รู้เขา..เข้าใจเรา?


ต้องเข้าใจถึงอัตลักษณ์ซึ่งกันและกันด้วยความเคารพ

     บทความนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก ในแง่การรู้จักวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมของกลุ่มคน ของชุนชน โดยผู้เขียนพยายามสื่อสะท้อนการมองอย่างเข้าใจถึงวัฒนธรรมอื่น “เราเข้าใจคนอื่นหรือยัง ก่อนจะถามว่าทำไมเขาไม่เข้าใจเรา” ผมจึงมองว่าต้องเข้าใจถึงอัตลักษณ์ซึ่งกันและกันด้วยความเคารพ และขอนำบทความที่ทาง Focus Team ได้เขียนไว้มาให้อ่านกันดูครับ ดังนี้

     คนอื่นไม่ค่อยรู้จักเรา...ไม่ต้องอื่นไกล เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คนเข้าใจเหตุการณ์ดีจำนวนหนึ่ง เรียกร้องให้คนไทยในส่วนอื่นหันมาทำความเข้าใจ กับ ความจริงแท้เชิงวัฒนธรรม ของพื้นที่ เพราะเห็นว่า"พวกเขายังไม่เข้าใจเรา"นั่นเอง จึงมองปัญหาอย่างไม่เข้าใจ และดูเหมือนจะไม่มีวันเข้าใจ แต่เราล่ะ รู้จักคนอื่นดีแค่ไหน ...ใครเดินผ่าน งาน "นิเวศวัฒนธรรมไตรภาค" ที่จัดโดย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) อาจต้องครุ่นคิดถึงประเด็นนี้ และพอจระหนักได้ว่าความไม่เข้าใจเหล่านี้ดำรงอยู่จริง แม้แต่คนใกล้ชิดอย่างคนไทยด้วยกันนั้น เราเคยคิดในมุมที่คนอื่นไม่เข้าใจเรา แล้วเราล่ะ เข้าใจคนอื่นแค่ไหนเชียว "นิเวศวัฒนธรรมไตรภาค" เริ่มจัดตั้งแต่ 3-6 พฤศจิกายน ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่, 24-27 พฤศจิกายน ณ ตึก B หมหาวิทยาลัยสารคาม และ 9-11 ธันวาคม ที่ผ่านมา ณ อาคาร พาลัยพัฒนา สถาบันทักษิณคดีศึกษา

     ตัวอย่างข้อมูลต่อไปนี้ เป็นเรื่องของคนไทยแท้ ๆ แต่ใครเคยรู้บ้าง

ภาคเหนือ
     ดินแดนล้านนา ที่เราเรียกกันนั้น หมายถึงอาณาบริเวณที่ประกอบไปด้วยเมืองกลุ่มหนึ่ง อาณาเขตทิศใต้จดเมืองตาก และจดเขตแดนด้านเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ทิศตะวันตกจดแม่น้ำสาละวิน ทิศตะวันออกจดแม่น้ำโขง ทิศเหนือจดเมืองเชียงรุ่ง และแผ่ขยายไปอีกหลายเมืองในบางสมัย ปัจจุบัน คือ 8 จังหวัดภาคเหนือ มีเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน พญามังรายก่อตั้งอาณาจักรล้านนา (พ.ศ. 1839-1898) มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ต่อมาถูกปกครองโดยพม่า และมาเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม (พ.ศ.2317) ชาวล้านนา มีประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ภาษาเขียนและภาษาพูดของท้องถิ่น มีความใกล้ชิดกับพม่า เงี้ยว ลื้อ ลาว มีวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากสยาม เมื่อถูกปกครองโดยอาณาจักรสยามตึงก่อให้เกิดความขัดแย้ง เช่นกรณของครูบาศรีวิชัย (พ.ศ.2421-2481) ซึ่งยึดถือการปกครองสงฆ์ในระบบหัวหมวดอุโบสถหรือหัวหมวดวัดซึ่งเป็นระบบการปกครองที่มีมาแต่เดิม แต่ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2445 ซึ่งเป็นระบบรวมศูนย์อำนาจมาขึ้นกับองค์กรสูงสุด คือมหาเถรสมาคม ห่อให้เกิดความขัดแย้งกับสงฆ์ท้องถิ่น

     งานประพณีและวัฒนธรมล้านนา ส่วนใหญ่เกี่ยวกับความเชื่อ และศาสนา ในรอบปีหนึ่งๆ จะมีประพณีหรือฮีตฮอยให้ปฏิบัติ เรียกว่าประพณีสิบสองเดือน ตามปฏิทินของล้านนานับเดือนเกี๋ยง (เดือนตุลาคม) เป็นเดือนแรก ศิลปวัฒนธรรมของล้านนา แสดงออกในรูป ของ"ครัว"คือข้าวของเครื่องใช้ เช่น ครัววัด คือของใช้ที่ใช้ในวัด ได้แก่ สัตตภัณฑ์ ขันแก้วตังสาม (ขันแก้วทั้งสาม) หีบธรรม พระวิหาร ครัวบ้าน คือของใช้ในบ้าน ได้แก่เครื่องเขินต่างๆ เช่น ขันแอว (พาน) ขันหมาก(เชี่ยนหมาก) ขันโตก ขันสี้

     การแต่งกาย ของแม่หญิงล้านนา จะมีกำไลเงิน สายฮั้ง สายคอ ปิ่น เรียกรวมว่า "ครัวหย้องของงาม" มีการเกล้าผมแบต่างๆ เช่นเกล้าผมอั่วจ๊อง เหล้าวิดว้อง เกล้าผมอี่ปุ่นและปิ่นปักผม หลากหลายรูปแบบ เช่นปิ่นกระดู ปิ่นเขาสัตว์ ปิ่นทองเหลืองอย่างโบราณ ปิ่นเงิน ปิ่นหลวง ปิ่นจ้องของชาวไทลื้อ ปิ่นทองของชาวไทลื้อเมืองยอง และการเหน็บดอกเอื้องผึ้ง

     นอกจากนั้นยังมีการฟ้อนดาบแบบล้านนา คือเชิงดาบแสนหวี เป็นเชิงดาบของเงี้ยวใหญ่ หรือไทยใหญ่และเชิงดาบเชียงแสนเป็นเชิงดาบของไทยยวน ชายชาวล้านนามีดาบประจำปีเกิดของตน เพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิต เช่นเกิดปีชวดให้ครองดาบปลายแหลมหรือปลายตัด ปีฉลูให้ครองดาบปลายงอน เป็นต้น

อีสาน
     เรารู้จักอาหารอีสาน แค่ส้มตำ ลาบ ... แต่ อาหาร อีสานเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงออกถึงวัฒรธรรม วิถีชีวิตและโลกทัศน์ของคนอีสาน ชาวอีสานคัดสรรอาหารจากธรรมชาติใกล้ตัวง ปรุงแต่งตามสูตรหรือตำรับของท้องถิ่น และผสมผสานกับคติ ความเชื่อ ก่อให้เกิดข้อห้าม หรือข้อ คะลำ ต่างๆ อาหารอีสานมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัด คือหากอนตามฤดูกาล มีแหล่งอาหารจากดินฮอดฟ้า รสชาติขมนำ เผ็ดตาม เปรี้ยวและฝาดตามธรรมชาติ และถือข้อคะลำในการกิน

     อาหารตำรับเด็ดชาวไทยลาว คือแกงเห็ดรวม นิยมกินในฤดูฝน มีข้อคะลำ คืออาจมีอาการแพ้ในหญิงที่เพิ่งคลอดลูก ทำให้ผิดสำแดง อาหารตำรับเด็ดชาวภูไท คือแกงยอดบวบ เป็นแกงประจำวันของชาวภูไท ช่วยบำรุงร่างกาย ลดไข้ แก้ร้อนใน เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ไม่มีข้อคะลำในการกิน อาหารตำรับเด็ดชาวญ้อ คืออ่อมบอน กินได้ทุกฤดู ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยระบายท้อง มีข้อคะลำ คือห้ามผู้สูงอายุกินเนื้อเค็มในอ่อมบอน เพราะจะทำให้ปวดเมื่อย อาหารตำรับเด็ดชาวกะเลิง คือแกงหวาย นิยมกินในฤดูฝน ช่วยสมานแผลในปากและลำคอ แก้ร้อนใน ดับพิษร้อน มีข้อคะลำ คือ ผู้ที่มีอาการท้องผูก เพราะจะทำให้ท้องผูกมากขึ้น อาหารตำรับเด็ดชาวโย้ย คือ อั่วกบ นิยมกินใน ฤดูฝน แก้ปวดข้อ ท้องร่วง บำรุงทารกในครรภ์ มีข้อคะลำ คือคนที่โดนงูกัดห้ามกิน หญิงหญิงหลังคลอดบุตรห้ามกินกบคางลายเพราะจะทำให้น้ำนมแห้ง

     อาหารตำรับชาวแสก คือหลามเอี่ยน นิยมกินในฤดูหนาว ช่วยขับเหงื่อ ขับลม มีข้อคะลำ คือผู้ที่เป็นโรคลักปิดลักเปิด เลือดกำเดาออดบ่อยๆ และโรคริดสีดวงทวาร เพราะจะทำให้หายยาก และกำเริบ อาหารตำรับเด็ดชาวพวน คือแกงหน่อไม้ นอยมกินในฤดูฝน ช่วยให้ขับถ่าสยสะดวก ถอนพิษสุรา ดับพิษร้อน แก้อีสุกอีใส มีข้อคะลำคือ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ หากกินจะทำให้มีอาการจุดแสบท้อง อาหารตำรับเด็ดชาวไทยโคราช คือผัดหมี่ เป็นอาหารที่ต้องมีในเทศกาลงานบุญ กินได้ทุกฤดู ไม่มีข้อคะลำอาหารตำรับเด็ดชาวเขมร ถิ่นไทย คือแกงเส้น กินได้ทุกฤดู ช่วยบำรุงร่างกาย
เป็นยาระบาย รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก และลำไส้อักเสบ มีข้อคะลำ คือห้ามไม่ให้คนที่เป็นโรคปวดตามร่างกาย โรคเก๊า กลาก ฝี ที่อยู่ระะหว่างการรักษากิน เพราะจะทำให้โรคกำเริบ และทำแกงเส้นเลี้ยงผู้คนในงานศพ เพราะเชื่อว่าจะมีคนตายเพิ่มขึ้น เพราะลักษณะของแกงเส้นเป็นโยงใยเชื่อมโยงไยังคนอื่นๆ

     อาหารตำรับเด็ดชาวกูย หรือกวย คือแกงกล้วยใส่ไก่ กินได้ทุกฤดู ช่วยแก้ท้องเดิน และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะช่วยบำรุงน้ำมนมและบำรุงเลือดอม่ลูกอ่อน ไม่มีข้อคะลำ อาหารตำรับเด็ดชาวโซ่ คือซั่วไก่ กินได้ทุกฤดู และเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่นงานขึ้นบ้านใหม่งานสู่ขวัญ การสะเดาะห์เคราะห์ เมื่อเจ็บป่วย ช่วยบำรุงร่างกาย มีข้อคะลำคือ ผู้เป็นเหน็บชาไม่ควรรับประทาน อาหารตำรับเด็ดชาวญัฮกุ้ร คือเมี่ยม (เหมี่ยง) กินได้ทุกฤดู ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ ปวดท้อง แก้ตกเลือดในลำไส้ ไม่มีข้อคะลำ

ภาคใต้
      คุณเป็นคนใต้ แท้ ๆ แต่รู้เรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับวัฒนธรรม ภาคใต้ ...ดูเหมือนว่า คำถามเรื่อง "คนอื่นไม่ค่อยรู้จักเรา..." จะเป็นปัญหาหนึ่งเสียแล้ว ในเมื่อเราต่างก็ไม่รู้จักกัน และ แม้แต่ตัวเราเอง ก็ยังไม่ค่อยรู้จักตัวเองแล้วสิ่งที่เรารู้จัก และความรู้ ของคนเราทุกวันนี้ เรารู้เรื่องอะไรกันแน่ ?

     คัดมาจาก:วาไรตี้ (บทความ)ในสงขลาทูเดย์ดอทคอม โดย Focus Team ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนในอีกมากลองเข้าไปดูได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 11533เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2006 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท