งานสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง WUCLM
งานสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ตักบาตรดอกไม้ แห่เทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน


วันเข้าพรรษา  หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำที่ ไม่จาริกไปค้างแรมตามสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็น  เป็นระยะเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน คือตั้งแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑    โดยทั่วไปการจำพรรรษา หรือ การอธิษฐานอยู่ประจำที่เป็นเวลา ๓ เดือน จะมี ๒ ระยะ  คือ             .ปุริมพรรษา หรือเข้าพรรษาแรกนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (วันออกพรรษาแต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองหน  ก็จะเลื่อนไปเริ่มจำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ หลัง            . ปัจฉิมพรรษา หรือเข้าพรรษาหลังจะเริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒             ในประเทศไทย พระภิกษุส่วนใหญ่จะจำพรรษาในช่วงปุริมพรรษาหรือพรรษาแรกมากกว่าปัจฉิมพรรษาหรือพรรษาหลัง  ยกเว้นพระภิกษุที่อาพาธ(ป่วย)หรือมีกิจจำเป็นจึงจะอธิษฐานจำพรรษาในช่วงปัจฉิมพรรษา  ส่วนการที่มีเดือนแปดสองหน หรือปีอธิกมาส ก็เพราะเป็นการนับทางจันทรคติ(วันขึ้น วันแรม)ซึ่งแต่ละปีจะมีจำนวนวันน้อยกว่าการนับทางสุริยคติ(การนับวันตามแบบปัจจุบัน) ทำให้ต้องเพิ่มเดือนในบางปีเพื่อชดเชยจำนวนวันที่หายไป  มิให้ปีทางจันทรคติและสุริยคติคลาดเคลื่อนกันไปมากวันเข้าพรรษา เริ่มในวันแรม ๑ ค่ำเดือนแปดในปีปรกติ, และเริ่มวันแรม ๑ ค่ำเดือนแปดหลัง ในปีที่มีเดือนแปดสองหน ซึ่งเรียกว่า อธิกมาส           วันแรม ๑ ค่ำ นั้นเรียกว่า วันเข้าพรรษา  พรรษาสิ้นสุดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ซึ่งเรียกว่า ออกพรรษา          ชายไทยนิยมบวชก่อนวันเข้าพรรษา เพื่อจะได้ศึกษาพระธรรมคำสอนได้เต็มที่ตลอดช่วงพรรษา  

         พุทธศาสนิกชนจะตั้งใจถือศีล ทำบุญ ฟังเทศน์ หรือฝึกสมาธิกันมากในช่วงเวลาเข้าพรรษา เพราะเป็นเวลาที่มีพระภิกษุอยู่ประจำในวัดต่าง ๆ มากที่สุด

 

วันเข้าพรรษา 

 การถวายผ้าอาบน้ำฝน  เกิดขึ้นโดยมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยพุทธกาล ครั้งหนึ่งนางวิสาขา มหาอุบาสิกาต้องการจะนิมนต์พระภิกษุไปฉันภัตตาหารที่บ้าน  จึงให้หญิงรับใช้ไปพระวิหารเชตวันเพื่อนิมนต์พระ  ปรากฏว่านางไปเห็นพระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนอยู่ ก็กลับมารายงานด้วยความเข้าใจผิดว่าไม่พบพระ  เห็นแต่พวกชีเปลือย  นางวิสาขาก็รู้ด้วยปัญญาว่าคงเป็นพระอาบน้ำฝนอยู่  ดังนั้น  นางจึงได้ทูลขอพรจากพระพุทธเจ้า ขอถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุและภิกษุณีเป็นประจำแต่นั้นมา จึงเกิดเป็นประเพณีที่ชาวพุทธปฏิบัติสืบต่อมาจนทุกวันนี้  และกล่าวกันว่า ผู้ที่ถวายผ้าอาบน้ำฝนจะได้รับอานิสงส์เหมือนการถวายผ้าอื่นๆตามนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ ทำให้เป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส  สวยงาม ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีความสะอาดผ่องใสทั้งกายและใจ

คำถวายผ้าอาบน้ำฝน : 

อิมานิ มะยัง ภันเต วัสสิกะสาฏิกะจีวะรานิ สะปะริวานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ วัสสิกะสาฏิกะจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ  

 

คำแปล  :  ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนพร้อมบริวารทั้งหลายเหล่านี้เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ.

 

การแห่เทียนพรรษา  เกิดจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้เช่นปัจจุบัน  ดังนั้น เมื่อพระภิกษุอยู่รวมกันมากๆเพื่อปฏิบัติกิจวัตร เช่น การสวดมนต์ตอนเช้ามืดและพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรม การบูชาพระรัตนตรัย ฯลฯ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างจากเทียน  ดังนั้น  ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันนำเทียนมาถวาย  ซึ่งช่วงต้นก็คงจะถวายเป็นเทียนเล็กๆธรรมดา ครั้นต่อมาก็ได้มีการมัดเทียนเล็กๆมารวมกันเป็นต้น คล้ายต้นกล้วยหรือลำไม้ไผ่ แล้วติดกับฐาน ที่เรียกกันว่า ต้นเทียน หรือ ต้นเทียนพรรษา และก็วิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนเป็นเทียนพรรษาอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวกันว่า เทียนพรรษา เริ่มมาจากผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งนับถือวัว ที่เป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตาย ก็จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระเป็นเจ้าที่ตนเคารพ  แต่ชาวพุทธจะทำเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย  โดยเอามาจากรังผึ้งร้าง ต้มเอาขี้ผึ้งมาฟั่นเป็นเทียนเล็กๆเพื่อจุดบูชาพระ  และได้ยึดเป็นประเพณีที่จะนำเทียนไปถวายพระภิกษุในช่วงเข้าพรรรษา  เพื่อปรารถนาให้ตนเองมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดดุจดังแสงสว่างของดวงเทียน           

คำถวายเทียน  :

อมานิ มะยัง ภันเต ปะทีปัง สะปะริวารัง ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภินขุสังโฆ อิมานิ ปะทีปัง สะปะริวารัง ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ <h5 style="margin: auto 0pt;"> คำแปล  :</h5> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"> ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเทียน กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเทียนและบริวารทั้งหลายเหล่านี้เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"></p> การตักบาดดอกไม้ ประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นประเพณีที่สำคัญของอำเภอพระพุทธบาท โดยในวันเข้าพรรษาซึ่ง ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จะมีประชาชนจำนวนมากพากันไปทำบุญตัก บาตรที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร เสร็จจากการทำบุญตักบาตรใน ตอนเช้าแล้ว ก็จะพากันไปเก็บดอกไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่าดอกเข้าพรรษา  การตักบาตรดอกไม้จะทำในตอนบ่าย ในขณะที่พระภิกษุอุ้มบาตรเดินขึ้น บันได จะรับดอกไม้จากพุทธศาสนิกชน   เพื่อนำไปนมัสการรอยพระพุทธบาท หลังจากนั้นก็จะเดินลงมา  ตลอดทางจะมีพุทธศาสนิกชนนำขันน้ำลอยด้วยดอกไม้ คอยอยู่ตามขั้นบันไดเพื่อล้างเท้าให้ ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการ ชำระบาปที่ได้กระทำมาให้หมดสิ้นไป   <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"> คำถวายดอกไม้ ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ ซึ่งสามารถใช้ได้โดยทั่วไป มีดังนี้
อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ
ระตะนัตตะยัสเสวะ อะภิปูเชมะ
อัมหากัง ระตะนัตตะยัสสะ ปูชา ทีฆะรัตตัง
หิตะสุขาวะหา โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา
คำแปล : ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชา ธูป เทียน และดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้แก่พระรัตนตรัย ขอจงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์สุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เพื่อให้ถึงซึ่งนิพพาน ที่ซึ่งสิ้นอาสวะกิเลสเทอญ
</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"></p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"> ดอกเข้าพรรษา </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"></p>

ดอกเข้าพรรษา  หรืออีกนามว่า  หงส์เหิน                     หงส์เหิน    จะผลิดอกบานสะพรั่ง  สวยงามในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา   ไว้ให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้เก็บถวายพระ   จนทำให้เกิดเป็นประเพณี   “ตักบาตรดอกไม้”  ซึ่งถือเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวพระพุทธบาท สระบุรี   “ดอกไม้ที่ชาวสระบุรีนำมาตักบาตรนี้ เรียกขานกันว่า  ดอกเข้าพรรษา    หรือ  ดอกหงส์เหิน  เพราะดอกและเกสรเหมือนกับตัวหงส์ที่กำลังเหินบินด้วยลีลาอันสง่างาม” 

<span style=
“font-size: 16pt; font-family: &#39;Cordia New&#39;;”>หงส์เหิน   
<span style=
“font-size: 16pt; color: purple; font-family: &#39;Cordia New&#39;;”>
(Globba winiti)</span><span style=
“font-size: 16pt; color: black; font-family: &#39;Cordia New&#39;;”>  
เป็นพืชวงศ์ขิง เป็นไม้ดอกเมืองร้อนเกิดในป่าร้อนชื้น
พบในประเทศไทย</span>, พม่า, เวียดนาม
ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่หรือตามชายป่า</span></span> <span style=
“font-size: 16pt; font-family: &#39;Cordia New&#39;;”>ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ขิง</span>
<span style=
“font-size: 16pt; font-family: &#39;Cordia New&#39;;”>(Zingiberaceae)</span>
<span style=
“font-size: 16pt; color: purple; font-family: &#39;Cordia New&#39;;”>
ชื่อตามท้องถิ่น</span></strong><span style=
“font-size: 16pt; color: purple; font-family: &#39;Cordia New&#39;;”> 
:  
มีการเรียกชื่อที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น</span></strong>
<span style=
“font-size: 16pt; color: black; font-family: &#39;Cordia New&#39;;”>
เช่น กล้วยจ๊ะก่า</span> <span style=
“font-size: 16pt; color: black; font-family: &#39;Cordia New&#39;;”>
(ตาก), กล้วยจ๊ะก่าหลวง
(ลำพูน), กล้วยเครือคำ
(เชียงใหม่), ก้ามปู
(พิษณุโลก), ขมิ้นผีหรือกระทือลิง
(ภาคกลาง), ว่านดอกเหลือง
(เลย), ดอกเข้าพรรษา
(สระบุรี)</span> <span style=
“font-size: 16pt; color: purple; font-family: &#39;Cordia New&#39;;”>
ต้น</span></strong><span style=
“font-size: 16pt; color: black; font-family: &#39;Angsana New&#39;;”>  
หงส์เหิน   เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวใต้ดิน  ประเภทเหง้าแบบ Rhizome  มีรากสะสมอาหารลักษณะอวบน้ำคล้ายรากกระชาย  เรียงอยู่โดย
รอบหัว  และส่วนของลำต้นเหนือดิน  คือ  กาบใบที่เรียงตัวกันแน่น  ทำหน้าที่เป็นต้นเทียมเหนือดิน มักเกิดเป็นกลุ่มกอ  สูงประมาณ 30-70 ซม.
</span> ใบ        :       เป็นใบเดี่ยวลักษณะเรียวยาว รูปใบหอกคล้ายใบกระชาย  แต่มีขนาดเล็กกว่าออกเรียงสลับซ้ายขวาเป็นสองแถวในระนาบเดียวกัน  ขนาดของ
ใบกว้างประมาณ 10 x 25 ซม.
ดอก   :   ดอกออกเป็นช่อซึ่งแทงออกมาจากยอดของลำต้นเทียม  ช่อจะโค้ง  และห้อยตัวลงอย่างอ่อนช้อยสวยงาม     มีก้านดอกย่อยเรียงอยู่โดยรอบประกอบด้วยดอกจริง 1-3 ดอก   สีเหลือง   สดใสแต่จะมีกลีบประดับ (bract)    ที่แตกต่างกันหลายรูปทรง  และหลายสีจาก globba   ที่รวบรวมไว้มี 2  ชนิด คือ G.winitil และ g.schomburgkil ซึ่งจะมีลักษณะของช่อดอกและกลีบประดับแตกต่างกันคือ
               - G.winitil  จะมีกลีบประดับขนาดใหญ่เรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบสวยงามตามช่อ โดยรอบจากโคนถึงปลาย  สีของกลีบประดับที่พบมีหลายสี  ได้แก่  สีขาว สีม่วง สีเขียว  และสีแดง  มีก้านดอกย่อยยาวชูดอกออกมาเห็นชัดเจน   ดอกจริงมีสีเหลืองลักษณะคล้ายรูปตัวหงส์ยืน  กำลังจะเหินบิน    มีลีลาสง่างามทำให้ช่อดอกมีสีสันสวยงามมากขึ้น  ช่อดอกยาวประมาณ 10 - 20 ซม.

</span> <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;">  แหล่งข้อมูลและภาพประกอบ :</p>   http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6369http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-5/no27/make.htmlhttp://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=1005http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=248 http://www.culture.go.th/study.php?&YY=2548&MM=7&DD=4http://www.trekkingthai.com/cgi-bin/webboard/print.pl?content=4581&board=triphttp://www.tourthai.com/gallery/general/pic16703.shtmlhttp://www.doa.go.th/public/plibai/plibai_45/july%2045/hong%20hean.htmlวันเข้าพรรษา โดย ศ. ดร.กาญจนา นาคสกุล     <p class="MsoNormal" style="margin: 0pt;"> </p>
หมายเลขบันทึก: 115072เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2007 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2014 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท