พรบ. สุขภาพแห่งชาติ - คุ้มครองใคร ?


ผมไปประชุมทีมวิจัยเรื่องฐานข้อมูลสุขภาพชุมชนที่ ก็คุยกันเรื่องสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลระดับต่าง ๆ ทราบมาว่า พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศใช้แล้ว จึง download มานั่งดูกัน 

ผมอ่าน มาตรา 7 แล้ว เกิดข้อสงสัย

 

อ่านดูท่อนแรก ก็ว่า เออ ดีแฮะ คุ้มครองความเป็นส่วนตัวดี 

แต่อ่านตอนท้าย ๆ  ชักลังเลว่า เอ นี่จะคุ้มครองใครกันแน่

ทำให้สงสัยว่าตัวเองตีความถูกหรือเปล่า โดยเฉพาะข้อความท้าย ๆ

คือสมมติว่าผมตายในโรงพยาบาล ถ้าดูตามมาตรานี้ ก็ตีความว่า ต้องเป็นผมเท่านั้น ที่จะสามารถเข้าถึงเวชระเบียนได้ พ่อแม่พี่น้องลูกเมียญาติมิตร ไม่มีสิทธิ ? (ติดใจตรงคำว่า ไม่ว่ากรณีใด ๆ)

ปัญหาคือ ถ้าผมตายแล้ว ผมจะกลับมาขอข้อมูลได้ยังไง ?

ถ้าผมกลับมาตอนนั้น ผมคงไม่มายุ่งกับเรื่อง"หยุมหยิม"พวกนี้อีก

ตั้งใจว่า ถ้าจะกลับ ก็อาจเป็นเวอร์ชันแนวหนังสยองขวัญไปนู่นเลย

หรือไม่ก็ทำตัวเป็นผีน่ารัก คิกขุ อะโนเนะ มาเน้นย้ำเรื่องปัจจัยพื้นฐานของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันให้กับญาติมิตร โดยเน้นทฤษฎีจำนวนเกี่ยวกับเซ็ทจำนวนต่างมิติเวลา (=เลขเด็ดงวดหน้า)

เพราะอ่านตามตัวอักษร ไม่น่าจะมีใครเลยในโลกมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลเวชระเบียนนี้ได้อีก

แปลก แปลกมาก แปลกมาก ๆๆๆ ว่าเป็นไปได้ยังไง

ผมตีความผิดไหม ?

ใครเข้าใจ ช่วยบอกผมที

 

หมายเลขบันทึก: 116518เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2007 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท