"อยากเด่น อยากดี อยากได้" อุปสรรคในการ Sharing Knowledge


สร้างการทำงานเป็นทีม เพื่อผลตอบแทนที่ดีเป็นทีม

นอกจากความเห็นแก่ตัวแล้ว  สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการ   Sharing Knowledge  อีกประเด็นหนึ่งที่อยากจะนำเสนอ  และคิดว่าทุกองค์กรน่าจะประสบปัญหานี้ ซึ่งก็คือ  การอยากเด่น  อยากดี  และอยากได้มากกว่าคนอื่นๆ  ทำให้ไม่มีใครในองค์กรอยากที่จะแลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดความรู้ของตนเองให้กับคนอื่น  เนื่องจากกลัวว่าคนอื่นจะมีความรู้มากกว่าตนเอง  และจะทำงานได้ดีกว่า  ผลงานดีกว่า  ซึ่งจะส่งผลให้คนๆนั้น ได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าตนเอง  ไม่ว่าจะเป็น  ได้เลื่อนขั้น  ได้ขึ้นเงินเดือน ได้โบนัสมากกว่า  เป็นต้น ดังนั้น  ผู้บริหารจะต้องขจัดความคิดเหล่านี้ให้หมดไป  โดยอาจสร้างการทำงานเป็นทีม  เพื่อผลตอบแทนที่ดีเป็นทีม  ซึ่งอาจมีการกำหนดรางวัล (reward) โดยให้ทั้งทีม ไม่ได้ให้รางวัลเฉพาะคนใดคนหนึ่ง  วิธีนี้จะทำให้แต่ละคนช่วยกันทำให้ทีมสามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรได้ตั้งเอาไว้  และช่วยลดปัญหาในเรื่องการชิงดีชิงเด่นของพนักงานในองค์กรได้ เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันมากยิ่งขึ้น  เพื่อทำให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1166เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2005 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สำหรับปัญหานี้คิดว่ามีอยู่ทั่วไปทุกๆองค์กร และเห็นด้วยกับวิธีการแก้ไขปัญหาแต่ก็ยังมีหลายๆกิจกรรมในองค์กร ที่ไม่สามารถผลักดันการสร้างผลงานในรูปแบบ Team work ได้ บางครั้งการให้แสดงฝีมือแบบ Individual ยังสามารถดึง knowledge จากบุคคลได้อย่างเต็มที่มากกว่า และบางครั้งการทำงานเป็นทีมก็มีจุดด้อย เช่น การไม่ให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ อาจคิดว่าถึงเราไม่ทำหรือทำนิดหน่อยเดี๋ยวคนอื่นๆก็ทำเอง ซึ่งมองว่าสำหรับกิจกรรมใดๆที่ยังคงต้องเป็น Individual show อยู่ก็อาจใช้หลักการการให้ผลตอบแทนเป็น Individual person เพียงแต่หลังจากผลงานนั้นถูกนำเสนอ ปรากฏออกมาแล้วก็อาจทำการเผยแพร่ กระจายความรู้เหล่านั้นให้ผู้ที่สนใจหรือเกี่ยวข้องทราบและจัดทำเป็นมาตรฐานเพื่อการจัดเก็บอย่างยั่งยืนต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท