ธรรมชาติของมนุษย์กับมัสยิด


  • อัลลอฮฺทรงสร้างมนุษย์เพื่อเคารพภักดีพระองค์
  • นั่นคือ "ฟิตเราะฮฺ"หรือ"ธรรมชาติ" ของมนุษย์ โดยเหตุนี้ความรู้สึกที่ จะต้องเคารพภักดีพระเจ้าจึงถูกฝั่งอยู่ในสัญชาติญาณ และจิตวิญญาณ ของมนุษย์ ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ที่ไหนก็ตาม ในเมืองที่มีความเจริญล้ำยุค  หรือในป่าเขาลึกที่ห่างไกลความเจริญ ความรู้สึกว่าต้องเคารพ สักการะ พระผู้สร้างเขามานั้นดำรงอยู่ในตัวของมนุษย์ และมันแสดงออกมาในรูป ของพิธีกรรมทางศาสนา ขนบธรรมเนียม  ประเพณี และหรือวิถีชีวิตของ พวกเขา
  • "ผู้เคารพภักดีพระเจ้า คือตำแหน่งที่แท้จริงของมนุษย์ และการกลับคืนไป สู่ตำแหน่งที่ถูกต้องดังกล่าวมีความจำเป็นและสำคัญต่อมนุษยชาติทั้งมวล
  • จะเป็นอย่างไร? ถ้าปลาต้องอยู่บนบก !!! แน่นอนครับที่นั่นไม่ใช่ที่ของมัน
  • มัสยิด คือศาสนสถานสำคัญในอิสลาม มันคือ ชีอาร หนึ่ง หรือ สัญลักษณ์ หนึ่งที่บ่งบอกว่า ที่ๆมันปรากฏตั้งอยู่มีชุมชนซึ่งกิจกรรมทาง จิตวิญญาณ ของชุมชนหรือสังคมนั้นยังคงดำรงและมีชีวิตอยู่
  • มัสยิด แม้ว่าจะเป็นสถานวัตถุแต่มันมิได ้ถูกสร้างขึ้นเพื่อกิจกรรมทาง วัตถุนิยม มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับกิจกรรมทางจิตวิญญาณ  รองรับการ เรียกร้องของจิตวิญญาณที่ปรารถนาการเคารพภักดีและสักการะผู้ที่สร้างเขาขึ้นมา รวมถึงการวอนขอความช่วยเหลือต่างๆ
  • มัสยิดจึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ฟิตเราะฮฺ หรือ ธรรมชาติ  และกิจกรรมของจิตวิญญาณดังกล่าวของมนุษย์ เป็นสถานที่ ที่ความสัมพันธ์ของผู้ถูกสร้างกับผู้สร้างได้เกิดขึ้นตามรูปแบบและวิธีที่ ผู้สร้างได้แนะนำและมันได้ถูกแสดงและอธิบาย โดยบางคนจากมวลมนุษย์ ซึ่งได้รับเลือกจากพระผู้สร้าง ซึ่งได้รับการขนานนามจากพระผู้สร้างว่า รอซูลุลลอฮฺ หรือ ศาสนทูตของอัลลอฮฺ
  • การไปมัสยิดเพื่อเคารพภักดีหรือละหมาดที่เป็นฟัรฎูในนั้น อุปมาดั่งปลา ที่แวกว่ายอยู่ในน้ำ  และที่นั่นคือที่ของมัน
  • ผู้ที่ไปละหมาดฟัรฏูที่มัสยิด อาจกล่าวได้ว่า คือผู้ที่ธรรมชาติดั้งเดิมของเขา ตามที่อัลลอฮฺได้สร้าง ยังคงความบริสุทธิ์ และเป็นปกติอยู่ ปราศจากสิ่งอื่น ใดมาครอบงำ และธรรมชาติดั้งเดิมนั้นยังคงชักนำเขาไปยังที่ที่เหมาะสม กับตำแหน่งของมันเสมอ
  • ในขณะที่ผู้ไม่ไปมัสยิดนั้น แน่นอนว่า มันได้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นใน ฟิตเราะฮฺ  หรือ ธรรมชาติดั้งเดิม  ของเขา หรือไม่ก็มีบางสิ่งได้เข้าไป ยึดกุมและส่งอิทธิพลครอบงำจิตวิญญาณของเขา และมันได้ชักนำเขาไป ยังสถานที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่มัสยิด  และแม้ว่า  เขาจะยังคงละหมาดฟัรฎูครบ 5 เวลาก็ตาม  แต่มันได้ลด บทบาทหรือตำแหน่ง ของเขาลง และกีดกันเขา จาก ตำแหน่งที่แท้จริงของมัน
  • จึงไม่แปลกที่  ในปัจจุบันนี้  แม้ว่ามุอัซซิน จะประกาศเรียกร้องเชิญ ชวนเพียงใดว่า ฮัยยาอาลัศศอละฮฺ  ฮัยยาอะลัลฟะละฮฺ  จงมาสู่การ ละหมาด จงมาสู่ความสำเร็จ  ความเจริญก้าวหน้า ก็ตาม  อุมมะฮฺ (ประชาชาติ) นี้ก็ยังคงห่างไกลและไม่อาจบรรลุตามเจตนารมณ์แห่งคำ ประกาศ เชิญชวนดั่งกล่าว
  • และนี่คือโจทย์ที่ท้าทายสำหรับประชาชาตินี้ ณ ที่ใดก็ตามที่เขาดำรงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นที่ บ้าน ชุมชน สังคม องค์กร หน่วยงาน หรือสถาบันหนึ่ง สถาบันใด ก็ตาม  มันคือรากฐานที่สำคัญ อุปมาดั่งเสาเข็มที่ตอกลึกลง ไปในแผ่นดิน เพื่อเป็นฐานรากที่จะรองรับการก่อสร้างอุมมะฮฺ (ประชา ชาติ) นี้ 
  • มันคือสิ่งแรกที่ประชาชาตินี้จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น ณ ที่ใดก็ตามที่เขา ดำเนินภารกิจของเขาอยู่ และเพื่อว่า เจตนารมณ์แห่ง  ฮัยยาอาลัศศอละฮฺ  ฮัยยาอะลัลฟะละฮฺ  จงมาสู่การละหมาด จงมาสู่ความสำเร็จ  ความเจริญ ก้าวหน้า จะสามารถเกิดขึ้นเป็นจริงในยุคสมัยของเรา อินชาอัลลอฮฺ

หมายเลขบันทึก: 115176เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2007 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากเรียนถามอาจารย์ว่า ที่มัสยิด กับ ที่บ้าน ผู้หญิงควรละหมาดที่ไหนดีกว่ากันคะ เพราะผู้รู้คนที่หนึ่งแนะนำให้ละหมาดที่มัสยิดจะดีกว่า แต่ตอนนี้มีผู้รู้อีกคนแนะนำว่า ผู้หญิงควรละหมาดที่บ้านจะดีกว่า

เลยค่อนข้างสับสนค่ะ

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท