ทุนทางสังคม 3 ประเภท ในทิศทางแผนฯ 10


ให้คนและสังคมไทยสามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างรู้ทัน ภายใต้หลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เน้นที่การพึ่งตนเอง การมีภูมิคุ้มกัน และการสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นในทุกมิติ ควบคู่ไปกับการนำทุนที่มีอยู่แล้วในสังคมไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเสริมสร้างทุนเหล่านั้นให้แข็งแรง

     ในเอกสารที่กล่าวถึงไว้ที่บันทึกแนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนฯ 10 ได้วางจุดมุ่งหมายไว้ว่าจะให้เกิด Green Society หรือสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน โดยจะให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของการพัฒนาในทุกมิติ คือสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาเช่นเดิม และยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยพยายามชี้ให้เห็นจุดอ่อนในช่วงแผนฯ 9 ว่ายังไม่เกิดผลในการนำมาปฏิบัติมากนัก ในช่วงแผนฯ 10 จะขับเคลื่อนให้บังเกิดผลให้เด่นชัดให้ได้

     มีประเด็นสำคัญที่จะนำมาใช้ผลักดันเพื่อขับเคลื่อน คือ การดำเนินงานทางสายกลาง ความสมดุลและความยั่งยืน ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันโลก และ การเสริมสร้างคุณภาพคน สำหรับทิศทางการพัฒนาที่กำหนดวางไว้ คือ ให้คนและสังคมไทยสามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างรู้ทัน ภายใต้หลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เน้นที่การพึ่งตนเอง การมีภูมิคุ้มกัน และการสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นในทุกมิติ ควบคู่ไปกับการนำทุนที่มีอยู่แล้วในสังคมไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเสริมสร้างทุนเหล่านั้นให้แข็งแรง ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม รวมถึงระดับประเทศ ทุนทางสังคมที่มีอยู่แล้วทั้ง 3 ประเภท คือ

          1. ทุนทางเศรษฐกิจ อาทิ ทุนทางกายภาพ (Physical Capital) ทุนหรือสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Capital/assets) สินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้ทางกายภาพ แต่สามารถอ้างสิทธิประโยชน์ได้ในอนาคต (Intengible Capital) และแรงงานหรือทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital)

          2. ทุนทางสังคม เป็นทุนที่เกิดจากการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ บนฐานของความไว้วางใจกัน มีความผูกพัน และมีวัฒนธรรมที่ดีงาม องค์ประกอบหลัก 4 ด้านที่สัมพันธ์กัน คือ คน สถาบัน วัฒนธรรม และองค์ความรู้ จะเกิดเป็นพลังชุมชนและสังคม ในประเด็นนี้แหละที่ผมผมองเห็นว่าหากจะได้นำมาเชื่อมต่อเข้ากันกับ Every Human Mapping: EHM หรือการทำแผนที่ความรู้ในตัวคนทุกคน ที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้กล่าวไว้เมื่อคราว KM Forum ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา น่าจะเป็นเครื่องมือที่ดีในการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเสริมสร้างทุนเหล่านั้นให้แข็งแรง ดังแนวทางข้างต้น

          3. ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Based Economy) โดยการบริหารจัดการเพื่อให้มีการกระจายผลประโยชน์อย่างสมดุลและเป็นธรรม

หมายเลขบันทึก: 11412เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2006 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท