สารพันประโยชน์


ตำลึงผักริมรั้ว

ตำลึงมีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือเรียกว่า  ผักแคม  กระเหร่ียงเรียกว่า  แคเเด๊าะ ภาคกลางบางท้องท่ีเรียกว่า ผักสี่บาท  ลักษณะโดยทั่วไปตำลึงเป็นไม้เถามีมือเกาะชอบขึ้นพันไม้อื่นหรือริมรั้ว เป็นเถาสีเขียวใบคล้ายรูบหัวใจ 5 เหลี่ยมมีเว้าลึกเป็น5แฉก มีดอกสีขาวทรงกระบอก 5 แฉก ลูกตำลึงเป็นรูปทรงยาวรีคล้ายแตงกวา ผลขนาดประมาณ 2 น้ิว ลูกอ่อนสีเขียว ๆ มีลายทางขาวเมื่อแก่จะเป็นสีแดงอมส้มหรือแดงสด เนีื้อในออกหวาน ไ รับประทานได้แต่ไม่นิยมเพราะเมล็ดมาก ขยายพันธ์โดยใช้เพาะเม็ดหรือใช้เถาแก่เพาะชำประโยชน์ของตำลึงมีมากมายอาทิเช่น

1. สรรพคุณทางด้านสมุนไพร

1.1 แก้พิษคัน  คันจากใบไม้หรือหนอนคัน โดยนำตำลึงสด 4-5 ใบ มาขะยี้เอานำ้ชโลมทาบริเวณท่ีคัน

1.2.เป็นเริม  งูสวัส ให้ใช้ใบตำลึงล้างน้ำสุกให้สะอาด ตำให้ละเอียดคั้นแล้วกรองเอาแต่น้ำผสมดินสอฟองแล้วสะตุ(เผาจนสุก) ทาบริเวณท่ีเป็นให้เปียกชื่นอยู่เสมอ อาการแสบร้อนจะทุเลาลง  ถ้าทำแล้วไม่รู้สึกเย็นแปลว่ายาไม่ถูกโรคให้เลิกใช้

1.3. ลิ้นเจ็บเป็นแผลให้เคี้ยวผลตำลึงอ่อน

1.4.เบาหวานให้เอายอดตำลึงประมาณ 1-2 กำมือโรยเกลือพอให้มีรสนำไปเผาไฟให้สุกแข็งใจกินให้หมด กินก่อนนอนติดต่อกัน 3 วัน น้ำตาลในเลือดลดลง

2.สรรพคุณทางด้านโภชนาการ 

     ใบตำลึงสด 100 กรัม ประกอบด้วยโปรตีน 4.9 กรัม วิตามินเอ มีเป็นอันดับท่ี4 ของบรรดาพืชทั้งหมด วิตามิน บี1มี อ0.17 มิลิกรัม วิตามินซีมี 31 มิลิกรัม ธาตุแคลเชี่ยม 58.7 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3 มิลลิกรัม ถ้ามีการจัดอันดับให้ตำลึงจะอยู่ในอันดับท่ี 52  ซึ่งถือว่าเป็นพืชท่ีมีคุณค่ามากประเภทหนึ่งเลยทีเดียว และถ้าจะปลูกเป็นไม้ประดับริมรั้วก็จะสวยงาม เพราะมีทั้งใบและดอก ผล ท่ีสวยงามปลูก่ายไม่ต้องดูแลรักษามาก

นางวชิราภรณ์  อุปพงษ์  รหัสนักศึกษา  4930123103710

หมายเลขบันทึก: 117338เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผักตำลึงเป็นผักท่ีหาได้ง่าย อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่ม   

น้องหญิง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท