งานปีใหม่ 2549 ที่อนามัยกะหรอ พบกับ รำวงย้อนยุค และ แฟนซีสีสันสุด ๆ


ร่วมแรงร่วมใจ สร้างความมีส่วนร่วม สร้างสำนึกความเป็นกลุ่มชุมชน

ศุกร์ 6 มกราคม 2549 เย็น ๆ

ชาวกะหรอ+ชมรมผู้สูงอายุ ร่วมงานปีใหม่ของ อนามัยหัวทุ่ง

ทีมวิจัยมวล. ร่วมงานปีใหม่ของสถานีอนามัยหัวทุ่ง หมอติ๋วเป็นแม่งานใหญ่

สถานที่ - แปลงบริเวณสถานีอนามัยหัวทุ่ง ต.กะหรอ เป็นคล้าย ๆ งานวัด มีลานรำวงย้อนยุค คล้าย ๆ ฉากในหนังเรื่องเพื่อนสนิท

ได้ข่าวว่าเริ่มงาน ตั้งแต่ บ่าย 2 โมง แต่เท่าที่คุยกับหลาย ๆ คน ได้ข่าวว่ามากันแต่เช้า ช่วยกันทำอาหาร ตกแต่งสถานที่ ร่วมแรงแข็งขันกันมาก ๆ

งานนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือของเจ้าของสถานที่ คือ สถานีอนามัยหัวทุ่ง อสม.ของทั้ง 5 หมู่บ้านที่อยู่ในการดูแลของสถานีอนามัย คือ หมู่ที่ 1, 3, 4, 5, 7, 8 (ส่วน หมู่ที่ 2, 6, 9 อยู่ในความรับผิดชอบของสถานีอามัยอีกแห่ง)

บรรยากาศคึกคัก ผู้คนมาก ไปถึงก็ได้กินข้าวเย็นของเขาเลย ได้ข่าวว่าอาหารมาจากทุกหมู่บ้านทั้ง 5 โดยมีการหยิบฉลากรายการอาหารหมู่บ้านละ 2 อย่าง (ร่วมแรงร่วมใจ สร้างความมีส่วนร่วม สร้างสำนึกความเป็นกลุ่มชุมชน) ส่วนชมรมผู้สูงอายุก็ไปสั่งไก่ย่าง 5 ดาวมาร่วมรายการ อร่อยมาก

 

มีอะไร ๆ น่าสนใจมากมาย อาทิ

  •  

  • พิธีกร ก็ เป็นคุณ อสม. + ทนายแม้ว คนในชุมชน
  •  

     

  • รำวงย้อนยุค เพลงขึ้นเมื่อใด หัวใจทุกคนพร้อมรำเสมอ
  •  

     

  • ให้เวลาทีมวิจัยมวล. 45 นาที ทำกิจกรรมกับชุมชน เราก็เลยเตรียมคำถามไปทาย (ดูคำถามได้จากน้องรัตน์ เจ้าของ km-karo1) พร้อมแนะนำ โครงการ พัฒนา เพื่ออยู่ดี กินดี มีสุข ไร้ทุกข์ ไร้หนี้ ด้วยตนเอง เพื่อตนเองและชุมชน โดยเชื่อมประสานและร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง
  • ประกวดชุดแต่งกายแฟนซี โดยมาจากตัวแทนหมู่บ้าน มีทั้ง ส่วยงานราวกับเจ้าสาว สร้างสรรเหมือนยกสวนผักมาให้ชม อนุรักษ์การแต่งกายไทยราวกับย้อนไปรุ่นคุณทวดโจงกระเบน หรือราวกับนางแบบบนแคทวอล์กมาเดินแบบที่กะหรอ ทุกคนจึงชนะใจกรรมการ
  •  

     

  • วงดนตรีที่มีเล่นในงาน ก็เป็นของชาวบ้านหมู่ 1 เอง เล่นกันเอง รำกันเอง ฮาเฮในชุมชน
  •  

     

  • แลกของขวัญกันเอง คนในชุมชนร่วมกันนำของขวัญมาแลก เป็นร้อย ๆ ชิ้น (สามัคคี มีพลัง สร้างสรรชุมชนมากจริง ๆ) นอกจากนี้มีของขวัญกลางที่หน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้ง มวล.ให้ไปด้วย สรุปว่าโต๊ะวางของขวัญยาวราว ๆ 30 เมตร คาดว่าจะต้อจับฉลากกันนานแน่ ๆ เลย

     

     

  • การรำวงแก้บน ที่ได้บนไว้ว่าไม่ให้ฝนตกในเย็นวันนั้น เมื่อฟ้าดินเมตตาแล้วก็ต้องแก้บนโดยจุดเทียน และธูปในชามแล้วคนนำถือชามดังกล่าว รำวงแก้บน
  •  

 

ชาวบ้านต่าง ๆ มาร่วมงานกันคึกครื้น มีรอบรำวงเหมาโดย อบต. มวล. เครือข่าย และคนส่วนใหญ่ก็ร่วมรำกันทุกรอบเสมอ ท่าทางสายเลือดนักแสดงกันสุด ๆ

 

อีกอย่างที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของสถานีอนามัย คือชั้นล่างทีการปูพื้นด้วยกระเบื้อง และจัดทำห้องเก็บของของชมรมผู้สูงอายุด้วย ทั้งนี้เกิดจากการร่วมกันทอดกฐินของชมรมผู้สูงอายุได้เงินมาเกือน 1 แสนบาท และพัฒนาในเป็นลานกิจกรรมที่ใคร ๆก็มาใช้ประโยชน์ได้

จากกิจกรรมนี้ พบว่า อสม. + ชมรมผู้สูงอายุ + อนามัย

  •  

  • สามัคคีเป็นพลัง (เชิงประจักษ์: ทอดกฐินนำเงินมาปูพื้น ร่วมจัดงานวันนี้อย่างยิ่งใหญ่)
  •  

     

  • แบ่งหน้าที่กันทำ (เชิงประจักษ์: แบ่งกันรับผิดชอบอาหาร แบ่งงานตามความถนัด เล่นดนตรี ร้องเพลง เป็นพิธีกร เป็นนางรำรับโค้ง)
  •  

    ประสานยื่นจับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เชิงประจักษ์: เห็นตัวแทนจาก อบต. ตำรวจ สถานศึกษา เข้าร่วมงาน)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 11617เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2006 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 11:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เสียดายไม่ได้ไปด้วย ไม่งั้นจะได้รำย้อนยุคด้วยคนครับ

ผมเข้าใจว่า ความกลมเกลียวของชุมชนเป็นทุนสำคัญของการจัดการความรู้เพื่อไปสู่เป้าหมาย

งานจัดการความรู้ที่เนียนเข้าไปในงาน/กิจกรรมของชุมชนเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ร่วมกันตั้งไว้ จะทำอย่างไรได้บ้าง

ตัวอย่างที่อ.หญิงเล่ามา ชุมชนสามารถระดมทุน(ทอดกฐิน)เพื่อพัฒนากลุ่มองค์กรของตนเอง

น่าสนในมากครับว่าหมอติ้วใช้เทคนิคอะไรบ้าง
เพราะถ้าทำเป็นเรื่องเดียวกันก็จะเสริมพลังกันได้มากขึ้น เช่นที่ทีมวิจัยไปร่วมงานด้วยโดยถือว่าเป็นงานเราด้วย เข้าท่ามากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท