ส่งข่าว


บทบาทของ กศน. ตามพรบ.ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต

Nation Group Newsเดอะเนชั่นกรุงเทพธุรกิจคม-ชัด-ลึกเนชั่นสุดสัปดาห์ทีวี + วิทยุเนชั่นแชนแนลเนชั่นเรดิโอหางานเนชั่นอีจ๊อบส์วัยรุ่นเนชั่นจูเนียร์เนชั่นคอมิกส์ท่องเที่ยวไทยแลนด์ดอทคอมซื้อคอมพิวเตอร์คอมเซฟวิ่งเนชั่นกรุ๊ป GO
ค้นหาข่าวย้อนหลัง

กศน.ชวนโรงงานตั้งโรงเรียน เพิ่มความรู้แรงงาน50ล้านคน
หลัง พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตมีผลบังคับใช้แล้ว สำนักงานบริหารการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) จะต้องปรับบทบาทจากการเป็นผู้จัดการศึกษาเอง มาเป็นฝ่ายสนับสนุนและส่งเสริมให้เครือข่ายทั่วประเทศร่วมจัดการศึกษา โดยมีเป้าหมายว่าจะสามารถยกระดับความรู้ให้กับแรงงาน 13.5 ล้านคน จากเดิมที่ กศน.ดำเนินการได้ 5 ล้านคน และเพิ่มเป็น 50 ล้านคนในอนาคต

ดร.ทองอยู่ แก้วไทรฮะ ประธานคณะทำงานยกร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตว่า ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยมีสาระวิธีการจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชาชนที่ยังไม่ได้รับการศึกษา เช่น กลุ่มแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ประชาชนทั่วไป โดยยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอก ส่วนภายในให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดการศึกษาดำเนินการเอง

ใช้การศึกษาทางไกล เน้นให้กลุ่มแรงงานที่อยู่ภาคอุตสาหกรรม นำประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพมาเทียบวุฒิการศึกษากับ กศน.ได้ และเรียนทางไกลโดยไม่ต้องเข้าห้องเรียน หรือพบกลุ่ม ซึ่งจะช่วยยกระดับการศึกษาให้กับแรงงานกลุ่มนี้ได้ ทำให้ กศน.มีภารกิจเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล ดังนั้นคนที่ทำงานอยู่ก็ไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีงานทำ

"ต้องทำความเข้าใจกับคนของ กศน.ตั้งแต่วันนี้ว่า การมีเครือข่ายร่วมจัดการศึกษาเป็นเรื่องดีต่อประเทศชาติ เพราะจะช่วยยกระดับการศึกษาให้คนได้ถึง 30 ล้านคน จากที่ กศน.จัดเองทำได้เพียง 5 ล้านคน รวมทั้งรัฐเองก็ต้องมีมาตรการในการจูงใจ เช่น การให้สิทธิประโยชน์ ให้รางวัล และเชิดชูเกียรติกับภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมจัดการศึกษาตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย การดึงโรงงานมาตั้งโรงเรียนเพื่อยกระดับแรงงานของเขาเองถึงจะเกิดผลในทางปฏิบัติ" ดร.ทองอยู่ กล่าว .......คน กศน. ทราบแล้วเปลี่ยน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1158เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2005 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท