บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

การแสดงพื้นเมืองเพชรบูรณ์


วัฒนธรรมแบบผสมผสาน
การแสดงพื้นเมืองเพชรบูรณ์
 
 

            การแสดงพื้นเมืองเพชรบูรณ์ หรือจะเรียกว่า การละเล่นพื้นเมืองเพชรบูรณ์ก็สามารถเรียกได้เหมือนกัน แต่จะนิยมใช้อย่างแรกมากกว่า  ในบันทึกครั้งที่แล้วเขียนถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ไว้บ้างพอสมควร  เพื่อที่จะสามารถนำมาเชื่อมโยงต่อกับเนื้อหาบันทึกนี้

 

    จากการศึกษาค้นคว้าโดยการนำของ รศ.คมคาย  หมื่นสาย  อดีตเลขานุการศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์  และหัวหน้าศูนย์วิจัย สถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์  และคณะ พอจะสรุปได้ว่า

  1.       วัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  โดย เฉพาะจาก เมืองจันทน์  และ เมืองหลวงพระบาง  ได้แก่  อำเภอเมืองเพชรบูรณ์  อำเภอหล่มเก่า   อำเภอหล่มสัก   อำเภอหนองไผ่  เป็นต้น

 

  2.       วัฒนธรรมที่ได้อิทธิพลแบบชาวไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์  อำเภอวิเชียรบุรี  อำเภอศรีเทพ เป็นต้น        

3.   วัฒนธรรมแบบผสมผสาน  คือลักษณะของ ชาวลาว ชาวไทยภาคกลาง  ชาวไทยภาคเหนือ  และชาวต่างชาติ เข้ามาผสมผสาน  จึงทำให้เกิดวัฒนธรรมอันหลากหลาย อันเนื่องมาจากกลุ่มชน และอิทธิพลจากจังหวัดใกล้เคียง      

 

        ฉะนั้น ก็สามารถกล่าวได้ว่า จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีวัฒนธรรมอันหลากหลาย  อันเนื่องมาจากกลุ่มชน ภาษาและวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว เพราะจังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ภาคเหนือตอนล่าง และยังมีอาณาเขตติดต่อกับภาคกลาง และภาคอีสาน  การแสดงพื้นเมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์จึงมีความหลากหลาย และแปลกตาไปจากภาคอื่นทั้งสิ้น เป็นวัฒนธรรมเฉพาะของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์  

 

        ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ได้เล็งเห็นความสำคัญ การละเล่นพื้นบ้านของจังหวัดเพชรบูรณ์  จึงได้มอบหมายให้ภาควิชานาฏศิลป์ สถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์โดยการนำของนายชลอ  นุเทศ  หัวหน้าภาควิชานาฏศิลป์ ร่วมกับนางปิลันธนา  สงวนบุญยพงษ์ และคณาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์  พร้อมด้วยนักศึกษาวิชาเอกนาฏศิลป์ ได้ส่งเสริมอนุรักษ์พื้นฟูการละเล่นต่าง ของจังหวัดเพชรบูรณ์  ขึ้น  และได้มีผลงานจากการประดิษฐ์ นาฏยประดิษฐ์พื้นเมืองเพชรบูรณ์ นับถึง ปัจจุบัน  จำนวน  18  ชุดการแสดง อันประกอบไปด้วย     

   

 

                                                

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ระบำแห่ดอกไม้  ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2530       

2.ระบำตุ๊บเก่ง      ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2531       

3ระบำช้อนขวัญ    ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2531       

4.ระบำศรีเทพ      ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2532       

5.ระบำม้ง          ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2532       

6.ระบำเก็บใบยา   ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2532       

7.รำแขบลาน      ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2532       

8.ระบำแม่นางก้านหญ้าประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2533       

9.ระบำเก็บฝ้ายไล่นก ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2533       

10.ระบำนครเดิด      ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2534       

11.ระบำกะลอ        ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2535       

12รำโจ๋ง              ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2536       

13.ระบำสิงขรมหาเทวี ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2538       

14.ระบำคนแคระ      ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2539       

15.ระบำเมืองเล็ง      ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2539       

16.ฟ้อนพระธาตุปู่เถร ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2539       

17.ระบำเส็งกลอง     ประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2541

18.เต้นมนุษย์ถ้ำวังโป่งประดิษฐ์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2541   

          

 

           การแสดงพื้นเมืองของเพชรบูรณ์ ได้นำไปเผยแพร่ยังสถานศึกษาต่าง ในจังเพชรบูรณ์  และยังนำไปแสดงในงานสำคัญ อาทิเช่น งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ และนานาชาติที่จัดประจำทุกปี  งานประจำปีของจังหวัดเพชรบูรณ์  งานรับฑูตที่หอสมุดนานาชาติ อำเภอเขาค้อเป็นประจำทุกปี และยังได้เผยแพร่ในต่างประเทศอีกด้วย  นอกจากนาฏยประดิษฐ์พื้นบ้านแล้ว  ยังได้ดำเนินการอนุรักษ์ และส่งเสริมเพลงพื้นบ้านของเพชรบูรณ์ที่ได้รับมาอิทธิพลวัฒนธรรมจากภาคกลาง คือ เพลงฉ่อย  เพลงโลมหางเชือก เพลงฉ่อยทรงเครื่อง เพลงชักคะเย่อ ตลอดจนการละเล่นพื้นบ้านต่าง ของจังหวัดเพชรบูรณ์ก็ยังคงดำรงรักษาไว้มิให้เสื่อมไป 

   


ความเห็น (6)
  • น่าภูมิใจกับวัฒนธรรมพื้นเมืองเรานะค่ะ
  • เคยเห็นการแสดงบางชุดแล้ว...แต่ยังไม่ครบเลย  คงต้องไปชมที่งานอุ้มพระดำน้ำทุกปีซะมั๊ง.......
  • ทราบมาว่า  ระบำนครเดิด  เป็นการประดิษฐ์ท่า โดย  ครูเสกสรร  หรือ  "บัวชูฝัก" ใช่ป๊ะ
  • ขอบคุณค่ะ ที่นำเรื่องราวดีๆ มาบอกกัน

 

  • ขอบคุณครูหญ้าบัวที่เข้ามาให้กำลังใจอีกครั้งครับ
  • ที่ผ่านมาคนเพชรบูรณ์ไม่ค่อยได้เห็น ส่วนใหญ่สมัยที่ ท่านอาจารย์ชลอ ยังอยู่ ถูกเชิญไปร่วมงานมหกรรมวัฒนธรรมทุกๆปีครับ
  • บางชุดเช่นระบำแห่ดอกไม้ ระบำม้ง ระบำกะลอก็จะนำไปเผยแพร่ต่างประเทศครับ
  • จะพยายามนำเรื่องราวดีๆมานำเสนอต่อๆไปครับ
ผู้คิดระบำม้ง( มัลลิกา อ.)

คิดถึงอาจารย์ชลอจัง..สมัยเรียนได้รับความรู้และสิ่งที่ดี ๆ จากท่านเยอะมาก ตอนนี้ยังนำความรู้เรื่องการประดิษฐ์อุปกรณ์การแสดง กระบังหน้า การลงรักปิดทอง มาใช้สอนเด็ก โดยเฉพาะสูตรการผสมปูนปั้นที่หวงกันนักหนา อาจารย์ยังถ่ายทอดให้..แต่พี่ว่า

เสกอยู่บ้านเดียวกับอาจารย์ น่าจะได้ความรู้มากกว่าใคร ๆ ใช่ป๊ะ

  • สวัสดีครับพี่มัลลิกา
  • ดีใจที่พี่กาแวะเข้ามาเยี่ยมชมนะครับ
  • ต้องขอโทษด้วยที่ตอบช้าเพราะไม่ได้เข้ามาหลายสัปดาห์แล้วครับ
  • เรื่องทำเครื่องประดับก็ทำได้ครับ แต่ก็ไม่ค่อยจะมีเวลาในการทำสักเท่าไรครับ
  • ส่วนมากก็ซื้อครับสดวกดีครับ
  • แต่ชุดรำก็ตัดเองครับ
  • ขอบคุณมากนะครับพี่กา

ดีใจ ที่ได้เห็นการแสดงพื้นเมืองเพชรบูรณ์อย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง หลังจากไม่ได้เห็นมานาน

ขอบคุณมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท