วลัยลักษณ์ ไปทำไม และได้อะไรจากการเข้าร่วมสังเกตุการณ์การประชุม UKM # 4


ถ้าการจัดการความรู้ที่ถูกนำไปใช้ไม่ได้เกิดจากความเชื่อหรือค่านิยม(value) ของผู้ปฏิบัติงาน แต่เป็นเพียงการทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมากกว่า ในที่สุด KM ก็จะหายไปจากการทำงานปกติ

  ผม และเพื่อนร่วมงานที่เป็นทีม KM ของวลัยลักษณ์ อีก 9 คน ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าส่วนพัสดุ หัวหน้าส่วนการเงิน หัวหน้าส่วนสารบรรณฯ หัวหน้าส่วนการเจ้าหน้าที่ หัวหน้าส่วนประชาสัมพันธ์ หัวหน้าส่วนแผนงาน หัวหน้าส่วนกิจการนักศึกษา และผู้ประสานงาน OD  2 คน ได้เดินทางไปเข้าร่วมสังเกตุการณ์การประชุมเครือข่าย UKM ครั้งที่ 4 ที่ จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมี มมส. และ มรส. เป็นเจ้าภาพ ในวันที่ 6-7 มกราคม 2549 ซึ่งเป็นเงื่อนใขของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่สนใจจะเป็นสมาชิกใหม่ของเครือข่าย UKM ที่จะต้องเข้าร่วมสังเกตุการณ์ก่อนที่จะได้รับให้เข้าเป็นสมาชิก วลัยลักษณ์ เราเองก็ได้ส่งใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกด้วยแล้ว เพื่อหวังว่าจะได้รับความรู้ ประสบการณ์ และความร่วมมือในการพัฒนา KM ระหว่างมหาวิทยาลัย ซึ่งในขณะนี้มีมหาวิทยาลัยที่เป็นเครื่อข่ายอยู่แล้ว 6 แห่ง คือ มอ. มหิดล. มน. มมส. มรส. และ มข. ในการเข้าร่วมสังเกตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรมากมาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม  สำหรับทางตรงผมคิดว่าพวกเราทีม KM วลัยลักษณ์ ได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการทำ KM ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเครือข่าย ซึ่งอาจจะมีที่ดีบ้าง และที่ยังไม่ค่อยดีบ้าง ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาครับ แต่ผมเชื่อว่าทีมของเราได้เรียนรู้มาก และมีความคิดเพิ่มเติม เห็นด้วย และเห็นแย้งในหลายประเด็น เหตุการณ์ในลักษณะนี้แหละครับ ที่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะนี่คือ การใส่ใจที่จะเรียนรู้ และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาพัฒนา นอกจากนี้ผมยังได้มุมมองและแนวทางที่จะพัฒนา KM model ของวลัยลักษณ์ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเท่าที่ได้เรียนรู้จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเครือข่าย ผมคิดว่าหลายมหาวิทยาลัย ยังไม่สามารถที่จะบูรณาการการจัดการความรู้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับการทำงานปกติ หรือที่ภาษาใต้เรียกว่า เนียน ใช่ใหมครับ ในประเด็นนี้ มุมมองของผมคิดว่า เพราะถ้าการจัดการความรู้ที่ถูกนำไปใช้ไม่ได้เกิดจากความเชื่อหรือค่านิยม(value) ของผู้ปฏิบัติงาน แต่เป็นเพียงการทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมากกว่า ในที่สุด KM ก็จะหายไปจากการทำงานปกติแน่ ๆ ก็ไม่รู้เหมือนกันนะครับว่าความคิดผมจะถูกหรือไม่ แต่ถ้าว่ากันตามหลักการบริหารงานบุคคล ก็มีความเป็นไปได้มากที่เดียว ซึ่ง KM model ของวลัยลักษณ์เราเอง จึงได้มุ่งที่จะสร้าง value ให้พนักงานของเราเห็นความสำคัญของ KM ก่อนที่จะได้มีการนำ KM ไปใช้ ยังไงในโอกาสต่อไป ผมจะขอนำเสนอ Walailak KM model แล้วกันนะครับ เพราะในการประชุมเครือข่าย UKM ครั้งนี้ก็ได้เปิดโอกาส ให้ผมเป็นตัวแทนของ วลัยลักษณ์ นำเสนอจุดเริ่มต้น รูปแบบและทิศทาง ตลอดจนประสบการณ์ในการทำ KM ของวลัยลักษณ์ที่ผ่านมา แต่ผมก็มีข้อจำกัดในเวลาเพียง 10 นาที ซึ่งก็ไม่สามารถพูดอะไรได้มากเท่าที่ควร 

สำหรับประโยชน์ทางอ้อมที่ผมได้เรียนรู้จากการเดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรม UKM ครั้งนี้   อยู่ในวลัยลักษณ์เราเอง  ผมได้เรียนรู้และเห็นว่า ค่านิยมหรือความเชื่อ (value) (ผมให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากกว่าเรื่องอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น การมีส่วนร่วม สมรรถนะ  ฯลฯ) ของทีมหัวหน้าส่วน ของวลัยลักษณ์ที่ได้เดินทางไปร่วมกิจกรรมนี้ มีค่านิยมที่น่าประทับใจมาก และจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาองค์กรของเราในหลายค่านิยม อาทิ การให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม การสำนึกในการใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยอย่างคุ้มค่า การเชื่อมั่นในคุณภาพที่จะทำให้เป็นเลิศได้ เป็นต้น ผมจึงคิดว่าการพัฒนาวลัยลักษณ์ให้ก้าวไปข้างหน้า และเป็นเลิศสู่สากล จึงไม่ใช่เรื่องยากของวลัยลักษณ์ หากค่านิยมเหล่านี้ยังคงอยู่และมีระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะถ้าค่านิยมที่ดีเกิดขึ้นกับผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรก่อนแล้ว การที่จะสร้างค่านิยมที่ดี ๆ เหล่านี้ให้กับผู้ปฏิบัติต่อไป จึงไม่ใช่เรื่องยาก นี่แหละครับอีกก้าวหนึ่งในความสำเร็จของการทำ KM  ในวลัยลักษณ์ของเรา

หมายเลขบันทึก: 11577เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2006 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ความเห็นของอาจารย์ถูกแน่ๆ    และควรเผยแพร่ออกไปให้กว้างขวาง    รวมทั้งต้องมีวิธี "สร้างแบบไม่สร้าง" ครับ    คือหมายความว่าเปิดช่อง (และสนับสนุน) ให้ธรรมชาติด้านดีของมนุษย์ออกมาแสดงพลังครับ    ผมได้แนะให้ ผศ. นพ. วรรษา รองคณบดีฝ่าย KM ของคณะแพทย์ มธ. ให้ปรึกษา อ. สมนึอ ว่าเริ่มต้น KM อย่างไรดี

วิจารณ์

วิจารณ์ 

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอ วิจารณ์ มากครับ ในคำชี้แนะ และข้อแนะนำในการพัฒนา KM ของ  วลัยลักษณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท