การแก้ปัญหาอินเตอร์เน้ตของโรงเรียน


อินเตอร์เน็ต

โรงเรียนที่มีปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตลองอ่านบทความตรงนี้นะครับค้นคว้ามาฝากเพื่อแก้ปัญหาการรับส่งหนังสือราชการหรือเล่นอินเตอร์ได้  ถ้าเราสนใจลองติดต่อ องค์กการโทรศัพท์ใกล้บ้านดูครับ

เทรนใหม่ เล่นอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านแอร์การ์ด ได้สบายในทุกที่

แต่มีบางคนที่จะอยากจะสัมผัสกับการใช้งานแต่ติดความกังวลอยู่ที่ต้องใช้สายโทรศัพท์ โทรศัพท์ที่ใช้ต้องเป็นเอดีเอสแอล ต้องนั่งเล่นอยู่ที่บ้าน ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปที่ต่างๆได้

แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้น ทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์สะดวกง่ายได้มากขึ้น จะตัดความกังวลเหล่านั้นออกไปได้ เพราะจะสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องนั่งอยู่ที่บ้าน ใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการจะเล่น
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายในปัจจุบัน อาจมีทางเลือกอยู่หลายทาง เช่นการเชื่อมต่อแบบไวไฟ หรือแลนไร้สาย ตามจุดที่ให้บริการฮอตสปอตต่างๆ ถึงแม้จะได้อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่ และรัศมีในการใช้งาน จึงมีทางเลือกในการเชื่อมต่อให้เกิดความสะดวกมากขึ้น โดยใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะช่วยให้ไม่ต้องจำกัดพื้นที่ในการใช้บริการฮอตสปอตต่างๆ โยจะมีทางเลือกอยู่ 2 ทาง คือ เครือข่าย EDGA ของระบบจีเอสเอ็ม และเครือข่าย ซีดีเอ็มเอ 2000 1X ที่ให้บริการในระบบเครือข่ายซีดีเอ็มเอ
สำหรับเครือข่าย EDGAของระบบจีเอสเอ็มนั้น จากการสำรวจในเดือนกรกฎาคม 2548 มีดีแทคที่ให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น ขณะที่เอไอเอสมีการให้บริการเฉพาะจุดเท่านั้น มีความเร็วในการทำงานตามทฤษฎี 348 กิโลบิตต่อวินาที ใช้งานจริงประมาณ 80-100 กิโลบิตต่อวินาที ขึ้นกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในกลุ่มของซีดีเอ็มเอ 2000 1X ที่ให้บริการเพียงรายเดียว คือฮัทช์ นั้น มีความเร็วในการทำงานตามทฤษฎี 153 กิโลบิตต่อวินาที ใช้งานได้จริงประมาณ 80-100 กิโลบิตต่อวินาที ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ในการทำงาน แต่ข้อได้เปรียบอยู่ที่ สามารถใช้งานได้มากถึง 25 จังหวัด ซึ่งถือเป็นไวล์เลส โลคอล แอเรีย เน็ตเวิร์ค ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันก็ว่าได้
ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้น เป็นการให้บริการของผู้ให้บริการเครือข่ายในลักษณะของน็อนว็อยซ์ การเชื่อมต่อในลักษณะนี้เป็นการพัฒนามาจากการใช้จีพีอาร์เอส ที่ผู้ใช้หลายรายมองว่ายังมีราคาแพงอยู่ รวมทั้งมีสัญญาณที่มีความเร็วสูงสุดเพียงแค่ 171.2 กิโลบิตต่อวินาทีตามทฤษฎี แต่ใช้งานจริงๆ แค่ประมาณ 40 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้น จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี EDGA ตามออกมา ที่สามารถทำความเร็วได้มากกว่าจีพีอาร์เอสอยู่หลายขุม การเชื่อมต่อในลักษณะนี้จะมีแอร์การ์ดเป็นส่วนประกอบหลัก ภายในนั้นจะมีซิมการ์ดของผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละรายอยู่ เพื่อใช้เป็นการเชื่อมต่อ
มาดูกันว่าใครบ้างที่ต้องใช้แอร์การ์ด สำหรับคนที่มีสายฟิกไลน์อยู่แล้ว บางคนอาจจะยังไม่นึกว่าทำไมการเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านแอร์การ์ดจะจำเป็นมากมาย ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะเพิ่มขึ้น คนที่จะได้ประโยชน์จากแอร์การ์ดจริงๆ นั้นคงจะหนีไม่พ้นกลุ่มที่คนที่เป็นนักธรกิจไปจนถึงนักเรียนนักศึกษา ที่อาจจะมีความจำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตในสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ทีโน้ตบุคเพียงเครื่องเดียว รวมไปถึงคนต่างจังหวัดที่เข้ามาอยู่ตามหอพักหรือบ้านเช่าที่อาจจะไม่ค่อยสะดวกในการไปขอสายโทรศัพท์ จะไปลงทุนกับฟิกไลน์ก็อาจจะไม่ค่อยมีความสะดวกมากนัก อีกทั้งจุดฮอตสปอตต่างๆ ก็ยังไม่แพร่หลายนัก มีจุดยังไม่ครอบคลุม การใช้แอร์การ์ดจึงไม่ต้องกังวล เพราะที่ไหนที่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถออนไลน์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เลยทันที
ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือไร้สาย มีการเปิดให้บริการทั้งในส่วนของจีเอสเอ็ม และซีดีเอ็มเอ ในกลุ่มจีเอสเอ็ม จะมีทั้ง เอเอส ดีแทค และออเร้นจ์ และในกลุ่มซีดีเอ็มเอ จะมีฮัทช์เป็นผู้ให้บริการ โดยแอร์การ์ดของดีแทคจะเป็นเทคโนโลยีในกลุ่ม EDGA ซึ่งค่าบริการของดีแทคคิดในอัตราครอบคลุมทั้งโพสต์เพด และพรีเพด มีค่าบริการที่คิดเป็นนาทีอยู่ที่ 1 นาที 1 บาทและ 99 บาทใช้ได้ 12 ชั่วโมง ใช้เกินคิดนาทีละ 50 สตางค์ ตัวแอร์การ์ดที่เด่นๆ คือ PCMCIA ที่มีทั้งระบบจีพีอาร์เอส และ EDGA ในการ์ดเดียวของ โซนี่ อิริกสัน รุ่น จีซี 83 EDGA พีซีการ์ด
ในส่วนของฮัทช์มองว่ามีข้อได้เปรียบอยู่ที่ว่า ไม่ได้ใช้แอร์การ์ดได้เฉพาะในกรุงเทพฯเท่านั้น เพราะจะครอบคลุมการใช้งาน กว่า 25 จังหวัด รวมถึงฮัทช์เองยังได้ใช้ระบบเครือข่ายซีดีเอ็มเอที่รองรับการใช้งานในส่วนของดาต้าและมัลติมีเดียอยู่แล้ว โดยทางฮัทช์เริ่มมีการทำตลาดในเรื่องแอร์การ์ดนี้มาตั้งแต่ปีแล้ว ซึ่งล่าสุดจับมือกับหัวเว่ยออกแอร์การ์ด ฮัทช์ ดาต้า การ์ด หัวเว่ย อีซี 321 ที่เป็นการ์ด PCMCIA ที่ตัวการ์ด สามารถทำงานร่วมกับอาร์ยูไอเอ็มได้ นับเป็นการพัฒนาต่อจาก ฮัทช์ ไวล์เลส การ์ด เซอร์ร่า แอร์การ์ด 555 ที่เคยส่งลงตลาดไปตั้งแต่ปีที่แล้ว
จะสรุปแบบฟันธงว่าการใช้อินเทอร์เน็ตนอกสถานที่โดยผ่านระบบต่างๆ นั้น ยังไงซีดีเอ็มเอ 2000 1Xก็เหนือกว่า EDGA ทั้งเรื่องความเร็วและความคงที่ของสัญญาณ รวมไปถึงค่าบริการที่ถูกกว่าด้วย ถึงแม้ว่าจะใช้ได้เพียงแค่ 25 จังหวัด ก็ตาม แต่ EDGA นั้นจะให้บริการเฉพาะในกรุงเทพฯเท่านั้น ซึ่งมีแผนที่จะปรับปรุงไปทั่วประเทศก็ตาม ส่วนจีพีอาร์เอสยังจำเป็นที่ต้องใช้ผ่าน WAP บนโทรศัพท์มือถือเหมือนเดิม ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับแอร์การ์ด เนื่องจากมีข้อจำกัดเมื่อมีผู้ใช้งานมากๆ ช่วงเวลานั้นจะทำให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลช้าลงมาก เพราะความเร็วจะอยู่ที่ 40 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้น จะเหมาะกับการใช้งานเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอน เพราถ้ามีคนใช้ 2 คน ขึ้นไปจะต้องมีการแบ่งช่องสัญญาณกัน ไม่เหมาะที่จะใช้กับแอร์การ์ด
ดังนั้นซีดีเอ็มเอ 2000 1Xจึงเป็นเทคโนโลยีที่ได้เปรียบคู่แข่งในปัจจุบัน จนกว่าที่จะได้มีการทดลองการใช้งาน 3 จีที่ผู้ให้บริการเครือข่ายหลายรายให้ความสนใจในการลงทุนในขณะนี้ ซึ่งอีกไม่นานเกินรอในอนาคต เป็นผลให้มีการปรับปรุงสัญญาณกันอย่างชัดเจนให้มีเอกลักษณ์เด่นเฉพาะตัว เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ๆ สำหรับผู้ใช้บริการ
มองได้ว่าอนาคตจะมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ โดยใช้ แอร์การ์ด ในการเชื่อมต่อจะมีมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะสามารถที่จะข้ามช็อตขอบเขตการใช้งานไปได้อีกขึ้น ที่ไม่เหมือนการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านบรอดแบรนด์หรือ ฮอต สปอต ตามสถานที่ให้บริการต่างๆ อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือจะเหนือกว่า อย่างเช่นไม่อยากจะทำงานที่บ้าน ออกไปเปลี่ยนสถานที่ในการทำงานบ้างน่าจะดี หรือรถยนต์ส่วนตัวของคุณก็อาจเป็นออฟฟิศเคลี่อนที่ได้ เพราะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องง่ายในทุกที่ และทุกเวลา ยังไงก็เลือกใช้ได้ตามความต้องการและความจำเป็นในการใช้งานด้วย เมื่อเทคโนโลยีก้าวไปขนาดนี้ การใช้เทคโนโลยีก็ต้องเป็นไปในทางที่ถูกและเหมาะสม เพราะความสะดวกนั้นเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใช้งานได้ง่ายมากขึ้น ต้องดูกันให้ดีหน่อยแล้วกัน

หมายเลขบันทึก: 116536เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2007 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท