ความเข้าใจต่อปัจจุบันขณะ..การฝึกสติ


                การฝึกสติ   หลายคนคงกำลังฝึกฝน  และปฏิบัติตนให้มีความสมบูรณ์  แห่งสติมากขึ้นเรื่อยๆ  

                

                    การจะฝึกและพัฒนาได้  ก็คงจะมีความรู้และความเข้าใจที่ดีและถูกต้องระดับหนึ่ง  เกี่ยวกับความหมายของสติ  และคุณค่าหรือความสำคัญ  รวมไปถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นและวิธีการฝึก

              

                   ผมเองรู้จักคำนี้มานาน  แต่คิดว่าคงเป็นความรู้ระดับความจำเท่านั้น  ไม่ได้เกิดปัญญากับคำนี้มากนัก

            

                  เท่าที่ผ่านมาก็พยามฝึก  เรียนรู้และเข้าใจ  และคาดหวังว่าจะยกระดับของสติ  ให้ดียิ่งๆขึ้น    แต่ก็ยังเป็นอะไรที่ยังไม่ละเอียด ไม่ลึกซึ้ง  เป็นเพราะว่าอาจจะยังติดในความคิด  ความรู้ความเข้าใจอาจจะไม่เพียงพอ

          

                  การฝึกที่ผ่านมาเช่น  การเดิน  การนั่งสมาธิ  ความมุ่งมันกับงาน  ความพยามรู้ตัวและตรวจสอบความรู้สึก  ความคิดตนเองเสมอๆว่าเป็นอย่างไร   แต่จริงๆแล้วเมื่อประเมินดูสภาวะทั้งวัน ที่สับสนวุ่นวายจากการดำเนินชีวิต  ก็รู้สึกว่าดีขึ้นระดับหนึ่ง  เท่านั้น..

 

        เมื่อช่วง6 เดือนที่ผ่านมา ได้เข้ามาลปรร  เรียนรู้เรื่องราวจากอาจารย์หลายๆท่าน พร้อมทั้งการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง แล้วนำมาฝึกปฏิบัติ  ก็พบว่าเริ่มจะมีความเข้าใจ  ในเรื่องของสติ  เรื่องปัจจุบันขณะ  เรื่องความคิดกับจิตที่ตื่นรู้    ตอนนี้เสมือนว่าเส้นทางแห่งการเรียนรู้ถึงจิตปัจจุบัน   การเรียนรู้เรื่องสติ  จะไกล้เคียงกับความจริงที่น่าจะถูกต้องมากที่สุด  ของสภาวะความรู้  เความเข้าใจ  หรือระดับปัญญาที่มีของเราตอนนี้

 

          หนังสือที่นำเรื่องของจิตปัจจุบัน  มาอธิบาย  มาเเสดง มาเปรียบเทียบ  ทำให้เราพอเห็นภาพและเข้าใจได้ระดับหนึ่งตอนนี้คือ แนวการอธิบายของท่าน ติชนัทฮันห์    Eckhart Tolle  ,  เป็นการอธิบายเรื่องนามธรรม  ด้วยภาษา  ที่น่าจะเป็นเสมือนบันได  ให้เราได้เรียนรู้และเข้าใจมากขึ้น

 

        สรุปคือ

             -  เมื่อเริ่มต้น  แม้ว่าเราจะเข้าใจและเชื่อว่าเรื่องนี้จะดีเมื่อปฏิบัติ   แต่เราก็ยังไม่สามารถทำได้ดี  เพราะขาดความเข้าใจที่แท้จริงและไม่ลึกซึ้ง

            -  ระดับสติปัญญา  ของเราอาจจะยังไม่เพียงพอ  แต่ถ้าเราพยามทำให้มาก  แสวงหาให้มากขึ้น  ไม่หยุดนิ่ง  แสงสว่าง หรือโอกาสและเส้นทางใหม่ๆ  การเติบโตจะมาสูเราเสมอๆ

            - การเข้าถึงความจริงของธรรมชาติ  ของจิตวิญญาณซึ่งเป็นเรื่องนามธรรม  เป็นเรื่องที่ยากยิ่งและละเอียดซับซ้อนที่สุดนั้น   บางครั้งการใช้ภาษามาอธิบาย  มาสื่อนั้นก็มีความสำคัญเหมือนกัน  เพราะอาจจะเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เราเข้าถึงความเป็นจริง  แต่เป็นความเป็นจริงเบื้องต้น   แต่ถ้ามัวแต่เมา  เอาภาษามาอธิบาย  มาพูดคุยอย่างเดียวแล้วยึดติด  ก็จะกลายเป็นเพียงเรื่องปรัชญาเท่านั้น  ไม่สามารถเก้าพ้นไปเป็นเรื่องของปัญญาหรือความรู้แจ้งได้

 

             ครับ  เป็นเพียงความคิดแว็บๆ  ที่ลอยมา  อาจจะดูสับสน วนไปมา ไม่มีแก่นสาระอะไร  แต่วัตถุประสงค์คือการสะท้อนความคิด  ความเข้าใจอันน้อยนิดที่มีอยู่  เผื่อว่าจะมีท่านอาจารย์  หรือว่าผู้เยี่ยมยุทธ์เข้ามาชชี้แนะ  ชี้ทางสว่างให้กับผู้ที่กำลังเดินทางตามหลังท่านๆเหล่านั้นอยู่ครับ

หมายเลขบันทึก: 116312เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2007 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ สุพัฒน์

  •        เห็นกล่าวถึงอาจารย์ติช นัท ฮันห์ ผมเองก็ศรัทธาและมีหนังสือของท่านอยู่หลายเล่ม แต่ตอนนี้กำลังอ่าน "กุญแจเซน" อยู่ อ่านบันทึกของสุพัฒน์ก็ทำให้นึกถึงเนื้อหาประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่หนังสือเล่มนี้ว่าไว้ นั่นคือ "ความรู้ที่เรามองว่าจริงแท้แน่นอนนั้น เป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวงของการตรัสรู้ " และ "ผู้รู้จักธรรมชาติจริง ย่อมไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ตัวเองรู้ได้"
  •         บางที เราๆท่านๆก็ลุ่มหลงอยู่ในอภิปรัชญา และอาภรณ์ของภาษามากเกินความจำเป็น จนลืมไปว่า ภาษาก็เป็นแค่สัญลักษณ์ในการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ในบรรดาสัญญลักษณ์และช่องทางอื่นๆที่มีอีกหลายอย่าง การเรียนรู้ทางภาษาแม้กระทั่งผ่านการเขียนบล็อกแบบนี้มีข้อจำกัดมหาศาล และถูกเบี่ยงเบนไปจากสาระที่ต้องการสัมผัสโดยง่าย แต่บ่อยครั้งที่คนมักจะติดกับดักนี้ จนมองข้ามการสื่อสารกันในรูปแบบที่ประณีตอื่นๆ ซึ่งมีอีกหลายทาง
  • ลองสำรวจจากตัวเราก็ได้ครับ

สวัดีครับพี่วิสุทธิ์

   * ขอบคุณมากครับที่มา ลปรร

   * ความเห็นพี่ให้มุมมองที่น่าสนใจ  และแตกต่างเสมอๆครับ  เนมุมมองที่ดีนะครับ

  *ใช่แล้วครับ  ผมก็กลัวที่จะหลงภาษาและติกกับดักของปรัชญาเท่านั้น  พยามแยกแยะอยู่ครับ

สวัสดีค่ะ

  เป็นคนหนึ่ง ที่น่าจะกำลังยืนอยู่ในจุดที่ใกล้เคียงกับคุณสุพัฒน์ สตินี้ ก็ศึกษามานาน แต่มันก็เป็นเหมือนสิ่งที่ เข้าไม่ถึง เหมือนคำว่าสมาธิ แต่ที่สุด ก็ลงมือปฎิบัติ แต่ดิฉันมีกัลยาณมิตรท่านหนึ่งได้เมตตาสอน เป็นลำดับ และเมื่อเกิดผลใด ท่านก็จะชี้แนะให้ ก็ทำให้มีความก้าวหน้า และเข้าใจมากกว่าเดิม เช่นแต่ก่อนนั่งสมาธิ ก็ใช้การเพ่งให้นิ่งในสิ่งที่บริกรรม แต่เมื่อถึงจุดที่จะก้าวหน้าต่อไป กลับทำไม่ได้ มันหมดพลัง ต่อมาได้รับคำแนะนำในการแยกจิต ออกจากกาย ตือ เอาจิต ดูการกระทำของกาย ถ้าจะทำสมาธิ ก็ดูอารมณ์เดียวให้นาน โดยใช้สติ คือการระวังไม่ให้เผลอ และดูต่อเนื่องมากๆเข้า จะเกิดสภาวะเปลี่ยนแปลงเอง เอาเป็นว่าลองทำดูก่อนนะคะ ความรู้ยังน้อย อธิบายอาจไม่ค่อยเข้าใจ เล่าประสบการณ์ ลปรร.กันค่ะ

หวัดดีจ้า คุณหมอสุพัฒน์

         น้องหาเวลาว่างสัก 7 วันไปปฏิบัติกับอาจารย์พิชัยและอาจารย์ศิริพร กรรณกุลสุนทร ที่วัดห้วยส้มเลย  ขอบอกๆ จะได้หลักมาปฏิบัติเองต่อเนื่อง แล้วมีอะไรติดขัด ส่งอารมณ์กับท่านอาจารย์ทางเวบหรือบลอกได้ด้วยค่ะ

กำลังฝึกและก็ฝึกมานานในเรี่อง  สติ  อขอนุญาตแนะนำคุณให้อ่านหนังสือของ  พ่อท่านพุทธทาสภิกขุที่สวนโมกขพลารามเรื่อง

*  อานาปนสติ

*คำกลอนสอนธรรม

*คู่มือมนุษย์

                ว่างก็สนทนาทางจดหมายอิเลกทรอนิกส์ได้

                                          พี่วาสนา

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท