ความเป็นไปได้ ความน่าจะเป็น และความเป็นจริง ในการการทำงานวิจัยและพัฒนา


ความแตกต่างเช่นนี้ จึงทำให้ระบบคิดในการทำงานของนักวิชาการ เป็นความคิดต่างระดับกัน สื่อกันไม่ค่อยได้ และทำงานแยกกลุ่มกันทั้งๆที่ทำในเรื่องเดียวกัน
 

จากประสบการณ์การทำงานในระดับต่างๆ ของผม ทั้ง

 
  • งานวิจัยในห้องปฏิบัติการ
  • งานวิจัยในห้องทดลอง
  • งานวิจัยในเรือนทดลอง
  • งานวิจัยในแปลงทดลองในสถาบัน
  • งานวิจัยทดลองในสถานีทดลอง และในแปลงของเกษตรกร
  • งานวิจัยทดลองในระดับระบบการทำฟาร์มของเกษตรกรรายย่อย
  • งานวิจัยในระดับครัวเรือน
  • งานวิจัยในระดับกลุ่มเกษตรกร
  • งานวิจัยระดับเครือข่ายเกษตรกร
  • งานวิจัยเชิงนโยบาย
ผมได้พบกับตัวผมเอง นักศึกษา และเพื่อนร่วมงาน ว่าอุปสรรคของการทำงานของนักวิชาการในระดับต่างๆ ที่ทำให้เกิดผลการทำงาน และระดับความสัมฤทธิ์ผลที่แตกต่างกัน  

ผมพบว่า ระดับความคิดของนักวิชาการนั้น อาจจะแยกได้เป็น ๓ ระดับ ดังนี้

 

ระดับความเป็นไปได้ (Possibility)

·         ที่เน้นการใช้ทฤษฎีต่างๆ นำทางในการทำงาน

·         ที่มีทางเลือกในการทำงานมากมายจนเลือกไม่ถูก และ 

  •          ไม่ทราบว่า งานใดสำคัญกว่างานใด

·         ไม่ทราบว่าอะไรควรมาก่อนหลัง

  • เคยมีการตัดสินโดยการจับสลาก

ระดับความน่าจะเป็น (Probability)

·         ที่เน้นการใช้ประสบการณ์ต่างๆทั้งของตนเองและผู้อื่น ทั้งโดยตรงและโดยการประเมินสถานการณ์ มาประมวลหาทิศทางการทำงาน

·         มีกรอบงานชัดเจนขึ้น

·         แต่ก็ยังมีทางเลือกมากพอสมควร

·         อาจสามารถกำหนดลำดับความสำคัญในบางสถานการณ์ได้

·         แต่อีกหลายสถานการณ์ที่ไม่เคยชินจะตัดสินใจไม่ได้

ระดับความเป็นจริง (Actual result)

·         ที่เน้นการใช้ผลเชิงประจักษ์เป็นตัวชี้นำและวัดผลในการทำงาน

·         สามารถจัดลำดับความสำคัญ ตามความจำเป็นที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละสถานการณ์ พร้อมเงื่อนไขการตัดสินใจ

·         มีทางเลือกที่สอดคล้องกับทรัพยากร และสถานการณ์ 

เมื่อเรามีความแตกต่างเช่นนี้ จึงทำให้ระบบคิดในการทำงานของนักวิชาการ เป็นความคิดต่างระดับกัน สื่อกันไม่ค่อยได้ และเป็นสาเหตุหนึ่งในการทำงานแยกกลุ่มกันทั้งๆที่ทำในเรื่องเดียวกัน คล้ายๆกับการจัดการความรู้ ๔ ระดับ(http://gotoknow.org/blog/sawaengkku/115704) ที่เคยกล่าวไว้แล้ว 

ผมไม่แน่ใจว่าใครจะมีหน้าที่เชื่อมโยงความคิดเหล่านี้เข้าด้วยกัน ให้เกิดพลังในการพัฒนา 

  • นักวิชาการ
  • ชุมชน
  • แหล่งทุน
  • นักพัฒนา หรือ
  • ฝ่ายแผนและนโยบาย

แต่ เท่าที่ผมคิดออกและกำลังทำอยู่  พบว่าแนวทางพัฒนาที่สำคัญก็คือ การใช้ KM ธรรมชาตินำทาง แนะให้ใช้ผลเชิงประจักษ์เป็นตัวชี้นำและวัดผลในการทำงาน ก็จะเปิดช่องให้ทุกฝ่ายเข้าใจกันมากขึ้น มีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน 

ถ้า แม้นักวิชาการก็ยังร่วมทำงานกันไม่ได้ การทำงานกับชาวบ้านและชุมชนก็จะยิ่งมีช่องว่างกว้างกว่าแน่นอน  

แต่ก็อาจมีบทกลับที่

ถ้านักวิชาการมาร่วมกันทำงานกับชุมชน เช่นในกรณีมหาชีวาลัยอีสาน

ก็อาจเป็นช่องทางให้นักวิชาการที่เปิดใจ มีความพร้อม เข้ามาทำงานร่วมกันจนเกิดพลังร่วม ที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน 

หมายเลขบันทึก: 116607เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2007 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 00:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
บางทีก็แบ่งปันกันไม่ได้เพราะติดสัญญาที่รับทุนมาอะครับ. เห็นหลายๆที่ทำของซ้ำๆกันแล้วก็ดูเศร้าๆ.
บางทีก็แบ่งปันกันไม่ได้เพราะติดสัญญาที่รับทุนมาอะครับ. เห็นหลายๆที่ทำของซ้ำๆกันแล้วก็ดูเศร้าๆ.
  • เห็นด้วยในบทกลับของอาจาย์ครับ
  • หากทุกคนไม่มองเหตุผลของตนเองเป็นที่ตั้ง  แต่เอาชาวบ้านเป็นตัวตั้ง
  • เมื่อนั้นการทำงานสนุกแน่ๆ ครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท