ภูมิปัญญากับการดำเนินชีวิตตอนที่ 4


บางคนที่เป็นชาวกรุงอาจจะถาม "ก็ตามหาปลานะสิ" สมัยเมื่อก่อนนะ........

นานเหมือนกันนะที่ไม่ได้เข้ามาบันทึก  ก็เพราะว่าต่างคนก็ต่างทำงาน ต่างคนก็ต่างมีภาระที่จะต้องดูแล จะต้องทำ ก็เลยรู้สึกว่าห่างๆ ยิ่งช่วงนี้เป็นช่วงทำนา เป็นช่วงเข้าพรรษา เป็นช่วงน้ำหลากด้วย ใครที่มีนาก็เริ่มที่จะปลูกข้าวกันแล้ว ยิ่งพวกเราชาวมหาลัยชีวิต ซึ่งนักศึกษาส่วนมากจะเป็นชาวนา และเป็นคนทำงานกันหมด นึกถึงสมัยเมื่อยังเล็กๆนะ เมื่อก่อนเคยตามพ่อไปทำนา สมัยก่อนพ่อจะมีควายอยู่ 2 ตัว ชื่ออะไรก็จำไม่ได้  แต่จำได้ว่าพ่อเคยบอกว่าเป็นควายที่ทางหลวงท่านให้มาเลี้ยง แล้วเมื่อลูกเกิดมาก็เป็นของเรา พ่อเลี้ยงจนได้ลูก 1 ตัวเป็นเพศเมีย พ่อท่านก็เลี้ยงควายตัวนี้มาจนมันเกิดลูกออกมา เป็นเพศผู้  ยังจำได้ว่า ยานพาหนะที่เราขี่เป็นครั้งแรกก็คือควายนี่ละ เวลาทำนาที พ่อก็จะเราควายตัวแม่นี่ละไปไถนา ไอ้เราก็ตามพ่อไป ก็ไปช่วยท่านทำนั่นทำนี่ตลอดเสมอ พูดก็พูดเถอะ  เราก็ไปนั่งบนหลังควายอย่างเดียวเท่านั้นละ  ก็อายุยังไม่ถึง 9 ขวบเลยนี่ จะทำอะไรได้ แต่พออายุได้ 10-11 ขวบก็เริ่มที่จะทำอย่างอื่น ก็คือการตามหลังควายที่พ่อไถนา ตามทำไหมหรือ บางคนที่เป็นชาวกรุงอาจจะถาม "ก็ตามหาปลานะสิ" สมัยเมื่อก่อนนะ การจะทำนาทีเขาจะต้องดองนา ต้องเอาน้ำใส่นาไว้เป็นสิบกว่าวัน เพราะว่าจะทำให้ดินมันร่วน ดินจะได้ไม่แข็ง เวลาไถก็จะได้ไม่หนักควาย ไถสบาย ในช่วงที่เขาดองไว้ก็จะมีปลา มีกบ มีสัตว์ต่างๆมาวางไข่ แล้วก็เจริญเติบโตขึ้น ไอ้เราก็จะถือหิง ข้อง ตามหลังพ่อไป นึกแล้วสนุกมาก การเป็นลูกชาวนานี้มันสนุกก็ตอนนี้ละ ใครไม่เคยเห็น หรือไม่เคยสัมผัสก็ไม่รู้ถึงรสชาติลูกทุ่งๆ นึกถึงแล้วมันทำให้เรานึกถึงเรื่องหนึ่งที่เคยทำในปีที่แล้ว รายงานเรื่องหนึ่งของท่านรองคัมภีร์ แสงเรือน ท่านผู้นี้เคยทำรายงานเกี่ยวกับการทำ"ข้อง"ซึ่งถือว่าเป็นงานสานพื้นบ้านที่นำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของชาวนาสมัยก่อนมาก แต่เดียวนี้แทบมองไม่เห็นข้องกันแล้ว เพราะว่าการทำนาสมัยนี้เอาเทคโนโลยีเข้ามา เลยทำให้การดำเนินชีวิตแบบเดิมๆหายไป การดองนา การหาปลาตามหลังรถไถ หรือการดำเนินอย่างอื่นก็หายไป  อะ........พูดไปก็ใจหายเอาเป็นว่าวันนี้จะเอางานของคุณคัมภีร์มาเสนอให้คนที่อย่างรู้และอาจนำไปทำเองได้........

 ไม้ไผ่มีหลายชนิดและหลายขนาดมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปไม้ไผ่ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายชนิดและ ประโยชน์คุณค่าต่าง ๆ ได้แก่ไม้ไผ่ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าไม้ไล่ถ้าเป็นหน่อไม้ก็สามารถนำมาทำอาหารได้หลายอย่างเช่นเอามาแกงสด ๆ ใส่ผักชะโอมอร่อยมากหรือเอาหน่อมาต้มแล้วเอามาทำเป็นหน่อไม้ยำก็อร่อยไม่แพ้กันเลยถ้าเป็นลำต้นขึ้นมาอายุประมาณ 1 ปีก็สามารถตัดมาทำประโยชน์ได้หลายอย่างเช่นนำไม้ไผ่ไล่ตัดมาผ่าเป็นฉีก ๆ นำมาสานเป็นที่ดักจับปลาที่ชาวบ้านเรียกกันว่า(ไซ) ที่มีรูปร่างทรงกลม ๆ ส่วนหัวเป็นเหลี่ยมส่วนด้ามจับปากมีฝาปิดเรียกว่า ไซ หรือเอามาทำเป็นที่ใส่ปลาที่ชาวบ้านเรียกว่าข้องใส่ปลาปูก็ได้ข้องสารพัดประโยชน์มีรูปทรงตั้งมีฝาปิดด้านบนสามารถเปิดปิดได้บุคคลที่ข้าพเจ้านำภูมิปัญญาของท่านมานำเสนอมีชื่อว่า คุณลุงอ้าย  ใจพงศ์ อายุ 68 ปีอยู่บ้านเลขที่ 40/27 หมู่ที่ 3 บ้านสวนป่า ต. ทาเหนือ อ.แม่ออน จ. เชียงใหม่ มีภรรยาชื่อ นาง มา กามีไม่มีลูกด้วยกันเพราะว่าทั้งสองคนแต่งงานอยู่ด้วยกันรอบที่สองซึ่งมีอายุมากแล้วอาชีพของ คุณลุงอ้าย       ใจพงศ์เป็นอาชีพจักสานตะกร้าไม้ไผ่สานสุ่มไก่ท่านทำทุกอย่างที่เป็นเกี่ยวกับไม้ไผ่ทั้งหมดและอันที่ขายดีมากกว่าเพื่อนก็ได้แก่ที่ดักจับปลาหรือไซและอีกชิ้นหนึ่งก็คือที่ใส่ปลาหรือว่าข้องใส่ปลาหรือปุล้วนใช้ได้สารพัดประโยชน์ที่ทำเท่าไหร่ก็ไม่พอขายมีชาวบ้านมาสั่งทำกันอยู่ตลอดทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางและขนาดใหญ่มีตั้งแต่ราคา 20 บาทจนถึง 80 บาทวัสดุที่ทำมาทำอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ ได้แก่ไม้ไผ่ตัดมาประมาร 3-5 เล่ม ความยาวขนาด 3-5 เมตร มีมีดงอใช้ผ่าแล้วจักเป็นตอกใช้ความยาวของไม้ตอกประมาณ 1 เมตร ใช้มีดเล็กๆ ขูดขนของตอกพอที่จะสานเข้ารูปตัวข้องหรือไซวิธีการทำ  เมื่อขุดผิวหรือขนของไม้ไผ่ได้พอจำนวนที่ต้องการแล้วก็นำตอกมาทำขึ้นรูปไซหรือข้องตามที่ต้องการได้ในระยะเวลาที่ทำ 1 วัน ทำข้องหรือไซได้ประมาณ 2 ใบ ขายในราคาตามขนาด 20 80 บาท                จากการที่ไปศึกษาดูภูมิปัญญา ของคุณลุงอ้าย  ใจพงศ์  เป็นภูมิปัญญาที่มีประโยชน์มาก เด็กรุ่นหลังๆ ถ้าไม่ช่วยอนุรักษ์เอาไว้กลัวภูมิปัญญาเหล่านี้อาจสูญหายไปกับเจ้าของภูปัญญาไปทั้งหมด เราควรอนุรักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อจะสืบทอดกันไปจนชั่วลูกชั่วหลานและเป็นภูมิปัญญาของคนภายในหมู่บ้านอีกด้วย ดังนั้นจึงสมควรจดบันทึกการทำงานของท่านไว้ในเอกสารฉบับนี้1. วิธีการดักจับปลาโดยไซขั้นตอนแรกต้องหาเศษอาหารที่รับประทานแล้วนำมาเผ่าไฟรอพักให้เย็นแล้วเอาใส่เข้าไว้ในไซ2.  แล้วนำไซไปวางตามลำห้วยที่มีน้ำไม่ไหลเฉี่ยวมากนักหันปากไซไปตามแนวทางน้ำไหลห้ามหันปากไซทวนตามน้ำเพราะว่าจะมีเศษขยะและใบไม้ไหลเข้าไปปิดหน้าไซวิถีชีวิตของปลาต้องขึ้นตามน้ำพอได้กลิ่นเศษอาหารปลาก็จะเข้าไปในไซพอเข้าไปแล้วก็ไม่สามารถกลับออกมาได้จนกว่าจะเปิดงาไซถึงจะออกมาได้ผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย               1.  ข้องใส่ปูและปลาขายราคาใบละ                        20-30 บาท               2.  ไซราคาใบละ                                                      15 -25 บาท               3.  สุ่มไก่ราคาใบละ                                                 50-80 บาท               4.  ตะกร้าหวดข้าว (ส้าหวด) ใบละ                          20-30 บาท   ขอกราบขอบพระคุณคุณลุงอ้าย   ใจพงศ์ ที่ให้ข้าพเจ้าสัมภาษณ์และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการจักสานไม้ไผ่เพื่อทำเป็นของใช้สารพัดประโยชน์ตามครัวเรือนรวมไปถึงภายในหมู่บ้านด้วยขอขอบพระคุณท่านมาก

จากที่ได้นำมาลงนี้ทำให้คิดได้ว่า เราทั้งหลายน่าจะเสนอความคิดเกี่ยวกับการทำประโยชน์จากไม้ไผ่ ว่าใครมีวิธีนำเอาไม้ไผ่มาใช้เป็นประโยชน์อะไรบ้าง เอ้า...........ใครมีความคิดดีๆๆ ลองเอามาเสนอให้ดูหน่อยครับ

คำสำคัญ (Tags): #ข้อง#ไม้ไผ้#หิง
หมายเลขบันทึก: 116918เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2007 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าจะทำเป็นสุ่มไก่นะครับ

ใบฎีกา..................

สุทธิศิลป์ นันชัย

น่าที่จะมาทำคันเบ็ดได้อีกด้วย  ครับ

ทาเหนือ

คุณลุงอ้าย  ใจพงศ์ อายุ 68 ปีอยู่บ้านเลขที่ 40/27 หมู่ที่ 3 บ้านสวนป่า ต. ทาเหนือ อ.แม่ออน จ. เชียงใหม่
กลุ่มทาเหนืออย่าลืมบันทึกลงในแผนที่ความรู้ด้วยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท