เทคนิคการถอดบทเรียน


ความยากของการเรียนรู้...อยู่ที่...ฐานของความรู้ แต่ความยากของฐานการเรียนรู้...อยู่ที่...ใจของผู้เรียนที่เปิดรับ

     หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรณีตัวอย่าง (Case Study) ที่ดิฉันเรียนรู้เรื่อง  เทคนิคการถอดบทเรียน  ใช้วิธีการเรียนรู้จากผู้รู้ว่า "เขาทำกันอย่างไร?" ที่ดูจากการปฏิบัติของผู้รู้  จากการลงมือปฏิบัติ  และจากการสนทนา/ชี้แนะของผู้รู้  แล้วนำผลงานที่ได้กลับไปเขียนแล้วมาแลกเปลี่ยนระหว่างกัน 

     ซึ่งผลที่เกิดขึ้นนั้นพบว่า  ดิฉันเห็นการทำงานดังกล่าวที่ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus -group) เป็นหลัก  มีการใช้เครื่องมือช่วยเพื่อรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลกับชุมชน  ได้แก่  3 ห่วง 2 เงื่อน,  การใช้ตาราง,  กราฟวงกลม, การบรรยายความ,  และภาพถ่าย       

     ส่วนข้อมูลที่เกิดขึ้นก็มาจากการสัมภาษณ์,  การสอบถาม, และสถานการณ์จริง  ในการจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล  การจัดหมวดหมู่ข้อมูล  การแยกแยะและจำแนกข้อมูล  และการเปรียบเทียบข้อมูล  เป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของ
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 

      การถอดบทเรียนที่เกิดขึ้นพบว่า  ทีมงานได้ใช้  1)  การตั้งประเด็นคำถามเป็นหลัก แล้วนำคำตอบที่เกิดขึ้นมาประมวลผล  2)  การตั้งประเด็นสนทนาเพื่อชวนคุย  แล้วนำคำพูดที่โต้ตอบมาประมวลผล    3)  การตั้งโจทย์เพื่อให้กลุ่มร่วมกันอภิปรายความคิดเห็นและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แล้วนำผลมาประมวลสรุป  และ 4)  การตั้งประเด็นสอบถามเพื่อจัดเก็บข้อมูล  โดยใช้แบบสอบถามรายบุคคล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผล


     ฉะนั้น การเรียนรู้เรื่องนี้จึงอยู่ที่ 1) วิธีการชวนชาวบ้านคุยหรือ "เทคนิคการชวนคุยชวนเล่า"  2)  เทคนิคการผูกเรื่อง  3)  วิธีการคิดเครื่องมือมาใช้จัดเก็บ ประมวล นำเสนอ เปรียบเทียบ และสรุปข้อมูล  และ 4)  รูปแบบและวิธีการชวนชาวบ้านเข้ามาเป็นทีมงานและเข้ามามีส่วนร่วมในงานที่ทำหรือ "เทคนิคการดึงดูดคน"  ซึ่งบทบาทส่วนใหญ่ที่เราทำก็คือ  เป็น Facilitater  และ เป็นวิทยากรกระบวนการ  ดังนั้น  การปฏิบัติงานจึงอยู่ภายใต้พื้นฐานและองค์ความรู้หลักของทั้ง 2 เรื่องดังกล่าวค่ะ.

หมายเลขบันทึก: 112010เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • หวัดดี ครับ ครูจือ
  • ขอบคุณที่แบ่งปัน ครับ
ข้าพเจ้ามีข้อความบางตอน จากหนังสือ  ๒๖ ศตวรรษ พระพุทธเจ้าสุดยอด  ซี.อี.โอ  มาให้ท่านผู้สนใจ จะได้ประโยชน์ข้อคิดต่างๆ ไปปฏิบัติให้เกิดผลและสร้างสรรค์สังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืนของรากฐานของธรรมาธิปไตย ใช้หลักเหตุหลักผลบนพื้นฐานของความจริงเพื่อสังคมที่มีความสุขต่อไป                            ก้าวแรกสู่เวที  ซี.อี.โอ.                       ๑๐๑.   องค์กรแต่ละองค์กรน่าจะเริ่มตรงที่ว่า มีวิสัยทัศน์ที่ดี  เราจะหาวิสัยทัศน์ขององค์กรของเราได้อย่างไร                เริ่มต้นคำถามที่หนึ่ง   ข้าพเจ้าประสบปัญหาในการหาคำตอบเสียแล้วก็จะไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่าวิสัยทัศน์ของพระพุทธองค์คืออะไรได้อย่างไร  คำว่า  วิสัยทัศน์  เป็นคำที่เพิ่งมีใช้กันเมื่อไม่นานนี้เอง                เพื่อนนักสังคมวิทยาชี้ว่า  คำว่า  วิสัยทัศน์  ใช้กันเกร่อมากในเวลานี้ พอๆ กับคำว่า  วัฒนธรรมองค์กร  และใช้ในความหมายต่างๆกันเพราะโลกทัศน์ของแต่ละคนหรือแต่ละสังคมต่างกันให้คิดให้ดีว่าต้องการถามอะไรแน่                เพื่อนนักเศรษฐศาสตร์บอกว่า  ไม่มีคำว่า วิสัยทัศน์  ไม่ได้หมายความว่าองค์กรไม่มีวิสัยทัศน์                เมื่อปรารภคำว่า  โลกทัศน์   ที่สะดุดหูเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งคำ  เขาก็บอกว่า ทุกศาสตร์ล้วนมีโลกทัศน์เป็นจุดตั้งต้น  ไม่มีพูดไว้ตรงๆ ก็ต้องอ่านทั้งหมดแล้วสรุปรวบยอดออกมาเอง                ผู้บริหารคนหนึ่ง ส่งเอกสารแผ่นหนึ่งมาให้ แล้วบอกว่า นี่เป็นตัวอย่างภาพรวมโครงสร้างในระดับต่างๆ แบบหนึ่งให้ลองดู เผื่อจะเริ่มต้นได้          เพื่อนร่วมงานอีกคนหนึ่งก็ส่งกระดาษให้อีกหนึ่งแผ่น  พร้อมกับบอกว่า เมื่อคิดออกแล้วนี่คือตอนต่อไป คุณต้องหาทางสร้างมูลค่าให้ได้เพื่อให้ธุรกิจของคุณแตกต่างและผูกใจลูกค้าเหนือคู่แข่ง                ตั้งใจจะเปิดหาคำตอบจากพระไตรปิฎก คำตอบกลับชี้ไปหาตำราต่างประเทศ แต่ก็ทำให้ได้กรอบความคิด ได้รู้ความหมายในเชิงทฤษฎีตะวันตกที่เรานำคำและความคิดของเขามาใช้ และได้แนวทางในการรวบรวมความคิด และแนวทางในการเริ่มทำงานเพื่อไม่ให้ทั้งความคิดและการกระทำเปะปะ กระจัดกระจายขาดพลัง                ความหมายและตัวอย่างวิสัยทัศน์ขององค์กรวิสัยทัศน์   (VISION)  หรือเป้าหมายหลัก (Over-riding Goal)  หมายถึง  จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายสูงสุดที่บริษัทหนึ่งๆ มุ่งหวัง  เปรียบได้กับดาวฤกษ์ที่ส่องแสงนำทาง เป็นสิ่งที่บริษัทกำหนดขึ้นเป็นจุดกลางที่ทั้งท้าทาย และเหนี่ยวนำให้พนักงานในบริษัทแหงนหน้าขึ้นมองและก้าวไปด้วยกัน สู่จุดหมายปลายทางในทิศทางเดียวกันคุณค่า  หรือ  ค่านิยมองค์กร(Value, Corporate  Value, Core Value)  คือ  สิ่งที่บริษัทกำหนดขึ้นมาให้พนักงานยึดเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อใช้ควบคู่ไปกับเป้าหมายหลัก ค่านิยมองค์กรที่พนักงานปฏิบัติตามอย่างจริงจัง  มีส่วนทำให้บริษัทหนึ่งแตกต่างจากบริษัทอื่นๆ พันธกิจหรือ คำแถลงพันธกิจ ( Mission  Statement)  คือเป้าหมายของบริษัทที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายหลักที่วางไว้                กลุ่มบริษัทในเครือซีเมนต์ไทย                                อุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจ                -.-  ตั้งมั่นในความเป็นธรรม                -.-  มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ                -.-  เชื่อมั่นในคุณค่าของคน                -.-  ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม          อุดมการณ์ดำเนินธุรกิจทั้ง ๔ ประการนี้สามารถสรุปรวมได้ว่าเครือซีเมนต์ไทยยึดมั่นใน คุณภาพและเป็นธรรม                บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน)                   วิสัยทัศน์  การผู้นำด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างครบวงจรเพื่อสร้างความพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าด้วยคุณภาพมาตรฐานสากลภายใต้การกำกับดูแลที่ดี                                พันธกิจ                  -.-  เป็นผู้นำธุรกิจน้ำครบวงจรด้วยบริการที่เป็นเลิศในระดับมาตรฐานสากล และสร้าง                          ความพึงพอใจสูงสุด                -.-  เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง                -.-  เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ทั้งในธุรกิจหลักและธุรกิจต่อเนื่อง                -.-  สร้างประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมเพื่อสร้าง                          มูลค่าเพิ่มแก่องค์กรในระยะยาว          -.-  มุ่งเน้นขยายธุรกิจด้านน้ำอย่างครบวงจร โดยเฉพาะการพัฒนาธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่                            สนับสนุนและเสริมศักยภาพในการแข่งขัน                -.-  เป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศน้ำ ในการจัดการและบริหารเพื่อดำรง       ความสามารถในการแข่งขัน                -.-  เป็น Good  Corporate  Citizen  ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม  ชุมชนท้องถิ่น  และห่วงใยสิ่งแวดล้อม  

ผมได้อ่านชิ้นงานของคุณศิริวรรณแล้ว รู้สึกชื่นชมในกระบวนการทำงานจัง ผมมองว่าทฤษฎีร้อยแปดพันเก้าไม่สู้การลุยงานภาคสนามเพราะยุทธวิธีที่ใช้ปรับเปลี่ยนตามสภาพการณ์ งานของคุณศิริวรรณน่าจะพ้องกับสำนวนหนังจีนที่ว่าถึงขั้นกระบี่อยู่ที่ใจโดยแท้ จะรออ่านงานชิ้นต่อไปของคุณครับ

                                     เคารพรัก

                                      [email protected]

เรียน  คุณพิกุล

   ดิฉันได้อ่านเนื้อหาสาระที่คุณพิกุลกรุณานำมาแลกเปลี่ยนแล้ว  เป็นเรื่องที่คงจะต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดอีกเยอะ จึงเกิดข้อสงสัยว่า...

   1. แผนยุทธศาสตร์ กับแผนปกติธรรมดาต่างกันอย่างไร?

   2.  การเรียนรู้เรื่องดังกล่าวเป็นความละเอียดอ่อนที่ ผชช. ต่างมีเทคนิคการสร้างขึ้นมาต่างกัน ดังนั้น ที่ดิฉันกำลังเรียนรู้จึงนำสิ่งต่าง ๆ ไปทดลองฝึกตนเองดู โดยใช้ห้องเรียนพื้นที่

  ขอบคุณนะค่ะ

เรียน คุณศิริวรรณ

ขอบคุณสำหรับงานเขียนสั้นๆ ดูธรรมดาๆ แต่จริงๆ ...ไม่ธรรมดา ค่ะ

ผมสอนดนตรีและมีผลงานนักเรียนมาก  และสนใจการถอดบทเรียน  อยากมีความรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท