การศึกษาไทย การศึกษาโลก ตกต่ำจริงหรือ.....!!!


การมองว่าการศึกษาของไทยและของโลกตกต่ำไม่ใช้มุมมองที่เลวร้ายแต่จะช่วยให้เราเห็นปัญหาและร่วมกันแก้ไขได้ เพียงแต่ผมไม่อยากให้เกิดภาพลักษณ์ว่าการศึกษากำลังตกต่ำโดยมองในด้านเดียว

เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสเป็นตัวแทนของนักศึกษาระดับปริญญาโทเข้าไปให้ถูกสัมภาษณ์  พร้อมกับคุณ สุภัทร ชูประดิษฐ์  และพี่เหมียวนักศึกษาปริญญาเอก  สาขาวิจัย คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  โดยผู้ประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย  ก่อนที่จะเข้าไปในห้องเราทั้งสามได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาระดับปริญญาเอก  ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมสนใจและใคร่รู้  ก็พบว่าการเรียนปริญญาเอกนั้นต้องทุ่มเททั้งแรงกาย  แรงใจ  และแรงสมองค่อนข้างมาก  และต้องมีการเตรียมองค์ความรู้ไว้ให้พร้อม  เพื่อรองรับกับอุบัติเหตุความรู้(Knowledge Accident) ผมเรียกอย่างนี้เพราะว่าความรู้ที่เกิดจากการรีบเร่งค้นคว้า  อ่าน  วิเคราะห์สังเคราะห์อย่างเร่งด่วนเพื่อใช้ในการสอบหลังจากที่อาจารย์นัดเพียงไม่กี่วัน ซึ่งเป็นความรู้ที่วูบวาบเดี๋ยวมาได้ก็หายไปได้  หรืออาจจะเป็นแผลเป็นฝังลึกก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าอุบัติเหตุความรู้นั้นจะรุนแรงมากแค่ไหน

          พูดมามากจะได้เข้าเรื่องซักที  กับคำถามที่ผู้ประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยซึ่งก็คืออาจารย์ในมอนี่เองแหละเป็นผู้ถาม  คำถามเดียวที่ผมไม่ได้ตอบและอยากตอบแต่ไม่มีโอกาสจึงนำมาเล่าสู่กันฟังที่นี่  คำถาม? มีอยู่ว่า  ปัจจุบันนี้ภาพลักษณ์ของการศึกษาทั้งของไทยและของโลกดูเหมือนว่าจะตกต่ำ(Down) ลงทุกที  ท่านคิดว่าเป็นเพราะอะไร : พี่เหมียวตอบว่าเป็นเพราะในมหาวิทยาลัยขาดการถ่ายโอน(Tranfer) ความรู้  ประสบการณ์จากอาจารย์รุ่นเก่ามายังอาจารย์รุ่นใหม่  อันนี้ผมก็เห็นด้วยว่าเป็นปัจจัย(Factor) หนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญ  ในส่วนที่เป็นคำตอบของผม คือ มุมมอง(Point of view) ของคนต่างหากที่ทำให้การศึกษาดูตกต่ำลง  หากมองในแง่ปริมาณจะพบว่าปัจจุบันมีผู้รู้หนังสือมีสูงมาก  แทบจะเรียกได้ว่าเด็กทุกคนในประเทศไทยจะต้องได้รับการเรียนหนังสือทั้งทางตรงและทางอ้อม  ส่วนด้านคุณภาพก็จะพบว่ามีองค์ความรู้เพิ่มขึ้นมากมายทั้งที่อยู่ในหนังสือ  แหล่งเรียนรู้  ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น  แต่คนมักจะนำเอาการศึกษาไปเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีซึ่งจะเปรียบเป็นรถ  การศึกษาก็เป็นเหมือนรถโฟล์คเต่า  ส่วนเทคโนโลยีเหมือนรถสูตร F1  มันเอามาแข่งกันมันก็แพ้  นอครอบกันกี่รอบก็ไม่รู้  ที่ผมเปรียบเทียบว่าการศึกษาเป็นรถโฟล์คเต่านั้นมีนัยว่าการศึกษาเป็นสิ่งที่เก๋า  มีคุณค่า  มีราคา  ตกแต่งแล้วสวยงาม  ไม่ได้เชื่องช้าประหนึ่งลักษณะของตัวมัน  หากมีการบำรุงรักษามันอย่างดี  เราก็จะสามารถขับมันให้ถึงเส้นชัยได้เหมือนกัน

     ผมมักจะคุยกับแฟนเวลาที่นังรถไปด้วยกัน  ขณะที่ขับรถคู่มากับรถเบนซืเปิดประทุน  ผมจะพูดว่าเดี๋ยวเราก็ติดไฟแดงเดียวกัน  เรานั่งได้ 4 - 5 คน  มันนั่งได้แค่ 2 สอง  เปรียบเทียบคามคุ้มแล้วต่างกันลิบลับ  ดังนั้น  ในคำตอบของผมก็สรุปได้ว่าการศึกษาของไทยและของโลกไม่ได้ตกต่ำลงเลยมีกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  และอาจจะเรียกได้ว่าก้าวหน้าอย่างรวดเร็วด้วยซ้ำเมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์  เช่น  การเรียนการสอนผ่านดาวเทียม  การเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต ฯลฯ แต่นั่นก็ไม่ได้ความว่าสิ่งที่เรามีอยู่  เป็นอยู่จะเป็นเลิศแล้ว  เรายังต้องเผชิญกับปัญหาอื่นๆ เช่น  ปัญหาสังคม  ปัญหาเศรษฐกิจ  ปัญหาการเมือง  และอื่นๆ อีกมากมาย  นั่นคือขวากหนามที่การศึกษาจะต้องก้าวผ่านไปให้ได้  การมองว่าการศึกษาของไทยและของโลกตกต่ำไม่ใช้มุมมองที่เลวร้ายแต่จะช่วยให้เราเห็นปัญหาและร่วมกันแก้ไขได้ เพียงแต่ผมไม่อยากให้เกิดภาพลักษณ์ว่าการศึกษากำลังตกต่ำโดยมองในด้านเดียว 

 

หมายเลขบันทึก: 111104เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นบันทึกที่น่าสนใจมากครับเก่ง  ผมกับเก่งและพี่เหมียวก็เป็นสามคนของตัวแทนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของคณะในการเข้าร่วมให้สัมภาษณ์ต่อคณะกรรมการประเมินภายใน ครั้งนี้ 

 ปัญหาสำคัญของการถ่ายโอนความรู้ จากคนรุ่นเก่า สู่คนรุ่นใหม่  โดยเฉพาะยิ่งรุ่นห่างกันมาก ๆ ประสบการณ์ และความรู้ที่จะเชื่อมโยงหากันดูห่างไกลกันทุกที ประเด็นนี้คือ เกิด "Knowledge Gap" หรือ "ช่องว่างของความรู้"  นี่คือปัญหาทาง KM~ และ LO ที่อย่างไรจึงจะให้ทำ KM และ LO~ ในองค์การและเป็นปัจจัยหนึ่งที่น่าขบคิดต่อยอดกันครับ.

ไว้แลกเปลี่ยนกันอีกน่ะครับ

 สุภัทร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท