มยุรี
นางสาว มยุรี เหมือนพันธุ์

การสร้างนิสัยรักการอ่าน


การอ่าน
     การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็ก  มีวิธีง่ายๆที่ไม่ต้องใช้เวลาในชั้นเรียน  คือ  มอบงานให้เด็กไปฝึกอ่านหนังสืออะไรก็ได้ที่ชอบวันละ 1 หน้า เป็นการบ้าน และมาอ่าน/เล่าให้ครูฟัง/เพื่อนฟังที่โรงเรียนทุกวัน   ครูอาจจัดเวลา/สถานที่ให้เด็กได้อ่าน วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กอ่านออก  กรณีเด็กอ่านไม่ออก ต้องหาหนังสือสำหรับเด็กเริ่มเรียนหรือหนังสือที่เหมาะสม  ให้ไปฝึกอ่าน  และมาอ่านให้ครูฟังทุกวันๆละ 5 บรรทัด  หรือตามความเหมาะสม  ครูคอยกระตุ้นและเสริมแรง  จะช่วยให้เด็กอ่านออกและอ่านคล่องขึ้น  ทดลองดูนะคะ
คำสำคัญ (Tags): #การอ่าน
หมายเลขบันทึก: 117273เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ได้เคยอ่านบทความเสียงครูถึงครู จากวารสารท่องโลกการศึกษา ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นการสัมภาษณ์ ศ.เกียรติคุณ ดร.อารี สัณหฉวี ท่านก็ได้เล่าโครงการที่จะส่งเสริมให้เด็กรักการอ่าน 2 โครงการ คือ 1.ขอให้ครูอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกเช้า ทุกวัน ประมาณ 10 - 12 นาที และตอนเย็นให้เด็กหาหนังสือมาอ่านเงียบ ๆ 10 นาที  2. ให้เด็กกลับไปอ่านหนังสือให้ที่บ้านฟัง  การอ่านทั้ง 2 โครงการจะไม่บังคับและเป็นหนังสือที่เด็กเลือกเอง  อาจารย์ได้ให้ข้อคิดเห็นในการส่งเสริมการอ่านว่าทำได้ดีในเด็กเล็ก ส่วนเด็กโตไม่ค่อยได้ผลเพราะครูไม่ค่อยเลือกที่จะหาหนังสือสนุก ๆ มาอ่านให้เด็กฟัง  .....เสียดายว่าวารสารปิดตัวไปแล้วแต่ฉบับนี้ยังมีให้อ่านค่ะ

เห็นด้วยนะคะ  สำหรับการสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กๆ  เพราะว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นการสร้างสมรรถนะในการเรียนรู้ของเด็กต่อไปในอนาคตและ เป็นสิ่งที่จะติดตัวเป็นทุนในการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ต่อไป  และขอเสริมด้วยค่ะ ครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างนิสัยรักการอ่าน  เร่มแรกหาหนังสือ หรือสมุดภาพที่เหมาะสมกับวันก่อนให้ไม่ยากเกินไปจนท้อที่จะเรียยนรู้ และไม่ง่ายเกินไปจนขาดความน่าสนใจ หรือน่าเบื่อสำหรับเด็กค่ะ

เห็นด้วยอย่างมากเลยค่ะ ที่ครอบครัวมีส่วนในการส่งเสริมการอ่าน และที่หลายท่านนึกไม่ถึง เมื่อเด็กโตขึ้นความสัมพันธ์ในครอบครัวจะเริ่มห่างไป เรื่อย ๆ ดิฉันเคยอ่านบทความเรื่อง" book... that bind" และลองทำดู ดิฉันว่ามันได้ผลทีเดียว ลองอ่านที่ดิฉันแปลแล้วซิค่ะ

Sasha Helper ได้เขียนบทความ “ Books……….. that Bind” โดยเล่าถึงแม่ ผู้ซึ่งมีลูกชาย 1 และลูกสาว 1 ที่กำลังอยู่ในช่วงวัยรุ่น มักไม่ยอมให้เธอเข้าไม่รับรู้การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ยกเว้นเวลาลูกต้องการรับประทานอาหาร หรือต้องการขอเงินไปดูภาพยนตร์กับเพื่อน บรรยากาศในบ้านช่างดูเหินห่าง วังเวง เธอห้วนคิดช่วงเวลาที่มีค่า (Qulity time)ในอดีต ช่วงเวลาที่มีความสุข เวลาที่ลูก ๆ ต้องการให้เธอเล่านิทานให้ฟัง ในขณะเป็นเด็กเล็ก ในห้วงความคิดนั้น เธอก็นึกว่า บางทีหนังสืออาจช่วยเธอได้ เธอกับสามีจึงร่วมกันทำชั้นหนังสือในบ้าน(family bookshelf) โดยนำหนังสือที่เคยอ่านให้ลูกเมื่อตอนเล็กๆมาวาง เช่น Beauty and the beat , Snow White,A little mermaid ฯลฯ ลูกชาย และลูกสาววัยรุ่นเริ่มนำหนังสือมารวมบนชั้น และบางครั้งจะนั่งอ่านอย่างเงียบ ๆ โดยไม่สนใจอาหารว่างเลย

และแล้วเย็นวันหนึ่งเมื่อสมาชิกอยู่พร้อมกันที่ห้องอ่านหนังสือในบ้าน ลูกชายอ่านหนังสือของเขาเสร็จแล้ว ก็เล่าเรื่องอย่างย่อๆให้น้องสาวฟัง บรรยากาศระหว่างสมาชิกในครอบครัวเกิดขึ้นมา เธอรู้สึกปลื้มปิติจนทุกคนรับรู้ได้ ทั้งพ่อ แม่ และลูกๆ โผกอดกัน และจะไม่ยอมหยุดไว้แค่วันนี้ ลูกสาวอาสาว่าในสัปดาห์ต่อไป เธอจะเป็นคนเลือกหนังสือมาเล่าให้ฟัง…

ผู้เขียนหวังว่าครอบครัวเราน่าจะมีชั้นหนังสือในบ้าน หรือยืมหนังสือจากห้องสมุดไปอ่านและเล่าให้สมาชิกในครอบครัวได้รับรู้ หนังสือ………..จะเป็นเครื่องผูกมัดความสัมพันธ์คนในครอบครัวได้อย่างดี

อ้างอิง

Shasha Helper . “Book …that bind” Better home & Garden (May 2004 ) p.228

สวัสดีค่ะ.....หนูเอื้อยแวะมาเยี่ยม  แล้วจะลองเอาเทคนิคการสร้างนิสัยรักการอ่านไปใช้ดูค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท