ระบบแพทยศาสตร์ศึกษาของไทยและออสเตรเลีย


เปรียบเทียบการเรียนแพทย์ของไทยกับออสเตรเลีย

                เมื่อได้คุยกับแพทย์ในออสเตรเลียหลายๆคนก็พอจะสรุปได้ว่ากว่าแพทย์ของเขาจะได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่สามารถเปิดคลินิกได้อย่างอิสระนั้นต้องเรียนถึง 10 ปี คือ

ปี 1-5 เป็นนักศึกษาแพทย์ (Medical Student) ซึ่งพบว่ามีการเปิดกว้างให้ปริญญาตรีสาขาอื่นเป็นแพทย์ได้ไม่เฉพาะ Bachellor of Medicine เท่านั้น

 

ปี 6 เป็นแพทย์ฝึกหัด (Medical Officer) ปี 1 เรียกInternship ฝึกงานในโรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือโรงพยาบาลศูนย์

ปี 7 เป็นแพทย์ฝึกหัดปี 2 เรียก Resident

ปี 8-10 เรียนแพทย์สาขาเฉพาะทางที่เรียกว่า Registrar และที่เรียนกันมากคือแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (GP) เป็น GP Registrar

แต่ในเมืองไทยเรานั้น การเรียนแพทย์จนได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะใช้เวลา 6 ปี และมีข้อกำหนดของแพทยสภาให้เป็นแพทย์ฝึกหัดอีก 1 ปี ก่อนออกไปทำงานในโรงพยาบาลต่างๆหรือก่อนที่จะไปเรียนสาขาเฉพาะทางต่างๆ โดย

ปี 1 เป็นนักศึกษาแพทย์เรียนBasic science ในมหาวิทยาลัยที่โรงเรียนแพทย์สังกัดอยู่

 

ปี 2-3 เป็นนักศึกษาแพทย์เรียน Pre-clinic ในโรงเรียนแพทย์หรือคณะแพทยศาสตร์

 

ปี 4-5 เป็นนักศึกษาแพทย์ เรียนชั้น Clinic ฝึกงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยที่เรียนอยู่

ปี 6 เป็นนักศึกษาแพทย์ เรียก Extern ฝึกงานในโรงพยาบาลของคณะแพทย์และโรงพยาบาลศูนย์กับโรงพยาบาลชุมชนตามเวลาที่กำหนด

ปี 7 เป็นแพทย์ฝึกหัด แต่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้ว เรียกว่า Internship ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป 8-10 เดือนและปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน 2-4 เดือน ตามที่แพทยสภากำหนด

แต่มีบางมหาวิทยาลัยมีการจัดหลักสูตรแพทย์แนวใหม่ โดยรับผู้ที่จบปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์สุขภาพมาเรียนหลักสูตร 5 ปี โดยไม่ต้องเรียนปี 1 Basic science ส่วนที่เหลือเรียนเหมือนกันหมด เช่น ธรรมศาสตร์จุฬา ส่วนที่มหาวิทยาลัยนเรศวร รับผู้ที่จบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สุขภาพและเป็นข้าราชการที่ปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุขมาเรียนแพทย์โดยลดระยะเวลาเรียนBasic scienceลง ส่วนการฝึกปี 4-6 ึกในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข

ในการเปรียบเทียบดูงานการเรียนการสอนแพทย์ของไทยกับออสเตรเลียจึงต้องเปรียบเทียบก่อนปริญญาของไทยกับระดับหลังปริญญาของออสเตรลีย เพราะลักษณะจะมีความคล้ายกันมากกว่า และปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้แพทย์ไทยใช้เวลาเรียนน้อยกว่าเพราะมีความจำเป็นในเรื่องการขาดแคลนแพทย์อย่างมากกับอีกประการหนึ่งแพทย์ไทยมีกรณีผู้ป่วยจริงให้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้มากกว่า

 

หมายเลขบันทึก: 11531เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2006 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท