ปัญหาของว่าที่ด็อกเตอร์


ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของการเรียนปริญญาเอกนี่คือการไม่มีปัญหา

   วันนี้ได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนที่เรียนปริญญาเอก  โทรมาปรับทุกข์ ทุกข์แสนสาหัสของเค้าตอนนี้คือ  อยู่ปี 3 (หลักสูตรจริงๆของการเรียนปริญญาเอกคือ 3 ปี) ก็ยังไม่รู้เลยว่าจะทำวิทยานิพนธ์เรื่องอะไรดี  โอ้...เป็นปัญหาใหญ่จริงๆ นั่นแหละ  เพราะว่าการทำวิทยานิพนธ์จะถือว่าเป็นหัวใจของการเรียนปริญญาเอกเลยก็ว่าได้  ตัวเองรู้ดีว่าปัญหาเรื่องนี้มันหนักหนาสาหัสเพียงไร  เพราะเคยผ่านช่วงเวลานั้นมาแล้ว  ยังจำได้ดีตอนที่จะหาหัวข้อวิทยานิพนธ์  มันนึกไม่ออกจริงๆ ว่าจะทำอะไร  บางทีนึกออกแล้ว  ไปปรึกษาอาจารย์  ก็ไม่ได้รับความสนใจ  ถ้าไม่มีใครสนใจเรื่องที่เราทำและรับเป็นที่ปรึกษา  งานนี้ก็ต้องพับใส่กระเป๋า  บางที่ทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว  พอลงมือค้นคว้า  ปรากฏว่ามีคนทำเรื่องนี้ไปซะแล้ว(ใครนะ  ช่างมีความคิดเหมือนเรา) ก็สรุปได้ว่ากว่าจะได้หัวข้อมาทำเนี่ย  เล่นเอาแทบแย่  ตอนคิดอะไรไม่ออกถึงขนาด  นอนมองจิ้งจกกัดกันเล่นในห้องก็เคยมาแล้ว  แต่พอบทจะคิดออกก็คิดออกมาได้ซะเฉยๆ วันนี้ก็เลยได้แต่ปลอบเพื่อนไปตามเรื่องว่า  ใจเย็นๆ เดี๋ยวก็จะคิดออกเอง  (เพื่อนมันคงอยากบีบคอ กับการแนะนำแบบนี้)

        แต่หลังจากคุยกับเพื่อนแล้ว  เราก็มาคิดได้ว่าปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของการเรียนปริญญาเอกนี่คือการไม่มีปัญหา  ก็มันไม่มีปัญหาอะไรนี่  ไม่สงสัยอะไรซักอย่าง  เห็นอะไรก็คิดว่าเป็นปกติวิสัยไปซะหมด  ก็เลยไม่รู้ว่าจะกำหนดปัญหาของการทำวิทยานิพนธ์ได้อย่างไร  แล้วอีกอย่างคนรุ่นเราเนี่ยไม่เคยถูกสอนให้มองอะไรที่เป็นปัญหามาก่อน  การทำวิจัยเพิ่งจะมารู้จักตอนเรียนปริญญาโทเอง  ในเมื่อสมองไม่เคยถูกฝึกให้คิดมาเป็นเวลา ตั้ง 20 กว่าปี  จะให้มาเริ่มคิดตอนเรียนปริญญาเอกก็ดูจะเป็นเรื่องยากอยู่  แต่เด็กสมัยนี้โชคดีกว่า  ตรงที่ว่าที่โรงเรียนมีการให้ทำโครงงาน  ซึ่งเราถือว่าเป็นการวิจัยชนิดหนึ่งตั้งแต่มัธยม  คงทำให้เค้าคุ้นเคยกับการทำวิจัยมากกว่าเด็กรุ่นก่อน 

      จากประสบการณ์ที่เคยไปอยู่ญี่ปุ่นพบว่า ที่โรงเรียนมีการให้เด็กทำวิจัยตั้งแต่ชั้นประถม  เค้าไม่ได้เรียกว่าโครงงานด้วยนะเรียกว่า วิจัยเลย  จะเริ่มให้เด็กวิจัยจาก ชั้นไหนตัวเองไม่แน่ใจ  แต่ชั้นที่เข้าไปดูงานคือชั้น ป.3 เด็กทำวิจัยแล้วมานำเสนออย่างเป็นเรื่องเป็นราว  (ไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว) เอาไว้บันทึกคราวหน้าจะเล่ารายละเอียดให้ฟัง 

      ไม่รู้ว่าตอนนี้การส่งเสริมให้คนทำวิจัยเข้าไปถึงในโรงเรียนประถมรึยัง ตัวเองขอยืนยันเลยว่าเด็กเล็กๆ สามารถที่จะเข้าใจกระบวนการทำวิจัย ทำได้จริงๆ

   

 

หมายเลขบันทึก: 116361เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2007 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
สมัยผมเขียนม.ต้นก็เริ่มวิจัย(มั้ง)บ้างแล้ว. เดี๋ยวนี้อาจจะถึงประถมบ้างแล้วก็ได้ครับ :-).

จริงอย่างที่ว่าทุกอย่าง ตอนนี้ตัวเองกำลังเรียน ป.โท บริหารการศึกษา ก็ยังมองไม่เห็นปัญหาไรเลย คิดไม่ออกจริงๆว่าจะหาหัวข้ออะไรในการทำวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ สงสัยคงต้องนอนมองจิ้งจกกัดกันบ้างแล้วมั้ง เผื่อจะคิดออก

สวัสดีค่ะ..ทะเลใจ  

  • ชื่อบันทึกชวนครูอ้อยเข้ามา  พอเข้ามาแล้วอ่านพบว่า  เออ..ยังมีคนเหมือนครูอ้อยที่มีปัญหาในการเรียนแฮะ...เลยสบายใจ   และพออ่านมาถึงตอนสุดท้าย...โรงเรียนประถมน่าจะมีสอน..การทำวิจัย...อูย..วาย...ปิ๊ง..น่าสนใจมากค่ะ...

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณทะเลใจ

สะดุดตาตั้งแต่ชื่อของบันทึก "ปัญหาของว่าที่ดอกเตอร์" แถมมาสะดุดใจในนามแฝงของคุณ "ทะเลใจ" เพลงโปรดสุดๆของแป๋มอีก วันหน้าแป๋มจะมาแจมบ้างนะคะกับเรื่องของ "ว่าที่ดอกเตอร์"...ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

คนที่ไม่เคยเรียนไม่รู้หรอกว่า

การเ รียนปริญญาเ อก มันสาหัสแค่ไหน

เรียน ป.เอกเหมือนกันค่ะ ใครไม่เรียนไม่รู้หรอกว่าเอาชีวิตเข้าแลกเลยทีเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท