การศึกษาปฐมวัย


ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัย

หลักสูตรสำหรับเด็กอายุ  3 – 6 ปี                                

   หลักสูตรสำหรับเด็กอายุ 3 – 6 ปี มีสาระสำคัญ  ดังนี้1.      หลักการ เป็นการจัดโดยยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็กอายุ 3 – 6 ปี ทุกคน ทั้งเด็กปกติ เด็กด้อยโอกาสและเด็กพิเศษ  เพื่อให้เด็กพัฒนาทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ผ่านกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยุบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาและเป็นการร่วมมือกันระหว่างบ้าน สถานศึกษา  และชุมชน

2.      จุดมุ่งหมาย  มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย

และความแตกต่างของแต่ละบุคคล ทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา  โดยแบ่งออกเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์  10  ประการ  และคุณลักษณะตามวัย แยกตามพัฒนาการของเด็กกลุ่มอายุ 3 – 4 ปี , 4 – 5 ปี และ 5 – 6 ปี ตามลำดับ ดังนี้                                  คุณลักษณะที่พึงประสงค์1.       มีสุขภาพดี  เจริญเติบโตตามวัยและมีพฤติกรรมอนามัยที่เหมาะสม2.     ใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล้กได้อย่างคลล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน3.    ร่าเริง  แจ่มใส มีความสุข และความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น4.    มีคุณธรรมและจริยธรรม มีวินัยในตนเอง และมีความรับผิดชอบ5.    ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับสภาพและวัย6.    อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข7.    รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในท้องถิ่น และความเป็นไทย8.    ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย9.   มีความสามารถในการคิด การแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ10.  มีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์คุณลักษณะตามวัย 
อายุพัฒนาการ  อายุ 3 – 4 ปี  อายุ 4 – 5 ปี  อายุ 5 – 6 ปี
ด้านร่างกาย -         เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้-         วิ่งแล้วหยุดได้โดยไม่ล้ม-         ใช้กรรไกรมือเดียวได้-         วาดและระบายสีอิสระได้ -         เดินวิ่ง กระโดด ได้ดีเพราะกล้ามเนื้อเริ่มประสาน-         กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย-         ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้ -         เดินขึ้นลงบันได้สลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว-         กระฉับกระเฉงไม่อยู่เฉย-         ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่นติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้าได้ ฯลฯ-         ยึดตัว คล่องแคล่ว
ด้านอารมณ์ จิตใจและสังคม -         พอใจคนทีตามใจ-         ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม-         ช่วยตนเองได้-         ชอบเล่นแบบคู่ขนานเล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น -         มีความมั่นใจในตนเองสูงขึ้นมาก-         ชอบท้าทายผู้ใหญ่-         ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ-         สนใจผู้อื่น-         ชอบเล่นบทบาทสมมติ-         ชอบเล่นเป็นกลุ่ม -         อายง่าย-         ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง-         ชอบเล่นกับเด็กอื่น-         ช่วยตัวเองได้-         ชอบสร้างความพอใจให้ผู้อื่น-         ชอบแสดงออกและทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใหญ่ชมเชย
ด้านสติปัญญา -         สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ-         สมาธิสั้นเนื่องจากอยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว-         ชอบทาย ทำไมตลอดเวลา-         ร้องเพลงง่าย ๆ แสดงท่าทางเลียนแบบ-         พูดประโยคยาวขึ้น-         ยังคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมไม่ได้ -         เปรียบเทียบได้-         เรียงลำดับเหตุการณ์ได้-         เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม-         ชอบถาม ทำไมเนื่องจากเริ่มเรียนรู้ได้แล้ว-         เข้าใจความเป็นเหตุเป็นผลได้-         พูดเป็นประโยคได้ -         พูดประโยคได้ยาวขึ้น-         รู้คำศัพท์มากขึ้น-         ร้องเพลง ท่องคำคล้องจองได้-         บอกชื่อ นามสกุล ของตนเองได้-         นับ 1 – 20 ได้-         บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง และจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
 การจัดกิจกรรมและตารางกิจกรรมประจำวัน            การจัดกิจกรรม            การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กระดับก่อนประถมศึกษา จะไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้ได้พัฒนาทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา กิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน อาจใช้ชื่อเรียกกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน แต่ทั้งนี้ประสบการณ์ที่จัดจะต้องครอบคลุมประสบการณ์สำคัญ 9 ประการ ตามหลักสูตรและควรให้ยึดหยุ่นตามเนื้อหาที่เด็กสนใจหรือที่ครูมีส่วนริเริ่มกำหนดให้ เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์สำคัญ และทำกิจกรรมในแต่ละหัวข้อเนื้อหาแล้ว เด็กควรจะเกิดแนวคิดตามที่ได้เสนอแนะไว้ในหลักสูตร ดังนั้นการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กระดับก่อนประถมศึกษา จึงควรยึดหลักการ ดังนี้1.       กิจกรรมที่จัดควรคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ เด็กแต่ละคนมีความสนใจแตกต่างกัน จึงควรจัดให้มีกิจกรรมหลายประเภทที่เหมาะสมกับวัย ตรงกับความสนใจและความต้องการของเด็กเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเลือกตามความสนใจและความสามารถ2.       กิจกรรมที่จัดควรมีทั้งกิจกรรที่ให้เด็กทำเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ ควรเปิดโอกาสให้เด็กริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเองตามความเหมาะสม3.       กิจกรรที่จัดควรมีความสมดุล คือ ให้มีทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน กิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวและสงบกิจกรรมที่เด็กริเริ่มและครูริเริ่ม4.       ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมควรเหมาะสมกับวัย มีการยืดหยุ่นได้ตามความต้องการและความสนใจของเด็ก เช่น           5.       กิจกรรมที่จัดควรเน้นให้มีสื่อของจริงให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง แก้ปัญหาด้วยตนเอง มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น ๆ และผู้ใหญ่ กิจกรรมประจำวัน            การจัดกิจกรรมประจำวันในแต่ละวันให้ครอบคลุมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ดังนี้       การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่       การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก       การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์       การพัฒนาการคิด       การส่งเสริมการเลือกและตัดสินใจ       การส่งเสริมลักษณะนิสัยและทักษะพื้นฐานในชีวิตประจำวันลักษณะการจัดให้จัดในรูปของกิจกรรมผ่านการเล่น กิจกรรมที่จัดอาจเรียกชื่อแตกต่างกันไป ได้แก่ กิจกรรมเสรี กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เกมการศึกษา และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  ดังนี้1.      กิจกรรมเสรีกิจกรรมเสรีเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ภายในห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์หรือมุมธรรมชาติศึกษา มุมบ้าน มุมร้านค้า เป็นต้น มุมต่าง ๆ เหล่านี้ เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความนใจและความต้องการของเด็กทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่มย่อย            อนึ่ง  กิจกรรมเสรี นอกจากให้เด็กเล่นตามมุมแล้ว อาจให้เด็กเลือกทำกิจกรรมที่ครูจัดเสริมขึ้น เช่น เกมการศึกษา เครื่องเล่นสัมผัส กิจกรรมสร้างสรรค์ประเภทต่าง ๆจุดประสงค์1.       ส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก  และการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา2.       ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา3.       ส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน4.       ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ5.       ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสำรวจ การสังเกตและการทดลอง6.       ส่งเสริมให้เด็กรู้จักปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักรอคอย เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และให้อภัย7.       ส่งเสริมให้มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์8.       ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา การคิดอย่างมีเหตุมีผลเหมาะสมกับวัย9.       ส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดวางแผน และตัดสินใจในการทำกิจกรรม10.    ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน  ครู  และสิ่งแวดล้อมแนวการจัดกิจกรรม1.       แนะนำมุมเล่นใหม่ ให้เด็กรู้จักและเสนอแนะวิธีใช้/  เล่นเครื่องเล่นบางชนิด เช่น แว่นขยาย เครื่องชั่ง เครื่องเล่นสัมผัสบางชนิด ฯลฯ2.       เด็กและครูร่วมสร้างข้อตกลงเกี่ยวกับการเล่น เช่น3.       ครูเปิดโอกาสให้เด็กคิด  วางแผนตัดสินใจเลือกเล่นอย่างอิสระในมุมเล่น หรือเลือกทำกิจรกรมที่จัดขึ้นตามความสนใจของเด็กแต่ละคน ขณะเด็กเล่น / ทำงาน ครูอาจชี้แนะ และมีส่วนร่วมในการเล่นกับเด็กได้ หากพบว่าเด็กต้องการความช่วยเหลือและคอยสังเกตพฤติกรรมการเล่นของเด็กพร้อมทั้งจดบันทึกพฤติกรรมที่น่าสนใจเพื่อดูว่าเด็กมีพัฒนาการแต่ละด้านเป็นอย่างไร4.       เตือนให้เด็กทราบล่วงหน้าก่อนหมดเวลาเล่น ประมาณ 5 – 10  นาที5.       ให้เด็กเก็บของเล่นเข้าที่ให้เรียบร้อยทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นกิจกกรรม2.      กิจกรรมสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การฉีก ตัดปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ หรือวิธีการอื่นที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะกับพัฒนาการ เช่น การเล่นพลาสติกสร้างสรรค์ การสร้างรูปจากกระดานปักหมุด ฯลฯจุดประสงค์1.       ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ2.       ให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียด3.       ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมือ และพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา4.       ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา5.       ฝึกทักษะการสังเกต การคิด และการแก้ปัญหา6.       ส่งเสริมการแสดงออก และมีความมั่นใจในเอง7.       ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น8.       ส่งเสริมการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น9.       ส่งเสริมคุณธรรมในด้านความอดทน การรอคอย ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความรับผิดชอบและความมีวินัยในตนเอง แนวการจัดกิจกรรม            การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ควรจัดให้เด็กทำทุกวัน โดยอาจจัดวันละ 3 – 5 กิจกรรม ให้เด็กเลือกทำอย่างน้อย 1 – 2 กิจกรรม ตามความสนใจดังตัวอย่างการดำเนินการดังนี้1.       เตรียมจัดโต๊ะและวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมโดยอาจมอบหมายให้เด็กรับผิดชอบช่วยจัดในแต่ละวัน2.       สร้างบรรยากาศในการทำกิจกรรมให้มีความสดชื่นแจ่มใส และมีอิสระให้เด็กเลือกทำกิจกรรมอย่างมีระเบียบ โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น3.       ให้เด็กเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความสนใจของตน อย่างน้อย 1 – 2 กิจกรรม4.       การเปลี่ยน / หมุนเวียนการทำกิจกรรม ครูต้องกำหนดข้อตกลงกับเด็กว่าในกรณีที่โต๊ะ / กลุ่มใดมีเด็กครบหรือเต็มตามจำนวนที่กำหนดหรือจัดไว้แต่เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมนั้นบ้าง เด็กจะต้องคอยจนกว่าจะมีที่ว่าง หรือให้เลือกเล่นในมุมเล่นก่อน เมื่อมีที่ว่างจึงจะสามารถเข้าทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ตนสนใจได้5.       กิจกรรมใดเป็นกิจกรรมใหม่สำหรับเด็ก ครูควรแนะนำอุปกรณ์และวิธีใช้ เล่น การละเลงสีด้วยนิ้วมือ ซึ่งจะต้องใช้น้ำทาโต๊ะแล้วทาบกระดาษลงไป (เพื่อกันไม่ให้กกระดาษเลื่อนไปมา) ตักแป้งที่ผสมสีลงบนกระดาษใช้ส่วนต่าง ๆ ของมือ เช่น นิ้วมือ ฝ่ามือ สันมือ ฯลน วาดแป้งเป็นรูปต่าง ๆ และควรแนะนำให้เด็กสวมพลาสติกกันเปื้อนเพื่อไม่ให้เลอะเทอะเสื้อผ้า6.       ขณะเด็กทำกิจกรรมครูต้องคอยดูแล ชี้แนะหรือให้คำปรึกษาเมื่อเด็กต้องการ ครูไม่ควรบอกหรือสั่งให้เด็กทำตามความคิดเห็นของครู หรือให้ทำกิจกรรมเหมือนกันหมดทั้งห้อง และต้องคอยให้กำลังใจแก่เด็ก อย่าติดเตียนจนเด็กหมดกำลังใจ7.  &nbs

หมายเลขบันทึก: 117080เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คนตัวเล็กครับ  เนื้อหาที่นำเสนอน่าสนใจ  แต่เป็นหลักสูตรปฐมวัยทั้งหมด  ควรจะนำเทคนิค  วิธีการต่างๆ ที่ใช้กับเด็กปฐมวัยมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์  น่าจะดูดีนะ  เช่น  เทคนิคการเก็บเด็กรูปแบบต่างๆ  หรือสิ่งที่ใช้ได้ผลกับเด็กกลุ่มพิเศษในห้องเรียน  ขอเป็นกำลังใจครับ

การศึกษาปฐมวัยมีความสำคัญต่อรากฐานการศึกษาไทยอย่างไรคะ

การศึกษาปฐมวัยใครก็ว่าสำคัญแต่คนที่ปฏิบัติหน้ากับเด็กปฐมวัยโดยตรงไม่เห็นความสำคัญ ได้แต่พูดแต่ยังไม่ลงมือปฏิบัติก็คงจะไม่เป็นผล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท