" โมเดลปลาดุก "


รู้จัก " โมเดลปลาทู " กันแล้ว คราวนี้มารู้จัก " โมเดลปลาดุก " กันบ้างนะคะ

สืบเนื่องมาจากที่ คุณหนุ่มร้อยเกาะ เสนอหัวข้อมาค่ะ

ว่า ปลาดุก ของดิฉันจะสามารถเชื่อมโยงกับ ปลาทู ได้อย่างไรบ้าง?

ดิฉันก็จะลองเชื่อมดูนะคะ แต่ก็ไม่ทราบว่าจะออกมาเป็นยังไงบ้าง

ในครั้งนี้เรากล่าวพาดพิงถึงปลาดุก เราก็ต้องให้โมเดลนี้เป็น โมเดลปลาดุก  ซิคะ เริ่มเลยค่ะ

" โมเดลปลาดุก " 

ส่วนที่ 1 เรียกว่า  หัวปลา(ดุก)

หัวปลา(ดุก)  หมายถึง  เป้าหมายหลักของการดำเนินการจัดการความรู้ สะท้อน วิสัยทัศน์ความรู้ (KV) หรือหัวใจของความรู้ เพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร บุคคลที่มีความสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดหัวปลาที่ชัดเจนคือ คุณเอื้อ (ระบบ) หรือ CKO ค่ะ

แต่ในที่นี้มันเป็นปลาดุก แล้วปลาดุกก็มีหนวดใช่มั๊ยคะ หนวดนี่แหละค่ะที่จะช่วยเพิ่มความพิเศษให้กับโมเดลนี้

หนวดปลาดุก  เป็น วิสัยทัศน์ความรู้พิเศษ (Extra KV) เนื่องจากหนวดปลาดุกมีความยาวยื่นออกมา และเป็นอวัยะที่สำคัญมากของปลาดุก ดิฉันจึงเปรียบเทียบเป็นอุปกรณ์นำทางหรือเนวิเกเตอร์ ชั้นเลิศ ที่ช่วยในการนำทางให้ KV ไปได้ตรงทิศทางและประสบผลสำเร็จมากที่สุด (เป็นไงคะ เริ่ด หรู ดีมั๊ย?)

ส่วนที่ 2  เรียกว่า  ตัวปลา(ดุก)

ตัวปลา(ดุก)  หมายถึง  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ การแบ่งปันความรู้ (KS)  บุคคลสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดตัวปลาที่ทรงพลัง คือ คุณอำนวย หรือ KF และผู้ที่แสดงบทบาทแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ คุณกิจ หรือ KP  ค่ะ

คราวนี้ตัวปลาดุกก็มีความพิเศษนะคะ เคยจับตัวปลาดุกกันบ้างรึเปล่า? เป็นยังไงคะ มันลื่นๆ เมือกๆ ใช่มั๊ยคะ นี่แหละค่ะ ความพิเศษของมัน

เมือกปลาดุก  เป็น การแบ่งปันความรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง (Unstopable KS)  เนื่องจากเวลาเราจับตัวปลาดุกนั้น ตัวมันลื่น เรามักจะจับแล้วก็หลุดมือ จับแล้วก็หลุดมือ เหมือนกับว่ามันไม่อยู่นิ่งเลย ดิฉันจึงเปรียบเทียบเหมือนกับความรู้ที่ว่า ความรู้นั้นไม่มีวันหยุดนิ่ง ความรู้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สามารถถ่ายทอดให้แก่กันได้ไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน

ส่วนที่ 3  เรียกว่า  หางปลา(ดุก)

หางปลา(ดุก)  หมายถึง  ขุมความรู้ (KA)  ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ผู้สกัดขุมความรู้ออกมาจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบันทึกไว้ใช้งานต่อ คือ คุณกิจ โดยที่การจดบันทึกขุมความรู้อาจมี คุณลิขิต หรือ NT  เป็นผู้รับผิดชอบค่ะ

เป็นยังไงบ้างคะ โมเดลปลาดุก ที่ดิฉันทดลองเชื่อมโยงกับ โมเดลปลาทู ของท่าน ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช พอไปได้มั๊ยคะ (ต้องขออภัยคุณหมอวิจารณ์ด้วยนะคะ ที่ยืมโมเดลมาอ้างอิง)

ไม่ทราบว่าผิดหรือถูกตรงไหนบ้าง

ถ้าท่านใดที่มีไอเดียเริ่ดหรูกว่านี้ สามารถให้คำแนะนำกันมาได้นะคะ ยินดีน้อมรับค่ะ

หมายเลขบันทึก: 116948เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2007 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เปรียบเทียบได้เห็นภาพมากครับ เห็นด้วยว่า ความรู้เป็น พลวัต เทียบกับ "เมือก" ลื่นๆ เยี่ยมจริงๆครับ

  • หวัดดีครับคุณ pokemon_jung002
  • เยี่ยมจริงๆ ครับ คนรุ่นใหม่ เปรียบเทียบได้คมจริงๆ ถ้านำสู่การทำงานในพื้นที่ได้ เยี่ยมจริงๆครับ ความพิเศษตรงที่ หนวด กับเมือกปลาดุกนี่หละครับ จะช่วยเสริมปลาทู ให้ แข็งแรงยิ่งขึ้นครับ 

ช่างเปรียบเทียบดีนะ   จะขอเสริมเรื่องเมือกปลาดุกอีกนิด     ถ้าเปรียบกับการและเปลี่ยนเรียนรู้ที่ไม่มีวันหมด  หากเปลี่ยนเมือกปลาดุก   เป็นเมือกปลาไหล  ก็คงจะดีนะ    เพราะจะได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ลื่นไหลยาวนานกว่า    เพราะเมือกปลาไหลมันก็ลื่นและลำตัวมันยาวกว่าปลาดุกอีกนะ     ซิบอกไฮ้

  • โห คิดได้งัยเนี่ย
  • ชัดเจนมากครับ
  • ขอบคุณมากครับสำหรับอีก 1 มุมมองดีดี

ทุกวันนี้ผมก็ยังคงงงงงอยู่กับศัพท์เฉพาะของ G2K

คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณลิขิต คุณกิจ ลปรร. (น่าจะเป็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้)

*สวัสดีครับ.....ต้องชมว่าช่างคิดนะสมกับคนรุ่นใหม่

*คนที่สร้างปัญหาชายแดนใต้ละจะเปรียบกับอะไรดี

*ขอให้กำลังใจในการทำงานของเพื่อนข้าราชการทุกคนอยู่ที่ราชบุรีติดตามข่าวทุกวันก็ได้แต่ภาวนา---และให้กำลังใจกับทหารหาญทุกคนเพื่อแผ่นดินของเราครับ

*สวัสดีครับ.....ต้องชมว่าช่างคิดนะสมกับคนรุ่นใหม่

*คนที่สร้างปัญหาชายแดนใต้ละจะเปรียบกับอะไรดี

*ขอให้กำลังใจในการทำงานของเพื่อนข้าราชการทุกคนอยู่ที่ราชบุรีติดตามข่าวทุกวันก็ได้แต่ภาวนา---และให้กำลังใจกับทหารหาญทุกคนเพื่อแผ่นดินของเราครับ

*สวัสดีครับ.....ต้องชมว่าช่างคิดนะสมกับคนรุ่นใหม่

*คนที่สร้างปัญหาชายแดนใต้ละจะเปรียบกับอะไรดี

*ขอให้กำลังใจในการทำงานของเพื่อนข้าราชการทุกคนอยู่ที่ราชบุรีติดตามข่าวทุกวันก็ได้แต่ภาวนา---และให้กำลังใจกับทหารหาญทุกคนเพื่อแผ่นดินของเราครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท