งไปดูผลงาน OTOP ทำชามเบญจรงค์ เสร็จแล้วก็ไปดูการทำน้ำตาลปี๊บ พักกินก๋วยเตี๋ยวที่วัดประดู่ พาเอาก๋วยเตี๋ยวเรือต้องคว่ำเรือกันเลย กินเสร็จก็เข้าไปแวะดูหุ่นดินสอพอง ที่ปั้นเป็นรูปพระอริยสงฆ์ พร้อมได้รับมุขจากหลวงพ่อที่พานำชม กับอิ่มจนจุกกันไปเลย สถานที่ นี้ เป็นสถานที่ ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเนื่องจากเป็นสถานที่ เสด็จพ่อ ร.5 เสด็จประพาสต้น ด้วย ภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจที่นี่ เราก็เดินทางไปวัดบางกุ้ง วัดบางแคน้อย  เสร็จทั่ววัด เราก็ได้แวะดูบ้านอนุรักษ์แมวไทยโบราณ และจบลงที่บ้านเรือนไทยจิ๋ว กว่าจะได้เข้าที่พัก ก็ปาเข้าไป 5โมงครึ่ง

Slide1

Slide2

ภายหลังรับประทานอาหารเย็นเสร็จ เราก็เริ่มดูประมวลภาพที่ถ่ายจากฝีมือ ดำSCG CEMENT รำลึก พร้อมมอบรายละเอียดของโจทย์ที่เรามากันวันนี้ โจทย์ที่เรามอบให้ก็คือ

การสร้าง Innovation ใหม่ๆ ให้กับชุมชน บนพื้นฐานของความพอเพียงและยั่งยืน

อาจารย์วรภัทร์ได้มอบเคล็ดวิชาให้ 1 กระบวนท่า ให้ไปฝึกปรือ หวังว่าจะละกลุ่มจะได้นำไปใช้ให้ครบทั้งกระบวนการ กระบวนท่านั่นคือ วงจร Nonaka นี่เอง

Nonaka

สุดท้ายเราประกาศแยกออกเป็นทั้งหมด 7 กลุ่ม คละหน่วยงาน เรากะว่างานนี้จะช่วยสร้างโจทย์ให้กับพวกเราได้ ซึ่งคงได้เอาเสียงสะท้อนของแต่ละกลุ่มมาเล่าให้ฟังในวันต่อๆไปครับ

Innofa3_umpawa

 

หมายเลขบันทึก: 117490เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • รอฟังต่อชอบมากเรื่อง Project- Based Learning
  • ดีใจที่เห็นคนใช้เรื่องการรียนรู้เหมือนกันทั้ง head hand heart
  • ขอบคุณครับ
  • ตอนนี้อยู่สมุทรสงครามใช่ไหม
  • สังคมเกษตรแถบสมุทรสงคราม-สาคร ความเป็นอยู่ของชุมชนดีมาก ไม่กระเสือกกระสนเหมือนคนอีสาน เพราะสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย จึงเป็นชุนที่ผาสุข
  • จุดหนึ่งที่น่าสังเกตคือ ผลการเรียนในเขตพื้นที่เหล่านี้ นักเรียนจะเรียนดีกว่าแถบอีสาน จะว่าหัวดีรึก็ยังไม่ฟันธง ความมุ่งมั่นใจรึเปล่า หรือวัฒนธรรมชุมชนเข้าแข็งมีผลต่อการศึกษาของลูกหลาน
  • เพิ่งเคยได้ยิน กินก้วยเตี๋ยวคว่ำเรือ เคยได้ยินแต่จิ๊กโก๋คว่ำโต๊ะ
  • ยินดีด้วยกับทุกคนที่ได้ไปพบเรื่องดีๆสนุกๆที่หลากหลาย
เกลียวความรู้ðสว่านความรู้ðแสงเลเซอร์ความรู้ เจาะทะลุทะลวงได้มากขึ้นๆ
ของฝากจากบางทราย ที่อยากให้คนรุ่นใหม่ไม่ไปติดยึดการเรียนรู้ในระบบอย่างเดียว ก้าวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้..
บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)
เมื่อ จ. 06 ส.ค. 2550 @ 23:25 [ 341839 ] จาก 203.172.72.209 ลบ ถูกจริตผมจริงๆ "อะไหล่ความคิด"  มันเป็นโรงเรียนในอากาศ เสกเอาความรู้มาได้จริงๆ  คนโบราณมาเห็นคงต๊กกะใจ เสกความรู้มาได้

กูเรียนจากมึง มึงเรียนจากกู จะเรียนแบบเงียบๆ จะเรียนแบบดังๆ จะเรียนไปนั่งไขว่อีเก็ก ซดกาแฟโฮกใหญ่ก็ไม่มีใครมาดุด่า ใครขยันมากจะแหกตาเรียนกันยันสว่างตำรวจก็ไม่จับ  เรียนไปโดดไปออกกำลังกายสักพักแล้วเข้ามาก็ไม่ผิดประเพณี ฮีตคองอะไรที่ไหน

เพื่อนร่วมเรียนก็มีสารพัด คนก็มี สัตว์ป่าก็มี อิ.อิ.(ก็นายเสือ(ครูเสือ) กะนายสิงห์(สิงห์ป่าสัก) อยู่ร่วมกัน รักกันจะตายไป นี่แหละห้องเรียนจริงๆหละ เรียนแบบธรรมชาติจริงๆ

ทฤษฎีชั้นเรียนนั้นหมดสมัยตั้งแต่เริ่มศัตวรรษที่ 20 แล้วนะครูนะ  ไม่เชื่อ ดูครูลูกหว้าบ่นซิ ลูกศิษย์แอ๊บแบ๊วอะไรน่าเขกเข่านัก ให้ทำรายงานดันไป copy มาส่งครูลูกหว้า ทั้งผิดๆ อย่างนี้เขกเข่าไม่พอ เอาหนังยางยิงตะปอมข้างละทีอีกด้วย แล้วสำทับไปว่า "หัวมีไว้ให้คิด ไม่ใช่เอามาตั้งบนบ่าเฉยๆ หนักคอเปล่าๆ" หา ห่า ห้า....

เห็นภาพนี้ รู้จักมา 5-6 ปีแล้ว แต่ไม่เคยซาบซื้งจริงๆ ในทางปฏิบัติว่ามันเป็นยังไง  แม้จะไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ก็พอจินตนาการได้ว่าเกิดอะไร  และเป็นไปตามวงจรอย่างไร ขอบคุณค่ะที่ทำบันทึกชุดนี้ขึ้นมา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท