จัดการกับปัญหาและอุปสรรค การ Transfer Knowledge ยังงัยดี ??


 จากปัญหาและอุปสรรคที่ได้ Post ไว้ มาแล้ว ได้แก่ เป้าหมายไม่สอดคล้อง ไม่ตรงกัน, มีความเห็นแก่ตัว และ ความไม่ไว้วางใจกัน คราวนี้ผมขอนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว อาจจะเป็นข้อเสนอที่ไม่ยากในการนำเสนอ แต่ ผมคิดว่า มีหลายขั้นตอนที่ยุ่งยากในทางปฏิบัติ
 จะทำอย่างไรให้คนในองค์กรมีเป้าหมายเดียวกัน รับรู้เป้าหมายและกลยุทธ์ของบริษัทเหมือนกัน  ผมคิดว่า เราจะต้องทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศในแนวคิดต่างๆ ในสภาพบรรยากาศที่เปิดกว้าง  เป็นที่ไว้วางใจกัน ปราศจากความเห็นแก่ตัว สิ่งเหล่านี้จะสามารถส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับ มีความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น  และควรจะพยายามทำให้พนักงานแต่ละคนเห็นว่าความสามารถของตนเองมีคุณค่า รู้ว่าคนอื่นๆ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ
 ความรู้ใหม่ปะทะกับความรู้เก่า ทำให้เกิดความรู้ที่พอกพูนขึ้น อาจเป็นแนวความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นการเสริมสร้างคุณค่าให้กับโครงสร้างขององค์กร ทำให้ความรู้ที่เคยอยู่ในจิตใจของพนักงานแต่ละคน คงอยู่กับบริษัทอย่างถาวร ... พยายามทำให้มีการสร้างความรู้ในรูปแบบที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ แล้วนำความรู้เหล่านั้นมาประมวล เสริม เติม แต่ง ให้เป็นรูปแบบต่างๆ โดยไม่ต้องทิ้งคุณสมบัติส่วนตัว  ..
 การประมวลความรู้แล้วทำการถ่ายโอนนั้น กระบวนการที่ จะใช้จะต้องให้เป็นไปอย่างง่ายที่สุด มีความยืดหยุ่นที่สุด เช่น การใช้การเล่าเรื่องราว เล่าประสบการณ์ ใช้ศิลปะในรูปแบบของคำพูด (วาทศิลป์) เหมือนกับที่ บริษัทขายตรงบริษัทหนึ่ง เคยใช้กับผม ในการนำเอาผู้ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพขายตรงมาพูดเล่าประสบการณ์ แต่ขณะนั้นผมไม่ได้เปิดใจรับข้อมูล หรือว่าไม่ได้มีความไว้วางใจในระบบ หรือ ตัวบุคคล  ทำให้ผมไม่สามารถรับความรู้ที่ถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
 พูดถึงเรื่องความไว้วางใจ แล้ว ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีดีๆ มากขนาดไหนเข้ามาสนับสนุนก็ตาม หรือว่า ถึงแม้ว่าคุณจะใช้วาทะศิลป์ ดีขนาดใดก็ตามเพื่อมากระตุ้นจิตใจ แต่ ถ้าหากว่า คนที่คุณจะทำการ Share นั้น ไม่ไว้วางใจคุณเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ
 ผมคิดว่า ความไว้วางใจต้องมองเห็นได้ คนที่ทำการ Share ความรู้ พวกเขาต้องได้รับ reward กลับคืน ทั้งทางตรง ทางอ้อม.... ความไว้วางใจจะต้องกระจายอยู่ทั่วไปทั้งองค์กร ถ้าหากองค์กร มีการจัดลำดับแบบ สูง ไป ต่ำ ผมคิดว่า ความไว้วางใจจะต้องเริ่มจากข้างบน ซึ่ง หมายถึง ความไว้วางใจจะไหลจากบนไปล่าง แล้วกระจายไปทั่วทั้งองค์กร นั่นหมายความว่า ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานและค่านิยมของบริษัทได้ หากผู้บริหารระดับสูงทำตัวเป็นที่น่าไว้วางใจ ความเชื่อก็จะซึมซาบกลายมาเป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะของบริษัท
 ผมคิดว่า สิ่งที่นำเสนอนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การจัดการกับปัญหา อุปสรรค ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เกิดขึ้นได้ อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1150เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2005 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท