การบริหารทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความคุ้มทุนเสมอภาค และเป็น ธรรม


โครงร่างการสัมมนา
โครงร่างการสัมมนา
คณะพยาบาลศาสตร์   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิชา      ภาวะผู้นำและการบริหารจัดการทางการพยาบาล  (พย 614)
หัวข้อสัมมนา                      การบริหารทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความคุ้มทุน      เสมอภาค  และเป็น   ธรรม
วันที่สัมมนา                         21  ธันวาคม   2548  เวลา 14.00  -  16.00  น.
สถานที่จัดสัมมนา              ห้องประชุมชั้น 10 อาคารปิยชาติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ผู้ร่วมสัมมนา                       นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 28 คน
ผู้นำสัมมนา                         1.  นางศรีสุดา                      เจียะรัตน์
                                                2.  นางสาวศิริกมล               กันศิริ
                                                3.  นางสาวนรกมล              ใหม่ทอง
                                                4.  นางสาววรางคณา          เลี้ยงตน
                                                5.  นางสาวภัชธีญา             บุญพล
                                                6.  นางสุกัญญา                    คุณกิตติ
อาจารย์ที่ปรึกษา                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.  มรรยาท   รุจิวิทย์
                                                อาจารย์ ดร.   มยุรี   นิรัตธราดร
วัตถุประสงค์
       ผู้ร่วมสัมมนาสามารถ
  1. อภิปรายถึงคุณภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคได้
  2. อภิปรายหลักการวิเคราะห์ความคุ้มทุนกับคุณภาพการดูแลผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคได้
  3. อภิปรายถึงความเป็นธรรมและความเสมอภาคของผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคได้
  4. อธิบายถึงบทบาทพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) ในการบริหารทรัพยากรทางสุขภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
สัมมนากลุ่ม
Topic  :           การบริหารทรัพยากรทางสุขภาพให้เกิดความคุ้มทุน  เสมอภาคและเป็นธรรม
Statement of the issue  :         การวิเคราะห์คุ้มทุน   ความเสมอภาคและเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพ
The issue to be debated  :     ผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษา
ทุกโรคเกิดความคุ้มทุนได้รับการบริการที่มีคุณภาพในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพหรือไม่
Framework utilized
  1. นโยบายของรัฐบาล กำหนดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2545 มาตรา 52 : ให้ประชาชนมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้ได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ และการให้บริการสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ
  2. ทฤษฎีใหม่ทางการแพทย์ (Health - oriented Medicine) หรือทฤษฎีสุขภาพ เป็นการแพทย์ที่ยึดถือเรื่องสุขภาพเป็นหลัก มองความสมดุลยภาพระหว่าง สิ่งแวดล้อม สังคม กาย จิต ที่เกี่ยวข้องกันทุกมิติ สัมพันธ์กันอย่างบูรณาการ
  3. ปรัชญาแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่ม คือ
3.1  แนวคิดเสรีนิยม (Libertarian)  จะปฏิเสธความเท่าเทียมกันของทุกๆคน และยอมรับว่ารัฐควรจัดบริการสุขภาพขั้นต่ำ (minimal standard) สำหรับประชาชนโดยทั่วไปเท่านั้น ส่วนที่เกินจากขั้นพื้นฐาน ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพของแต่ละคนที่จะซื้อหาหรือไขว่คว้าบริการสุขภาพได้ตามความสามารถในการซื้อ
3.2  แนวคิดประโยชน์นิยม (utilitarian)  จะมุ่งหวังให้เกิดการได้ประโยชน์ หรือการสร้างสวัสดิการโดยรวมของสังคมที่มีระดับสูงสุด
3.3  แนวคิดความเท่าเทียม (egualitarian)  ทุกคนในสังคมมีความเท่าเทียมกันในทุกด้านมีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงและได้รับบริการสุขภาพการได้รับสวัสดิการการดูแลจากสังคมที่เท่าเทียมกันและควรมีสถานะทางสุขภาพในด้านผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน 
Factor / variables to be considered
  1. ด้านทรัพยากร
-          บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีปริมาณเพียงพอ มีความพร้อมในด้านทักษะ ความรู้ความสามารถ และเจตคติต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค
-          วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ คุณภาพและความเพียงพอในการให้บริการประชาชน การเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์
-          หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ความพอเพียง และสามารถสามารถเข้าถึงได้ของผู้รับบริการ
  1. นโยบายของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค คือ สิทธิของประชากรไทยทุกคนที่จะได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างเสมอภาค ด้วยเกียรติ และศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน โดยภาระค่าใช้จ่ายในการใช้บริการไม่เป็นอุปสรรคที่ประชาชนจะได้รับสิทธินั้น
  2. งบประมาณ หน่วยบริการสุขภาพสาขาจะได้รับจัดสรรงบจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2 ส่วน คือ งบบริหารจัดการ (budget for administration)  เพื่อใช้ในการบริหารงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักงานสาขา และงบเพื่อจัดบริการให้กับผู้มีสิทธิ (budget for service provision) สำนักงานสาขาจะได้รับจัดสรรงบเพื่อจัดบริการให้กับผู้มีสิทธิ ตามจำนวนประชากรผู้มีสิทธิ และปรับด้วยความจำเป็นด้านสุขภาพ
  3. แรงสนับสนุนทางสังคม และแรงต้านทางสังคม เจตคติของผู้รับนโยบายระดับบริหาร ระดับปฏิบัติการ และ ประชาชนผู้รับริการสุขภาพในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค การสนับสนุนจากหน่วยงานภาคเอกชน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
Statement of the issue 
Position ที่ 1 :      ความคุ้มทุนกับคุณภาพการบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค      
Position ที่ 2 :      ความคุ้มทุนกับความเป็นธรรมและความเสมอภาคของผู้รับบริการในระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค
Integrative solution
            นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ภายใต้ชื่อโครงการ 30  บาทรักษาทุกโรค เป็นนโยบายของรัฐบาลที่จัดขึ้นเพื่อปรับระบบบริการสุขภาพมุ่งเน้นให้ประชาชนไทยทุกคนมีสิทธิในการรับการบริการด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน สามารถเข้าถึงบริการ และได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ และลดค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อบริการด้านสุขภาพของประชาชน
Implication
            ในบทบาทของพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) สามารถนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้เกิดความคุ้มทุน และมีความเสมอภาคได้ดังนี้
1.       ปรับกลยุทธในการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก เข้าถึงประชากรในพื้นที่ เน้นบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี ลดต้นทุนในการรักษาโรค
2.       การจัดสรรงบประมาณ และจัดสรรทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.       การศึกษาวิเคราะห์ และประเมินโครงการ เพื่อ ประเมินข้อดี ข้อด้อยในระบบบริการสุขภาพในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
4.       การปรับทัศนคติของผู้รับบริการ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค สิทธิและหน้าที่ของประชาชนในระบบการรับบริการทางสุขภาพ
5.       พัฒนาคุณภาพของสถานบริการ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ พรอมใช้งาน และมีคุณภาพ เตรียมความพร้อมในการให้บริการแก่ประชาชน
6.       พัฒนาคุณภาพของบุคคลากร เพิ่มความรู้และทักษะทางวิชาชีพ โดยการฝึกอบรม  ศึกษาเพิ่มเติม และจัดหาเอกสารทางวิชาการต่างๆที่ทันสมัยมาไว้ในหน่วยงาน
7.       จัดหาแหล่งสนับสนุนทางสังคมในชุมชน เช่น หน่วยงานเอกชน หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 11448เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2006 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
Position 2. ความคุ้มทุนกับความเป็นธรรมและความเสมอภาคของผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค
                จริยธรรมตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “ethic” ซึ่งหมายถึง “system of moral principles, rules of conduct”  คำว่า “ethic” มีรากศัพท์มาจากคำว่า “ethos” ในภาษากรีกซึ่งหมายถึงข้อกำหนดหรือหลักการประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้อง และตรงกับคำในภาษาลาตินว่า “mores” ซึ่งต่อมากลายเป็นคำว่า “morality” ในภาษาอังกฤษ
ความหมายของ จริยธรรม
กีรติ   บุญเจือ        จริยธรรมคือแนวทางในการประพฤติตนเพื่ออยู่ได้ในสังคม
ก่อ    สวัสดิพาณิชย์             จริยธรรมคือ ประมวลความประพฤติ และความนึกคิดในสิ่งที่ดีงามและเหมาะสม
พระราชวรมุณี (ประยุทย์    ปยุตโต)                จริยธรรมหมายถึง   สิ่งที่ทำได้ในทางวินัย จนเกิดความเคยชินขึ้นมา มีพลัง มีความตั้งใจ ที่แน่วแน่ มีความประทับใจ จริยธรรมนี้ ต้องอาศัยปัญญาปัญญาอาจเกิดจากศรัทรา เชื่อถือผู้อื่นก็ได้
สาโรช   บัวศรี      จริยธรรมคือแนวทางในการประพฤติตนเพื่ออยู่ได้อย่างร่มเย็นในสังคม
สุลักษณ์   ศิวลักษ์ จริยธรรม คือหลักแห่งการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ     หรือแหล่งการประพฤติตนตามความนิยมของสังคม
จริยธรรม คือ ข้อปฏิบัติหรือแนวทางการประพฤติปฏิบัติทั้งทางร่างกาย วาจาและจิตใจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง บุคคลอื่น และสังคม เพื่อการอยู่รวมกันอย่างสงบสุขร่มเย็น
มนุษย์เป็นสัตว์ที่อยู่กันเป็นสังคม การที่อยู่ร่วมกันก็ย่อมมีการประพฤติปฏิบัติต่อกันและกัน มนุษย์แต่ละคนย่อมมีแนวปฏิบัติของตนเองว่า จะกระทำอะไร อย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร
โดยธรรมชาติมนุษย์มีพฤติกรรมจะใฝ่หาความสุข ความสบาย หลีกหนีความทุกข์ยาก ความลำบาก
และโดยธรรมชาติมนุษย์อาจจะปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเลวร้ายหรืออย่างเอารัดเอาเปรียบ หากว่าตนเอง
จะได้รับประโยชน์หรือความสุขความสบายเป็นเครื่องตอบแทน ถ้าทุกคนปฏิบัติเช่นนั้นสังคมก็จะวุ่นวาย เต็มไปด้วยการเอารัดเอาเปรียบกัน คนที่แข็งแรงกว่าก็จะเอาเปรียบคนที่อ่อนแอกว่า ผู้ชายก็จะเอาเปรียบผู้หญิง ผู้ใหญ่ก็จะเอาเปรียบเด็ก ซึ่งก็คงไม่ต่างอะไรจากสังคมของสัตว์ที่อยู่ด้วย
สัญชาตญาณ
เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสติปัญญา มนุษย์สามารถใคร่ครวญหาเหตุผลในการกระทำ
ของตนเอง และมีความสามารถที่จะเลือกปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติก็ได้ จากการใคร่ครวญด้วยเหตุผล มนุษย์จึงทราบว่าหากทุกคนปฏิบัติต่อกันและกันอย่างเลวร้าย ในที่สุดแล้วก็คงไม่มีใครที่จะอยู่ได้อย่างสุขสงบ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ร่วมกัน การที่จะให้ผู้อื่นเคารพสิทธิของตนเองและไม่เบียดเบียนตนเอง ตนก็ต้องเคารพสิทธิของผู้อื่นและไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตนเองอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนเองอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติอย่างนั้นต่อผู้อื่น
ส่วนประกอบของจริยธรรม
                ความเป็นผู้มีจริยธรรมของบุคคลเกิดขึ้นได้ จากส่วนประกอบ 3 ประการคือ
1.       ส่วนประกอบด้านความรู้ (moral reasoning) คือความเข้าใจของเหตุผลของความถูกต้องดีงาม สามารถตัดสินแยกความถูกต้องออกจากความไม่ถูกต้องด้วยการคิด
2.       ส่วนประกอบทางด้านอารมณ์ความรู้สึก (moral attitude and belief) คือความพึงพอใจ ศรัทธา เลื่อมใส เกิดความนิยมยินดีที่จะรับและนำจริยธรรมมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ
3.       ส่วนประกอบด้านพฤติกรรมการแสดงออก (moral conduct) คือพฤติกรรมการกระทำถูกหรือผิดในสถานการณ์แวดล้อมต่างๆเชื่อว่าอิทธิพลส่วนหนึ่งของการกระทำหรือไม่กระทำพฤติกรรมขึ้นกับความมีจริยธรรมของคนนั้นๆ
บุคคลแต่ละคนมีพื้นฐานสำคัญอยู่บนความรู้สึกยอมรับ เคารพสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นเช่นเดียวกับของตนเอง เรียกสิทธินี้ว่า สิทธิมนุษยชน และ สิทธิทางจริยธรรม  (moral right) หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมที่มนุษย์ทุกคนพึงมีโดยเท่าเทียมกัน โดยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนพึงมีอย่างเท่าเทียมกัน ในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยอื่นมากำหนดวัด มนุษย์จึงมีอำนาจอันชอบธรรม ด้านสิทธิทางจริยธรรมที่จะได้รับการปฏิบัติต่อกันอย่างมีศักดิ์ศรี เสมอภาค และเป็นอิสระ และทุกคนพึงมีหน้าที่จะปฏิบัติต่อกันในลักษณะดังกล่าว หลักความเสมอภาคเป็นรากฐานสำคัญของความยุติธรรม
ในคำประกาศสิทธิสิทธิของผู้ป่วย ข้อ 1 ที่ว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่เกี่ยวข้องมีอยู่ด้วยกัน 2 มาตรา คือ
มาตรา 52
"บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ การบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้
การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย รัฐต้องจัดให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้"
มาตรา 82
"รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง"
2. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย  ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพในที่นี้หมายถึง ผู้ซึ่งประกอบวิชาชีพแพทย์ พยาบาลและผดุงครรภ์ ทันตแพทย์และเภสัชกรรม และรวมถึงผู้ประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ด้วยโดยการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจะต้องให้กับทุกคนในลักษณะที่เท่าเทียมกัน ซึ่งยึดถือเป็นหลักของความเสมอภาคในสังคมนั่นเอง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
รัฐธรรมนูญในมาตรา 30 : "บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน"
ข้อบังคับของแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526
หมวด 1 (หลักทั่วไป)
ข้อ 3. "ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ย่อมประกอบวิชาชีพด้วยเจตนาดีโดยไม่คำนึงถึงฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม หรือลัทธิการเมือง"
หมวด 3 (การประกอบวิชาชีพเวชกรรม)
ข้อ 1. "ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับที่ดีที่สุด และพยายามให้ผู้ป่วยพ้นจากอาการทรมานจากโรคและความพิการต่างๆ โดยไม่เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษ นอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ"
ปรัชญาแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ
                ปรัชญาความเป็นธรรม ขึ้นอยู่กับทฤษฎีทางสังคม (Theory Society) ที่แต่ละคน หรือกลุ่มคนในประเทศต่างๆจะคิดและตีความ ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นธรรมโดยใช้ทฤษฎีทางสังคมแบ่งได้เป็น 3 แนวคิด คือ
1.       แนวคิดเสรีนิยม (Libertarian) 
แนวคิดเสรีนิยม จะปฏิเสธความเท่าเทียมกันของทุกๆคน และยอมรับว่ารัฐควรจัดบริการสุขภาพขั้นต่ำ (minimal standard) สำหรับประชาชนโดยทั่วไปเท่านั้น ส่วนที่เกินจากขั้นพื้นฐาน ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพของแต่ละคนที่จะซื้อหาหรือไขว่คว้าบริการสุขภาพได้ตามความสามารถในการซื้อ
2.       แนวคิดประโยชน์นิยม (utilitarian) 
การกระทำที่นำประโยชน์สูงสุด แก่จำนวนคนที่มากที่สุด และให้ประโยชน์ได้นานที่สุด คือแนวทางปฏิบัติของมนุษย์ ประโยชน์ (utility) หมายถึงความสุข (happiness) หรือความพึงพอใจ (pleasure) ของคนจำนวนมาก ยิ่งมากยิ่งดีและให้มีระดับของความพึงพอใจสูงที่สุดและนานที่สุด ให้มีความทุกข์ (pain) น้อยที่สุดและสั้นที่สุด (Jeremy Bentham ค.ศ. 1748-1832)
สจ๊วต มิล (John Stuart Mill ค.ศ.1806-1873) นักคิดและนักการเมืองอังกฤษ อธิบายว่าความสุขหรือความพึงพอใจอาจอยู่ในรูปของความสุขทางกายภาพ เช่นอาหารที่อร่อย หรือความสะดวกสบายหรืออาจอยู่ในรูปของความสุขหรือความพึงพอใจทางสติปัญญา เช่นการได้คิดในสิ่งที่ดีงามและมีเหตุผล คุณภาพของความสุขมีความสำคัญกว่าปริมาณหรือระยะเวลา แนวคิดของ Utilitarianism พิจารณาเฉพาะผลลัพธ์ของการกระทำ (consequence)
แนวคิดประโยชน์นิยม จะมุ่งหวังให้เกิดการได้ประโยชน์ หรือการสร้างสวัสดิการโดยรวมของสังคมที่มีระดับสูงสุด
3.       แนวคิดความเท่าเทียม (egalitarian) 
ทุกคนในสังคมมีความเท่าเทียมกันในทุกด้านมีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงและได้รับบริการสุขภาพการได้รับสวัสดิการ การดูแลจากสังคมที่เท่าเทียมกัน และควรมีสถานะทางสุขภาพในด้านผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน  ระบบบริการสุขภาพควรมีการกระจายทรัพยากรและบริการเป็นไปตามความจำเป็นทางด้านสุขภาพ (distribution according to health need) มิใช่เป็นเป็นไปตามกำลังซื้อของประชาชน
ตัวชี้วัดความเป็นธรรมทางสุขภาพ
                นักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (Mooney;1986 อ้างถึงใน...) ได้นำคณิตศาสตร์ของการมีส่วนเท่ากัน(Equality)มาเป็นเกณฑ์ชี้วัดความเป็นธรรม ตามความหมาย 7 ข้อ ดังนี้
1.       ความเสมอภาคของรายจ่ายต่อหัว (Equality of expenditures per capita)
2.       ความเสมอภาคของปัจจัยนำเข้าต่อหัว (Equality of  inputs per capita)
3.       ความเสมอภาคของปัจจัยนำเข้าสำหรับความจำเป็นที่เท่ากัน (Equality of inputs for equal need)
4.       ความเสมอภาคของการเข้าถึงสำหรับความจำเป็นที่เท่ากัน (Equality of access for equal need)
5.       ความเสมอภาคของการใช้บริการสำหรับความจำเป็นที่เท่ากัน (Equality of utilization for equal need)
6.       ความเสมอภาคของความจำเป็นต่อหน่วยสุดท้ายที่สัมฤทธิ์ผล (Equality of marginal met need)
7.       ความเสมอภาคของสุขภาพ (Equality of health)
ความเป็นธรรมในเชิงปรัชญา ย้อนไปสมัยอริสโตเติล ได้จัดกลุ่มความเป็นธรรม เป็น 2 ประเภท คือ ความเป็นธรรมในแนวดิ่ง (Vertical equity) หมายถึง การได้รับการดูแลที่ต่างกันเมื่อมีความต้องการต่างกัน (Unequal treatment for unequal need) และความเป็นธรรมในแนวราบ (Horizontal equity) หมายถึง การได้รับการดูแลที่เหมือนกันเมื่อมีความต้องการอย่างเดียวกัน (equal treatment for equal need)
ซึ่งระดับต่างๆของความเป็นธรรมทั้ง 2 ชนิด มีดังนี้
ความเป็นธรรมในแนวราบ (Horizontal equity)
ระดับ H1               การได้รับการดูแลที่เท่ากันสำหรับผู้ที่มีสถานะทางสุขภาพเริ่มแรกเท่ากัน (equal treatment for those with equal initial health)
ระดับ H2               การได้รับการดูแลที่เท่ากันเมื่อมีความต้องการเท่ากัน (equal treatment for equal need)
ระดับ H3               การได้รับการดูแลที่เท่ากันสำหรับผู้ที่คาดหมายว่าจะมีผลลัพธ์ทางสุขภาพที่เท่ากัน (equal treatment for those with equal expected final health)
ความเป็นธรรมในแนวดิ่ง (Vertical equity)
ระดับ V1               การได้รับการดูแลที่มากกว่าสำหรับผู้ที่มีสถานะสุขภาพเริ่มแรกที่ด้อยกว่า (More favourable treatment for those with worse initial health)
ระดับ V2               การได้รับการดูแลที่มากกว่าสำหรับผู้ที่มีความต้องการที่มากกว่า (More favourable treatment for those with greater need)
ระดับ V3               การได้รับการดูแลที่มากกว่าสำหรับผู้ที่คาดหมายว่าจะมีสถานะสุขภาพสุดท้ายที่ต่ำกว่า ((More favourable treatment for those with worse expected final health)
               
                นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสุขภาพโดยไม่มีอุปสรรคด้านการเงิน ซึ่งส่งผลให้เกิดความเป็นธรรมในระบบบริการสุขภาพมากขึ้น ซึ่งเราสามารถวิเคราะห์ความเป็นธรรมของระบบบริการสุขภาพของชาติโดยใช้แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท