ปิ๊งแว่บ! การจัดการความรู้กับ 12 กิจกรรมทบทวน


กลับจากตลาดนัดความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ครั้งที่ 2 ชอบใจคำพูดของอาจารย์วัลลา ที่กล่าวว่า เวลาที่เราทำงานโดยทั่วไป เรามักเริ่มจากปัญหาตามด้วยแล้วจะแก้ไขอย่างไร แต่ในเรื่องการจัดการความรู้เราเริ่มที่ผลสำเร็จ ใครทำงานประสบผลสำเร็จก็เอามาแลกเปลี่ยนกัน เวลาที่เราเริ่มจากปัญหา เรามักจะคิดอะไรไม่ค่อยออก ดูตันไปซะหมด แต่พอเราเริ่มจากความสำเร็จ เริ่มจากความสุข ที่เรามีทีละเล็กทีละน้อย เราก็ไปต่อได้อย่างไหลลื่น เราไม่หวังผลที่เลิศเลอ ทีละเล็กทีละน้อยเราก็ถือว่าเป็นจุดเด่นได้ทั้งนั้น พอกลับมาถึงโรงพยาบาลหนองคาย ก็มาสานฝันที่ว่า ทำอย่างไรให้มีการขับเคลื่อนการทบทวน 12 กิจกรรม จึงนำแนวคิดการจัดการความรู้ หรือ KM มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพ ขั้นที่ 1 เรามีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทบทวนแต่ละกิจกรรม โดยนำหน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จจากการทบทวนมาเล่าเรื่องราว Story telling เรียนรู้และแบ่งปันกัน ขณะนี้เราดำเนินไปได้ 10 กิจกรรมทบทวนแล้ว ที่สำคัญเรานำปัญหา/ความเสี่ยงที่สำคัญเชื่อมต่อไปที่ระบบบริหารความเสี่ยงแล้ว จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้พวกเขาได้เรียนรู้และรู้คุณค่าของการได้ประโยชน์การใช้ KM

   เรื่องการจัดการความรู้หรือ KM เราเองคงจะหาความรู้กันได้ไม่ยากนัก วิธีหนึ่งหาความรู้ได้จากการศึกษาตำรา งานวิจัย อันนี้ไม่มีปัญหาเข้าถึงได้ง่าย ดึงมาใช้ก็ไม่ยาก แต่อีกวิธีหนึ่งต้องเอาอะไรไปหลอกล่อให้มันออกมาเพราะเป็นความรู้ในคน อยู่ลึกมาก บางครั้งเราไม่รู้ว่าตัวเองมีความรู้อันนี้อยู่ ชอบคำพูดของอาจารย์วิจารณ์ที่ว่า ความรู้ฝั่งลึกและขี้อาย แนวคิดของเรื่องการจัดการความรู้ก็มีกระบวนการแค่ว่า มีความรู้ที่แจ้งชัด ถ้าเราเข้าถึง เราตีความ เราก็เอามาใช้เรียนรู้ ยกระดับความรู้นั้นไว้ จากนั้นจึงนำไปรวบรวมจัดเก็บ ต้องอาศัยเครื่องมือกับเทคโนโลยี่มาช่วย หนีไม่พ้นเรื่องของ IT แต่ถ้าเป็นความรู้ที่ฝั่งลึก หรือความรู้ปฏิบัติ เราต้องเอามาใช้แล้วเราจะต้องมีใจแบ่งปันและแลกเปลี่ยนกัน ความรู้นี้แปลกน๊ะ ยิ่งแลกยิ่งให้ยิ่งได้ไม่เหมือนเงิน แล้วถ้ายิ่งใช้ความรู้ตรงนี้ยิ่งใช้ก็ยิ่งมากขึ้นด้วย ใช้ไม่หมด แนวคิดนี้ปิ๊งแว่บ! เข้ามาทันที ถ้าเราแลกเปลี่ยนให้เพื่อนเยอะเราก็ได้กลับมาเยอะ รู้สึกว่าความรู้มันจะเพิ่มพูนทั้งสองฝ่าย เพราะเน้นการเรียนรู้ร่วมกันยิ่งได้เรียนรู้จากกลุ่มในวันนั้นเราได้ความรู้จากเพื่อนๆเยอะมาก ก็เอาไปพิจารณา ไตร่ตรองและนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของเรา เกิดการบูรณาการความรู้ขึ้นมาอาศัยตัวช่วย คือ คนกับ Intervention ระหว่างคน

   กลับจากตลาดนัดความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ครั้งที่ 2 ชอบใจคำพูดของอาจารย์วัลลา ที่กล่าวว่า เวลาที่เราทำงานโดยทั่วไป เรามักเริ่มจากปัญหาตามด้วยแล้วจะแก้ไขอย่างไร แต่ในเรื่องการจัดการความรู้เราเริ่มที่ผลสำเร็จ ใครทำงานประสบผลสำเร็จก็เอามาแลกเปลี่ยนกัน เวลาที่เราเริ่มจากปัญหา เรามักจะคิดอะไรไม่ค่อยออก ดูตันไปซะหมด แต่พอเราเริ่มจากความสำเร็จ เริ่มจากความสุข ที่เรามีทีละเล็กทีละน้อย เราก็ไปต่อได้อย่างไหลลื่น เราไม่หวังผลที่เลิศเลอ ทีละเล็กทีละน้อยเราก็ถือว่าเป็นจุดเด่นได้ทั้งนั้น พอกลับมาถึงโรงพยาบาลหนองคาย ก็มาสานฝันที่ว่า ทำอย่างไรให้มีการขับเคลื่อนการทบทวน  12 กิจกรรม จึงนำแนวคิดการจัดการความรู้ หรือ KM มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพ ขั้นที่ 1 เรามีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทบทวนแต่ละกิจกรรม โดยนำหน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จจากการทบทวนมาเล่าเรื่องราว Story telling เรียนรู้และแบ่งปันกัน ขณะนี้เราดำเนินไปได้ 10 กิจกรรมทบทวนแล้ว ที่สำคัญเรานำปัญหา/ความเสี่ยงที่สำคัญเชื่อมต่อไปที่ระบบบริหารความเสี่ยงแล้ว จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้พวกเขาได้เรียนรู้และรู้คุณค่าของการได้ประโยชน์การใช้ KM

   หน่วยงานต่างๆมีเรื่องราวมาเล่าในแต่ละครั้งเยอะมาก ได้ Share & Learn ร่วมกัน ที่ไม่เคยคุยเคยแต่ประสานงา ตก น. ก็ได้มาพูดคุยกันระบายความในใจ ความขับข้องใจกัน ประเด็นปัญหาที่หน่วยงานแก้ไขไม่ได้ ก็ได้รับการสนับสนุนจากทีมผู้บริหาร เราเล่าเรื่องราวแบบข้อมูลดิบๆ เล่าให้เห็นตัวตน เห็นพฤติกรรม เห็นความคิดความเชื่อที่อยู่เบื้องหลัง ในขณะเดียวกันเรื่องเล่าทุกเรื่องเริ่มทยอยออกสู่สายตาโดยเผยแพร่ใน LAN และจดหมายข่าว ศูนย์ QIC เพื่อให้คนทั่วไปได้เรียนรู้ หน่วยงานรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานของตัวเอง เราเองก็รู้ว่าหน่วยงานทำอะไรบ้าง ภาพรวมของความเสี่ยงเยอะมากขึ้นอย่างถนัดตา มีการรายงานความเสี่ยงทุกวัน วันละหลายๆเรื่อง  จากเดิมไม่ค่อยมีรายงานความเสี่ยงและไม่รู้จะใช้ช่องทางไหนติดตามความก้าวหน้าของ 12 กิจกรรมทบทวน

   ไปตลาดนัดความรู้ครั้งนี้ไม่ผิดหวังเลย  พอเข้ามารับรู้เรื่องการจัดการความรู้ก็ได้เห็นเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เราก็นำเทคนิคนี้มาใช้ใน 12 กิจกรรมทบทวน ได้ผลจริงๆ เดี๋ยวนี้เราแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันแล้ว เรายังช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขอบคุณทีมอาจารย์เป็นอย่างมากที่ให้โอกาสเราและทำให้เรามีวันนี้ ก็กำลังขะมักเขม้นกับ  12 กิจกรรมทบทวนแบบเข้มอยู่ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเยี่ยมประเมินบันไดขั้นที่ 1 ค่อยๆทำทีละนิดเพราะโรงพยาบาลของเราขนาด 349 เตียง บุคลากร 700 กว่าคน ติดขัดตรงไหนก็เลี้ยวแวะไปทำที่อื่นที่ทำได้ง่ายๆก่อน แล้วค่อยวกกลับมาจุดเดิมใหม่ ก็จะเดินหน้าสู้ต่อไป

                                                      จาก...Bluter fly Pea ผู้นำเสนอกลุ่มดอกอัญชัน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 11627เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2006 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
รู้สึกชื่นชมทีม รพ.หนองคายมาก ที่สามารถเก็บเกี่ยวความรู้ต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ได้ ปีนี้เครือข่ายเราจะมีการพัฒนาเทคนิคด้าน KM เพิ่มเติมให้แก่สมาชิก เช่น Storytelling, Dialoque รวมทั้งการพัฒนาบทบาทของ CKO ทีมของท่านอยู่ในข่ายที่จะได้รับเชิญนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท