แก้ปัญหาแพทย์และผู้ป่วย


การให้สุขศึกษาในเชิงรุก ตั้งแต่ยังไม่ป่วยหรือเป็นแค่ญาติผู้ป่วย จนมีทัศนคติที่ดีต่อการสาธารณสุขซึ่งสำคัญที่สุด เพราะทัศนคตินี่แหละคือต้นตอของปัญหา เมื่อทัศนคติดี จิตใจมีความสุข ได้รับการรักษาทั้งกายและใจ ปัญหาใหญ่แค่ไหนก็เป็นปัญหาเล็กได้
  ปัจจุบันจะทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหาระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยมากขึ้น นำมาซึ่งความเสื่อมของการสาธารณสุขในประเทศไทย เป็นที่น่าหดหู่นัก
  • หากมองย้อนถึงวิวัฒนาการทางด้านสุขภาพของมนุษย์เท่าที่ผมทราบ
  • เริ่มแรกมนุษย์ก็พึ่งพาภูตผี วิญญาณ อำนาจอิทธิฤทธิ์ ซึ่งยังหลงเหลืออยู่บ้างในปัจจุบัน 
  • ต่อมามนุษย์รู้จักยา สมุนไพรจะช่วยรักษาสุขภาพ
  • ต่อมาอีกมนุษย์เน้นการตรวจด้วยวิธีการต่าง ๆ
  • ปัจจุบันมนุษย์เรียนรู้ว่าจะต้องรักษาสุขภาพด้วยตัวเอง ต่างก็ใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อความมีอายุยืนยาวสุขภาพแข็งแรง เช่น อาหารเสริม การออกกำลังกาย
          ส่วนทางด้านฝ่ายผู้ให้การดูแลสุขภาพคือฝ่ายสาธารณสุขนั้น รับผิดชอบใน 4 ด้าน คือ
  • การป้องกันโรค
  • การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
  • การรักษาโรค
  • และการฟื้นฟูสุขภาพ
          รวมเป็น 4 ด้าน ถ้านำมาคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ การรักษาโรค เป็นเพียง 1 ใน 4 ของการดูแลสุขภาพ  ซึ่งเท่ากับ 25% เท่านั้น แต่พอมองถึงการจัดของฝ่ายบริหารระดับสูงจะเน้นไปแต่เพียงส่วนนี้อย่างมากมาย  ปัญหาก็คือ  บุคลากรทางการสาธารณสุขถูกใช้ไม่สมดุล คือเน้นการรักษาโรค แต่ไม่ได้รักษาคนป่วย  ถามว่าแตกต่างกันตรงไหน
  • การรักษาโรคคือใช้วิชาความรู้ทำให้โรคหาย โดยผู้ป่วยหนึ่งคนเข้าไป โรงพยาบาลทำบัตรประจำตัวผู้ป่วย รอซักประวัติตรวจร่างกายจากพยาบาล พยาบาลก็เขียนอาการและอาการแสดงการป่วยของผู้ป่วย แล้วเข้าคิวรอพบแพทย์ แพทย์ก็อ่านจากที่พยาบาลเขียนมาแล้วก็ซักประวัติซ้ำตรวจร่างกายซ้ำตามแนวการคัดกรองของพยาบาล แล้วแพทย์ก็ทำการวินิจฉัยสั่งยา หรือให้การรักษา
  • ส่วนการรักษาผู้ป่วยคือการทำให้ผู้ป่วยหายจากการป่วยด้วยวิธีการทั้ง 4 ด้าน คือทั้งป้องกัน ส่งเสริม รักษา และฟื้นฟู และรักษาจิตใจ ให้ความรู้ แนะนำการปฏิบัติ จนมีทัศนคติที่บวกคือรักษาใจคนไข้และญาติด้วยในเวลาเดียวกัน
          ผลแตกต่างก็คือ วิธีแรกแพทย์กับผู้ป่วยมีอัตราส่วนที่ต้องรับผิดชอบสูงมาก ทำให้แพทย์มีเวลาพบผู้ป่วยแต่ละรายน้อย  ทำให้ต้องเร่งรีบในการตรวจ วินิจฉัย ซึ่งความเร่งรีบอาจทำเกิดความผิดพลาดได้  ส่วนผู้ป่วยเองก็คาดหวังสูงเหลือเกินว่า ถ้าได้พบแพทย์แล้วจะต้องหายเท่านั้นอันเป็นผลมาจากฝ่ายผู้ป่วยขาดการให้สุขศึกษาความรู้จากบุคลากรที่เพียงพอ  จึงทำให้เกิดปัญหาจากความคาดหวังนั่นเอง ว่าแพทย์ต้องทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ต้องหายต้องไม่ตาย ซึ่งความเป็นจริงไม่ใช่  ปัจจัยการป่วยนั้น ขึ้นอยู่กับสามสิ่ง คือ ความต้านทานโรคในตัวผู้ป่วย ปริมาณของสิ่งที่ทำให้เกิดโรค และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดโรค ปัจจัยการหายก็แก้ไขกันที่สามส่วนนี้  ผลก็คือทำให้เกิดผลสามแบบ คือ
  • โรคที่ไม่ต้องรักษาก็หาย
  • โรคที่ต้องรักษาจึงหาย
  • และโรคที่รักษาหรือไม่รักษาก็ไม่หาย
          ผู้ป่วยและญาติส่วนใหญ่ไม่ทราบความจริงเรื่องนี้อย่างถ่องแท้  หรือทราบบางส่วนไม่เพียงพอในการทำความเข้าใจหรือยอมรับความจริงได้  ทำให้เข้าใจผิดมีความรู้ผิดว่าเมื่อป่วยแบบนี้แพทย์ต้องรักษาอย่างนี้ ต้องทำแบบนี้ หรือต้องหายแบบนี้ แล้วไงอีก ก็คือถ้าไม่ได้อย่างนี้แพทย์ผิดต้องเอาผิดต้องลงโทษ ต้องเรียกร้อง คือมีทัศนคติที่เป็นลบขึ้นมาทันที  อันนี้ก็ห้ามไม่ได้เพราะเขารู้มาแค่นั้น ส่วนแพทย์เองกว่าจะจบมาก็ยากเย็นแสนเข็ญไม่มีแพทย์คนไหนที่ไม่อยากรักษาผู้ป่วยให้หายหรอก เพราะความชื่นใจภูมิใจของแพทย์และบุคคลากรสาธารณสุขคือการให้สุขภาพที่ดีที่สุดเท่าที่ทำได้แก่ประชาชน
          ทีนี้เราจะแก้กันตรงไหนดี  ต้องแก้ทุกส่วน คือ ต้องทำ การป้องกัน ส่งเสริม รักษา และฟื้นฟูให้สมดุลกัน  แก้กันตั้งแต่ระดับผู้บริหารระดับสูงเลยส่งเสิรมงบประมาณมาอย่างทั่วถึงด้วย เพราะกองทัพต้องเดินด้วยท้องนะครับ เน้นการป้องกันการเกิดโรค การเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย  อย่าเน้นให้แพทย์รับผิดชอบแต่ผู้เดียว แพทย์ก็เป็นคนก็มีโอกาสผิดพลาดได้เช่นกัน  แต่ก็มีแพทยสภาคอยควบคุมอย่างเข้มงวด ต้องสอบความรู้ทุก ๆปี ถ้าผิดก็ต้องถูกลงโทษตามสมควรแก่กรณีของความผิด  รวมทั้งการให้สุขศึกษาในเชิงรุก ตั้งแต่ยังไม่ป่วยหรือเป็นแค่ญาติผู้ป่วย จนมีทัศนคติที่ดีต่อการสาธารณสุขซึ่งสำคัญที่สุด  เพราะทัศนคตินี่แหละคือต้นตอของปัญหา เมื่อทัศนคติดี จิตใจมีความสุข ได้รับการรักษาทั้งกายและใจ  ปัญหาใหญ่แค่ไหนก็เป็นปัญหาเล็กได้ เพราะทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ดับก็ดับที่เหตุ 
  • อย่าลืมว่า นายของคุณคือใคร? 
  • "ใจเป็นนาย  กายเป็นบ่าว"
หมายเลขบันทึก: 11589เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2006 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เห็นด้วยอย่างยิ่ง เดี๋ยวนี้ท้อแท้บ้าง อำนาจประชาชนมีนำมาใช้แต่ผู้แทนประชาชนควรใช้ความรู้และสติปัญญาในการตัดสินใจและการพูดการกระทำด้วย อย่าให้มีอย่างอื่นแอบแฝง คิดยาว ๆ ความดีก็จะยาว ความยั่งยืนก็ยาว แล้วความสุขก็ตามมาอยู่ด้วยกันยาว ๆ ทุก ๆฝ่าย 
คนเรามักมองเห็นและจับผิดผู้อื่น มนุษย์เป็นสัตว์สังคมเราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม หันมาสำรวจหน้าที่ของเราต่อสังคมจับผิดตัวเอง คอยปรับปรุง ตนของตน เพราะเราไม่สามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้หันมาเข้ากับเรา เราต่างหากต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
ไม่ต้องห่วงหรอก การสาธารณสุขนะดีขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นปัญหาในอีก 20 ปีข้างหน้า เพราะการสาธารณสุขดีทำให้คนตายยาก คือจำนวนคนตายน้อยลง ทีนี้ทำให้คนแก่มีจำนวนมากขึ้น ทางสภาพัฒนฯ แจ้งว่าคนสูงอายุจะมากขึ้น และต้องเลี้ยงตัวเองโดยเฉลี่ยต้องมีทุนสำรองเลี้ยงตัวเองอย่างน้อย 4 ล้านบาท ต่อคนเชียวนะ ไม่ใช่จะหวังพึ่งพาคนอื่นได้นะ
เราต้องยอมรับในความสามารถที่แตกต่างกันของหมอแต่ละคนด้วย แต่ทุกคนก็ต้องผ่านมาตรฐานมาแล้วจึงออกสู่สังคมเพื่อมารักษาคน อย่างว่าแถมยังมีแพทยสภาคอยตรวจสอบ และเดี๋ยวนี้หมอเอยพยาบาลเอยต้องสอบความรู้เป็นประจำทุก ๆ ปีนะ
น่าจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคด้วยเพราะโครงการนี้ต้องนำงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้รักษาผุ้ป่วย และใช้จ่ายในการดำเนินงานทุกอย่างทั้งหมด ไม่แต่เฉพาะการให้การรักษาพยาบาลเท่านั้นขณะนี้โรงพยาบาลชุมพรขาดทุนปีละ 5 - 6 ล้านบาทอย่างต่อเนื่องทุก ๆปี เปรียบเทียบกับการมีกองทุนบัตรประกันสุขภาพ กองทุนนำเงินไปบริหารเกินผลตอบแทน และนำมาประกันสุขภาพให้ผู้ซื้อประกัน ซึ่งวิธีมีความสมดุลของกระแสเงิน ผิดกับ 30 บาทซึ่งเป็นการจ่ายออกไปทั้งสิ้น แต่ได้คะแนนเสียงจากประชาชน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท