ไหมเลี้ยงแขก


ไหม

ไหมเลี้ยงแขก

วิโรจน์ แก้วเรือง               

        ผมได้มีโอกาสไปฝึกอบรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่เมืองไมซอร์และบังกาลอร์ เมืองทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ใช้เวลาเดินทางโดยเครื่องบินประมาณ๒ ชั่วโมงครึ่ง จากกรุงเดลลีถึงเมืองบังกาลอร์ก่อนที่จะต่อด้วยรถบัสไปที่เมืองไมซอร์อีก ๑๔๒ กิโลเมตร ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของเมืองบังกาลอร์ เป็นที่ตั้งของศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเขตร้อน(๑) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ถึงจะมีเวลาฝึกอบรมเพียง ๑๒ วัน (๑๕-๒๖พฤศจิกายน ๒๕๓๖) เพราะเป็นหลักสูตรสำหรับผู้บริหารหรือนักวิชาการที่มีส่วนในการวางแผนงานวิจัย หรืองานส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของประเทศต่างๆ  ที่กำลังพัฒนา  แต่มีความตั้งใจที่จะเก็บสิ่งที่พบเห็นมาเล่าสู่กันฟัง               

       การไปอินเดียครั้งนี้ มีอุปสรรคมากมายในการเดินทาง ต้องช่วยเหลือตัวเองตลอด กว่าจะไปถึงที่ฝึกอบรมเมืองไมซอร์ต้องอดข้าวอดน้ำตลอดวัน                ความคิดในเบื้องต้นก่อนเดินทางจากเมืองไทยคาดว่าจะได้มีโอกาสไปดูแขกเลี้ยงไหม แต่หลังจากกลับจากอินเดีย ได้เห็นกิจกรรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของอินเดียแล้ว ความคิดและความรู้สึกผมเปลี่ยนไป               

   วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๖ ได้มีโอกาสไปเยี่ยมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่หมู่บ้านบัลเลนาฮาลี ตำบลศรนาคาพัฒนา  เมืองไมซอร์ รัฐคานาตากะ มีเกษตรกรเพียง ๕ ราย เลี้ยงไหมลูกผสมระหว่างพันธุ์ที่ฟักออกตลอดปีกับพันธุ์ฟักออกปีละ ๒ ครั้ง ในฤดูร้อน เป็นพันธุ์พื้นเมืองของอินเดียกับพันธุ์ ต่างประเทศ  ถ้าเปรียบกับของไทยก็เรียกว่า พันธุ์ไทยลูกผสมในฤดูหนาวจะเลี้ยงพันธุ์ลูกผสม      ที่ฟักออกปีละ ๒ ครั้ง หรือที่เราเรียกว่าพันธุ์ต่างประเทศลูกผสม ในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยไม่เกิน   ๓๕0ซ. ในฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ ๒๖0ซ. สภาพภูมิอากาศของรัฐนี้เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหม     ได้ตลอดปี พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทาน  วัสดุในการเลี้ยงไหมใช้กระด้งแบบของไทย มีทั้งการเลี้ยงในบ้าน และโรงเลี้ยงไหม ซึ่งก่ออิฐ     ถือปูนผนังหนา ทำให้อุณหภูมิภายในต่ำกว่าภายนอกมาก เช่นเดียวกับโบสถ์ตามวัดต่างๆของไทยที่มีอากาศเย็นสบายทุกฤดูกาล ทำให้อุณหภูมิเหมาะสมต่อการเลี้ยงไหม ไหมแข็งแรงไม่อ่อนแอต่อโรค               

      นอกจากนั้น เกษตรกรทุกรายจะไม่อาศัยรายได้จากการเลี้ยงไหมเพียงอย่างเดียว แต่จะทำการเกษตรผสมผสานร่วมกับการปลูกมะเขือเทศ  ข้าว  มะพร้าว  อ้อย  ทำให้มีรายได้ตลอดทั้งปี               

     ตอนบ่ายได้ดูตลาดรังไหมที่เมืองรามานาการัม(๒)  ซึ่งควบคุมโดยรัฐบาลของรัฐคานาตากะเป็นตลาดเปิด  เกษตรกรจากที่ต่างๆ จะนำรังไหมที่เลี้ยงได้ขายที่ตลาดแห่งนี้  โดยเสียภาษีให้รัฐ ๑๐ รูปี/ถาด(๓)  ถาดขนาดประมาณ ๑.๐ x ๒.๕ x ๐.๑๕ ม.  (กว้างxยาวxสูง)  ผู้สาวไหมจะมาประมูลซื้อรังตามคุณภาพของรังไหมและความพอใจ  ตลาดแห่งนี้เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในจำนวน ๗๕ แห่งทั่วประเทศโดยจะรังไหมหมุนเวียนวันละ ๓,oo กิโลกรัม เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพสาวไหมในเมืองนี้จะมีถึง ๒,ooo ครอบครัว 



(๑ ) International Central Training and Research Tropical Sericulture.  
      ผมรู้สึกตื่นตาตื่นใจมากในขณะที่เดินดูการประมูลซื้อขายรังไหม อยู่ในตลาดรังไหมแห่งนี้เกษตรกรที่เลี้ยงไหม เมื่อได้รังแล้วก็จะใส่ตะกร้าเทินไว้บนศีรษะ นำรังไหมจากบ้านมาตลาดรังไหมส่วนผู้สาวไหมก็จะมาซื้อรังไหม ดูสับสนวุ่นวายแต่ก็เป็นสีสันของผู้ดำรงชีวิตอยู่กับไหม เมื่อซื้อรังไหมได้เพียงพอแล้วก็จะนำรังไหมใส่ถุงขนาดบรรจุ ๔o-o กิโลกรัม เทินไว้บนศีรษะก่อนปั่นจักรยานกลับไปสาวกันที่บ้าน               
      ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๖ ประเทศอินเดียมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไหมประมาณ ๙oo ล้านรูปี  มีการนำเข้าประมาณ ๑,oo ล้านรูปี หลังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างจริงจัง มีการจัดตั้งองค์กรไหมแห่งชาติ (๔) ทำให้อัตราการนำเข้าและส่งออกใกล้เคียงกัน โดยในปี พ.ศ.๒๕๓๔-๓๕ มูลค่าในการส่งออกประมาณ ๔,oo ล้านรูปี การส่งออกในรอบ ๑o ปี เพิ่มมากขึ้นกว่า ๗oo เปอร์เซ็นต์ นับว่ากิจกรรมอุตสาหกรรมไหมของประเทศอินเดียประสบผลสำเร็จอย่างดีระดับหนึ่ง               
       เหตุผลที่รัฐบาลอินเดียสนใจวิจัยพัฒนาและส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างจริงจังก็คือ               
      ๑. การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสามารถทำรายได้อย่างต่อเนื่อง สามารถทำได้ทั้งฟาร์มที่มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตามกำลังทุน               
      ๒.การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นกิจกรรมที่ใช้แรงงานอย่างต่อเนื่อง               
      ๓.การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสามารถเชื่อมโยงกับกิจกรรมอื่นๆ ได้อีก เช่น การสาวไหม การทอผ้าและการขายผ้าไหม เป็นต้น               
      ๔.การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นกิจกรรมพื้นฐานของสตรีและเด็ก               
      ๕.การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจของสังคม                 
       ประโยชน์และความสำคัญของการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทั้ง ๕ ประการ ที่มีผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร และบุคคลรอบข้างของอินเดียอย่างชัดเจน ยังไม่เพียงพออีกหรือที่จะกล่าวว่า ไหมเลี้ยงแขก 
(๒) Ramanagaram Cocoon  Market
(๓) ๑oo รูปี = o บาท
(๔) Central  Silk Board
คำสำคัญ (Tags): #ไหมเลี้ยงแขก
หมายเลขบันทึก: 116279เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2007 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท