การให้แต้มคะแนนเพื่อเร้าการอ่านจับใจความสำคัญ


แหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.

   ห้องเรียนครูภาทิพ

            การสอนอ่านจับใจความสำคัญในวันนี้ค่อนข้างจะประสบความสำเร็จ  โดยประเมินจากการร่วมมือ  ความสามารถในการจับใจความสำคัญ   ความกระตือรือร้นความมุ่งมั่นและรอยยิ้มของเขาและเธอ   ครูก็ชื่นมื่นในความสำเร็จด้วย   
สื่อ             สารคดีเรื่องความสนุกในวัดเบญจมบพิตร จาก   
                หนังสือทักษสัมพันธ์เล่ม ๑ 
      หน้า ๕
วิธีการ       
             ๑.             ให้ความรู้ ครูอธิบายถึงใจความสำคัญที่ปรากฏในแต่ละย่อหน้าว่า  หากเป็นย่อหน้าขนาดเล็กจะมีใจความสำคัญเพียงใจขนาดสั้น ใจความเดียว  วรรคเดียวอยู่วรรคแรกบ้าง ตรงกลางบ้าง หรืออาจจะเป็นวรรคสุดท้ายบ้าง


            ๒.             จัดทำตารางบันทึกคะแนน(แต้ม)บนกระดานตามแถวที่นั่งของนักเรียน              

แถวที่ ๑

แถวที่ ๒ แถวที่ ๓
     

 

๓.                         ให้นักเรียนอ่านนำเรื่องแบบสำรวจ ย่อหน้าแรกซึ่งมี ๓ บรรทัด ว่าใจความสำคัญคืออะไร    

 

๔.                         นักเรียนในแต่ละแถวสำรวจข้อความแล้วยกมือตอบ  หากตอบเกือบถูกครูก็บอกไปเลยว่าถูกกี่เปอร์เซ็นต์ หรือเกือบถูก  หรือไม่ใช่   ให้โอกาสกับทุกคนในแต่ละแถวที่ยกมือจนกว่าจะมีคนตอบถูก  (ย่อหน้าแรกมีนักเรียนตอบถูกทันที)

 

๕.                         เมื่อแถวใดตอบถูก  ก็ขีด / ๑ แต้มให้กับนักเรียนแถวนั้น   จะยิ่งกระตุ้นให้ทุกคนช่วยกันหาคำตอบในย่อหน้าถัดไป

 

๖.                          ย่อหน้าที่ ๒ ทำเช่นเดิม  ใครตอบได้ก่อน  แถวนั้นได้คะแนนก่อน  ไปถึงย่อหน้าที่ ๓  ก็ทำเช่นนี้

 

๗.                         การจับใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง  ย่อหน้าแรก ๓ บรรทัดครึ่ง  นักเรียนจับได้ง่ายเพราะสังเกตง่าย   ย่อหน้าที่ ๒  เป็นเนื้อหาหลักของเรื่อง  ความยาวหลายสิบบรรทัด  ครูต้องพยายามกระตุ้นใช้คำถามนำเข้าช่วยบ้าง  เช่น

 งานนี้เป็นงานอะไร................     ยังมีใจความสำคัญอีก  ใครตอบได้ (จุดประสงค์ของการจัดงาน)       ยังมีอีก  ครูกระตุ้นไปเรื่อย ๆ (บรรยากาศของงาน)   ให้คะแนนทุกครั้งที่มีผู้ตอบได้   หากยังตอบไม่ได้  เกือบถูก    /ถูก๖๐ %   ถูก  ๗๐%   ถูก ๘๐%   เมื่อครูกระตุ้นเช่นนี้  ก็จะทำให้กลุ่มที่ยังไม่ได้ตอบสามารถหาคำตอบได้   ใครเร็วใครได้   ยังมีอีก   (ความประทับใจของผู้เขียน)   ยังมีอีก

 (ผู้ได้รับผลประโยชน์)    

 

๘.                         นักเรียนบันทึกแต้มที่ได้จากแถวตนลงสมุดไว้

            ๙.                          บันทึกใจความสำคัญลงสมุด  โดยครูอธิบายใช้คำนำให้นักเรียนต่อความด้วยปากเปล่า ๑ ครั้ง   แล้วนักเรียนบันทึกลงสมุด เช่น               วัดเบญจมบพิตรเป็นวัดที่...............เรื่องความสนุกในวัดฯ เป็นงานเขียนประเภท...........ที่ใช้โวหาร.........ผู้เขียนได้เล่าเรื่อง............ให้กับ............งานวัดนี้คือ...........ในรัชสมัย..................มีจุดประสงค์เพื่อ..............ลักษณะของงาน...............บรรยากาศของงาน.............. ความประทับใจของผู้เขียน................ผู้ทีได้รับผลประโยชน์ได้แก่.....................................  

 

ผลด้านความรู้

          ๑.     นักเรียน ๙๖ % กระตือรือร้นในการอ่านและค้นหาคำตอบ  มีนักเรียนที่ซุกซนเพียงห้องละ ๑ คนที่นั่งเล่นละเลย

         ๒.   นักเรียนคนอื่น สามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเองหลังจากเห็นเพื่อนหาคำตอบได้

         ๓.   นักเรียนสามารถบันทึกการอ่านจับใจความสำคัญลงสมุดได้  ในระดับดีมาก  ๓๑ %   ระดับดี  ๕๘ %  และระดับพอใช้  ๑๑ %

 ผลด้านจิตใจ           

             นักเรียนยิ้มแย้มดีใจกับแต้มที่ได้รับ

ทฤษฎีการเรียนรู้           

              ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์(Skinner)ให้สิ่งเร้าที่เป็นแรงเสริมต่าง ๆ

การต่อยอดความรู้           

             นักเรียนเลือกเขียนเรื่องเล่าประสบการณ์ การเข้าค่ายภาษาอังกฤษ (English Camp)หรือค่ายวิทยาศาสตร์

 

 แหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.

หมายเลขบันทึก: 116292เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2007 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เรียนครูภาทิพ

ความรู้ของอาจารย์ที่นำเสนอมีประโยชน์ทุกเรื่องเลยค่ะดิฉันจะนำไปทดลองค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูภา ขอบค่ะ  ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

สวัสดี คะ ครูภา

ดิฉันรู้สึกดีใจที่มีครูภาษาไทยเช่นคุณครู ทำให้การเรียนการสอนภาษาไทยไม่น่าเบื่อหน่าย เด็กโรงเรียนนี้โชคดีจริงๆ ขอให้นำเสนอสิ่งดี ๆ ต่อไปค่ะ ดิฉันจะคอยติดตาม

สวัสดีค่ะครูวัลล์   ติดตามผลงานต่อไปนะคะ  ขอบคุณค่ะ

ขอแนวทางการสอนภาษาไทยกับเด็กไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม ชั้น ป.1 ซึ่งเรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สาม เพราะสอนยากเหลือเกิน เนื่องจาก ผปค.ไม่ส่งเสริมเท่าที่ควร น่าจะมีอะไรดีๆ จากแนวคิดของอาจารย์ ประกอบกับ น.ร.ไม่จำชื่อของอักษรแต่ละตัว ทั้ง พยัญชนะ สระ และ วรรณยุกต์

สวัสดีค่ะ  เห็นใจอาจารย์อย่างยิ่งเลยค่ะ

ปกติการสอนภาษาไทยกับเด็กไทยรุ่นใหม่ที่มีสื่อรบกวนก็เป็นภาระหนักอึ้ง   แต่สำหรับอาจารย์นั้นหนักยิ่งกว่าใคร ๆ

ปัญหานี้คงจะขอความร่วมมือจากผู้ปกครองไม่ได้ค่ะ ในความคิดของครูภาทิพคือ

๑. เริ่มจากตัวครูก่อน  คือครูต้องวางเป้าหมายไว้เลยว่าเทอมนี้  ฉันจะทำให้เด็กกลุ่มนี้มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาขึ้นในเรื่องใด  โดยที่เราต้องไม่นำอคติเรื่องที่เป็นลบมาเป็นตัวรั้ง   ซึ่งเป้าหมายนั้นต้องมีความเป็นไปได้และไม่เหนื่อยจนเกินไป  เพราะถ้าเหนื่อยมากครูจะท้อเสียก่อน    เช่นสิ้นเทอมนี้นักเรียนจำตัวอักษรไทยได้

๒. การกระตุ้นให้เด็กจำตัวอักษร  (ครูภาทิพไม่ได้เรียนมาด้านการสอนเด็กประถม)  

    ๒.๑ มีหนังสือ ก.สมัยใหม่ที่เป็นเพลงมีภาพสวย ๆ หามาให้เด็กอ่าน

   ๒.๒ ให้เด็กสังเกตเองว่าอักษรตัวนี้ คล้ายอะไรเหมือนอะไร  ให้เขาจำตามวิธีหรือสิ่งแวดล้อมของเขา

   ๒.๓ นำ ก.- ฮ  มาทำเป็นเพลง  ของท้องถิ่น ให้เด็กเต้นท่าตามตัวอักษร

   ๒.๔  เล่นเกม ค้นหาตัวอักษร  หรือต่อเสริมอักษรให้สมบูรณ์โดยใช้กระดาษที่ใช้แล้วหรือกระดาษกิโล   ถ้าเป็นเด็กผู้หญิงให้ใช้สีระบายตกแต่งตัวอักษร   แล้วนำอักษรนั้นมาอ่านให้ครูฟัง

 

สวัสดีค่ะครู หนูมารายงานตัวค่ะ หนูชื่นชมครูมากค่ะ หนูก็เป็นครูสอนภาษาไทยคนหนึ่งเหมือนกัน หนูเห็นแนวการสอนของครูแล้วยอมรับค่ะว่า ครูภาษาไทยสมัยนี้เปลี่ยนไปแล้ว ที่สำคัญครูเป็นต้นแบบให้หนูมีกำลังใจและไม่ท้อต่อความแคลงใจ ว่าทำไมครูภาษาไทยสมัยนี้สอนไม่เหมือนสมัยก่อน หลายครั้งหนูสอนโดยนำเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวในวิถีชีวิตประจำวันมาสอนค่ะ เช่นหนูสอนเรื่องการสื่อสาร หนูยกตัวอย่างป้ายสัญญาณจราจรซึ่งเกี่ยวข้องในวิถีชีวิตประจำวันของนักเรียน หนูก็ถูกมองอย่างคลางแคลงว่ากำลังสอนเล่นอะไร หรือบางครั้งหนูให้นร.ดู vcd เรื่องเงาะป่า ของครูเล็กภัทราวดีซึ่งมันค่อนข้างมีการตีความแปลกใหม่ และมีรูปแบบการแสดงที่มิได้อ่อนช้อยงดงาม และมันก็เข้าถึงอรรถรสในความเป็นศิลปะได้ดี แล้วให้นร.วิเคราะห์ตัวละคร การกระทำ แก่นเรื่อง แง่คิดต่างๆ หนูก็ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าให้นร.ดูอะไรที่ไม่งดงามไม่เป็นสาระ เฮ้อ! ครูขาขอกำลังใจหน่อยค่ะ

สวัสดีค่ะ  ขอชื่นชมค่ะที่หนูได้ใช้นวัตกรรมต่างๆมาพัฒนาการเรียนการสอน

  หนูอย่าไปกังวลใจเรื่องใครจะมองหรือพูดอะไร

คนที่หนูควรจะคำนึงถึงมากที่สุด เด็ก

๑. กิจกรรมส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้หรือเปล่า

๒. เด็กพึงพอใจกับวิธีการสอนของหนูหรือเปล่า หรือเขาต้องการให้ครูอธิบายอย่างเดียว

๓. บรรยากาศการเรียนรู้ดีไหม 

มอบช่อดอกไม้มาเป็นกำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูภา

อรกำลังจะไปฝึกสอนค่ะ รู้สึกตื่นเต้นมาก กลัวจะสอน ไม่เป็นด้วยค่ะ เกิดรู้สึกกลัวขึ้นมา จะได้ไปฝึกสอนแล้วอาทิตย์หน้าค่ะ

อร ได้อ่าน แนวการสอนของคุณครูแล้วจะนำไปเป็นแนวทางค่ะ อีกอย่าง สอนภาษาไทยด้วย ถึงจะเป็นภาษาประจำชาติของเรา แต่อรก็ไม่มั่นใจ เพราะ ที่อาจารย์สอนมาบอกว่า ครูต้องมีความรู้ในวิชาที่จะสอนมากเป็นพิเศษ

ขอกำลังใจจากอาจารย์ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ว่าที่คุณครู

    ขอมอบกำลังใจให้ค่ะ  ครูอร สู้ !สู้ !

บ้านมารีอัน  กลางเกาะ ประเทศสวีเดน

สวัสดีค่ะ ครูภาทิพ

รู้สึกประทับใจที่มีคุณครูดีอย่างคุณครู อยากขอคำปรึกษาว่า ทำอย่างไรกับนักเรียนที่ไม่ออก เขียนไม่ได้ เพราะได้ทำหลายวิธีก้ไม่สามารถพัฒนาให้นักเรียนอ่านและเขียนได้

สวัสดีค่ะ ครูลำแพน   น่าจะสอนระดับประถมฯนะคะ  ขอแนะนำ

การแก้ไขการอ่านไม่ออกของนักเรียน   ลองไปที่นี่

     อาศรมก้ามกุ้ง  วิมานไม้ไผ่

  • ครูลำแพน ลองนำนิทานมาให้เด็กอ่านออกเสียง
  • ให้เด็กเก่งออกเสียง  ใส่อารมณ์ให้เพื่อนๆ ฟัง
  • หรือไม่คุณครูก็อ่านออกเสียงแล้วให้เด็กแสดง
  • ลองดูนะคะ

สำหรับการแก้ปัญหาการเขียน

  •    ให้เขาเริ่มจากเรื่องใกล้ตัว  เรื่องที่เขารู้
  • เขียนบ่อยๆ ที่สำคัญครูแสดงฝีมือให้เด็กเห็นด้วย 
  • มีผลงานของคุณครูแสดงไว้ในห้อง 

 ขอแนะนำแค่นี้ก่อนนะคะ

 


 มาทักทาย ด้วยใจคิดฮอด

  • สวัสดีครับคุณภาทิพ และคุณลำแพน
  • ขอบคุณคุณภาทิพที่ให้เกียรติผมตลอดมา
  • ผมรู้สึกว่าตัวเองต่ำเตี้ยติดดินเมื่อเข้ามาในบันทึกของคุณภาทิพครับ
  • หากว่าคนเล็ก ๆ อย่างก้ามกุ้งพอจะมีประโยชน์อยู่กับเพื่อน ๆ ครูอยู่บ้างก็ยินดีครับ
  • ขอบคุณด้วยความจริงใจ

สวัสดีค่ะ คุณกิตติพัฒน์  ขอบคุณที่แวะมาค่ะ  

เช่นเดียวกับครูภาทิพ  เมื่อไปอ่านที่   อาศรมก้ามกุ้ง  วิมานไม้ไผ่

ครูภาทิพมีอาการเหมือน  แมงตับเต่า

ทึ่งในวิธีการนำเสนอ   มองเห็นถึงความใจเย็น  ละเมียดละไม   การจินตนาการ

ใจเย็นมาก   ที่สำคัญ  การพิสูจน์อักษรสุดยอด   ซึ่งตรงข้ามกับครูภาทิพคิดเร็ว  พิมพ์เร็วจึงผิดเร็ว  อิอิ

นางวิภาพร สิริสุนทรานนท์

เป็นรูปแบบการสอนที่น่าสนใจมากค่ะ

                                           ครูวิภา

ผมคิดว่าการเรียนการสอนควรเน้นกระบวนการ ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ และจิตวิทยาการเรียนการสอน เน้นการสอนตามมาตรฐานตัวชี้วัด เช่นภาษาไทยเรื่องการอ่านจับใจความ เรื่องทองแดง แล้วให้เด็กใช้กระบวนการของบลูมโดยครูเป็นผู้ตั้งคำถามจากเรื่องให้นักเรียนตอบตามประเด็นนั้นใน1เล่มเราควรกำหนดเวลาส่ง นักเรียนก็จะได้ฝึกทำและฝึกความรับผิดชอบไปในตัว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท