Confounding


การจัดการกับ confounding คือ รู้, รู้ตัว, ป้องกัน/ควบคุม และบอกกล่าวให้คนอื่นรู้ด้วย

     Confounding เป็นเรื่องที่นักวิจัยต้องให้ความสำคัญ เพื่อไม่ให้การสรุปผลที่ได้ออกมาผิดพลาดไป เนื่องจากมีตัว Confounder มาร่วมมีอิทธิพลต่อสิ่งที่เรากำลังสังเกต หรือตัวแปรที่เรากำลังวัดค่าอยู่ การอ่านรายงานผลการวิจัยของนักวิจัย ในฐานะเป็นผู้เสพ ก็ต้องพิจารณาดูด้วยว่าน่าจะมี Confounding อยู่ด้วยหรือไม่ และผู้วิจัยได้ควบคุมได้ดีหรือไม่อย่างไร ขอกล่าวเลยไปอีกสักนิดว่าในการควบคุม Confounding สามารถทำได้ตั้งแต่การออกแบบการวิจัย ตรงนี้แหละที่การทบทวนวรรณกรรมจะมีความสำคัญยิ่ง และสำคัญในอีกหลาย ๆ ประการสำหรับการวิจัยครั้งหนึ่ง ๆ มือใหม่อย่างที่ผมเคยเป็นมักจะบ่นเบื่อ ๆ และมักจะบอกว่าทบทวนหมดแล้ว (ทั้ง ๆ ที่ยังไม่หมด) แต่ทำไมไม่ตรงเป้าสักที (ก็เพราะเป้าไม่ชัดเจนเอาเสียเลย)

     Confounding ที่จะเขียนวันนี้น่าจะโน้มเอียงไปทางการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเสียมากกว่า เพราะในการวิจัยนั้นมีคนได้เขียนไว้ในเชิงทฤษฏีเยอะมากทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ Confounding กับการปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ก็ต้องกล่าวก่อนว่า คืออะไร อย่างไรบ้าง และรู้แล้วจะทำอย่างไร

     อะไรคือ Confounding: confounding และ bias เหมือนกันตรงที่ทำให้ข้อสรุปผิดเพี้ยนไป แต่ bias เกิดจากตัวผู้สังเกต ผู้วิจัย หรือส่วนที่เป็น Subject เอง ส่วน confounding นั้น เป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ตามธรรมชาติที่ซับซ้อนที่มีอยู่แล้ว ของตัวแปรที่เราไปสังเกต ไปวัดค่า อาจารย์ Advisor ของผมคือ รศ.นพ.สีลม แจ่มอุลิตรัตน์ จึงบอกไว้ว่า ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่เราจะต้องแยกให้ออกว่าอะไรคือ confounding หรือ bias แต่สำคัญอยู่ที่เราได้นึกถึง ป้องกัน และควบคุม อย่างรัดกุม แล้วหรือยังมากกว่า

     อย่างไรบ้างที่เป็น Confounding: หากให้อธิบายว่าอย่างไรบ้าง ผมคงยังไม่มีความสามารถเพียงพอ แต่ขอยกเป็นตัวอย่าง (โดยใช้ข้อมูลสมมุติทั้งหมดนะครับ) เพื่อจุดประกายน่าจะดีกว่า ว่าอย่างไรบ้างถึงเป็น Confounding เช่น ที่ classic มาก คือ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด ต่อมาก็กลายเป็น การได้รับควันบุหรี่ (โดยไม่ต้องสูบเอง) เป็นสาเหตุหนึ่ง (จากอีกหลาย ๆ สาเหตุ) ของโรคมะเร็งปอด หรือจะลองดูตัวอย่างเหล่านี้เพิ่มเติมครับ
          1. มีข้อสรุปว่าคนที่รับประทานกาแฟมาก จะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคหัวใจ โดยไม่ได้ปรับค่าพฤติกรรมอื่นเลย เช่น การสูบบุหรี่ กรรมพันธุ์ การออกกำลังกาย อย่างนี้จะเป็นการสรุปที่มี Confounding อยู่อีก
          2. พื้นที่ที่มีการซื้อเสียงมาก ๆ จะมีอัตราการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูง อาจจะผิดเพี้ยนไปเพราะอาจจะเกิดจากตัวแปรอื่น ๆ ได้อีกเช่น ความตื่นตัวทางการเมืองที่มีอยู่แล้วแม้จะไม่มีกระแสการซื้อเสียงเกิดขึ้น เป็นต้น
          3. พฤติกรรมของผู้คนแถบนี้ไม่ค่อยดี เพราะมีการระบาดของโรคระบบทางเดินอาหารบ่อย ๆ ก็อาจจะผิดเพี้ยนไปเพราะอาจจะเกิดจากตัวแปรอื่น ๆ ได้อีกเช่น ภาวะน้ำท่วมซ้ำซาก ระบบประปามีการปนเปื้อน เป็นต้น
          4. คนเขตเมืองไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ ก็อาจจะผิดเพี้ยนไปเพราะอาจจะเกิดจากตัวแปรอื่น ๆ ได้อีกเช่น อาจจะมีความต้องการ หรือมีรูปแบบการส่วนร่วมในรูปแบบอื่น ๆ อีกที่เราไม่ได้สนใจ เป็นต้น
          5. สถานบริการแห่งนี้มีระดับคุณภาพเชิงสังคมสูงมาก เพราะมีคนใช้บริการเต็มตลอดวัน ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจจะเกิดจากประชาชนไม่มีทางเลือกอื่นเลยก็ได้ เป็นต้น

     รู้แล้วว่าเกิด Confounding จะทำอย่างไร: จะเห็นว่าในประเด็นที่ผมพยายามนำเสนอ คือ confounding เป็นสิ่งที่เกิดมีขึ้นอยู่แล้วในธรรมชาติ ที่มีความสัมพันธ์ มีอิทธิพลต่อกันอยู่ และเชื่อว่าฉะนั้นต้องรู้ให้ครอบคลุม (comprehensive) ในเรื่องนั้น ๆ ว่ายังมีอะไรอีกบ้างมามีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์อยู่ด้วย ก็จัดการศึกษาเข้าไปให้หมด หรือหากมีข้อจำกัดที่ทำไม่ได้ทั้งหมด ก็ขอให้ระบุเป็นข้อกำหนดยกเว้นไว้เสีย เวลาจะสรุป ซึ่งก็หมายถึงการจัดการกับ confounding คือ รู้, รู้ตัว, ป้องกัน/ควบคุม และบอกกล่าวให้คนอื่นรู้ด้วย

     Confounding เป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผมเสียหลัก และเสียเวลา ในช่วงแรก ๆ จึงเกิด Idea ว่าน่าจะลองเอามาเล่าให้อ่านแบบง่าย ๆ พอที่จะสะกิดให้ได้ศึกษาลงลึกในรายละเอียดกันต่อไป (ลองดูที่ valid chance +bias +confounding) เพราะเรื่องนี้ผมว่าสำคัญ และสำคัญมากเมื่อจะต้องตัดสินใจเชื่อหรือทำอะไร หากเราได้คำนึงถึงเรื่องนี้ให้มากที่สุดด้วยอีกเรื่องหนึ่ง ก็น่าจะผิดพลาดน้อยลงได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 11410เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2006 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ช่วยอธิบาย bias 3 cs  < compliance  contamination  cointervention > in  experimental  study

   thank you

 
ส่วนที่ 6 พิจารณาแห่งของอคติในการศึกษา
6.1 วิธีการที่ใช้ในหาเลือกกลุ่มตัวอย่างอาจทำให้เกิดอคติหรือความผิดพลาด
    ในผลการศึกษาหรือไม่
 
ส่วนที่ 6 พิจารณาแห่งของอคติในการศึกษา
6.1 วิธีการที่ใช้ในหาเลือกกลุ่มตัวอย่างอาจทำให้เกิดอคติหรือความผิดพลาด ในผลการศึกษาหรือไม่
 
6.2 การวัดตัวแปรอิสระและตัวแปรผลลัพธ์ อาจทำให้เกิดอคติหรือ ความผิดพลาดในผลการศึกษาหรือไม่ 
6.3 มีความเป็นไปได้เพียงไรที่จะมีผลของตัวแปรกวนบ้างตัวแปรที่ทำให้ผล การศึกษาผิดพลาดไป 
ถ้าหากมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดของการศึกษา ความผิดพลาดนั้นจะเป็นไปในทิศทางใด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท