ทีม ISO กำลังจะใช้กระบวนการ KM ในการขับเคลื่อนงาน


ขณะนี้ ได้ยินข่าวที่น่ายินดีอย่างยิ่ง กองบัญชาการ ISO กำลังจะออกจาก war room เพื่อออกภาคสนาม โดยลงไปเป็นแนวร่วมกับผู้ปฏิบัติงานในห้องแลบต่างๆ แทนการบัญชาการแนวดิ่ง

       มาตรฐานซีรีส์ ISO ทั้งหลาย หากใครเคยสัมผัส มักจะรู้สึกว่า มันเป็นอะไรที่ไม่สนุกเลย เป็นการกำหนดกฎเกณฑ์ที่ให้บุคคลและองค์กรทำตาม 1, 2, 3 ... อย่างเคร่งครัด แถมสิ่งที่ทำจะต้องมีการบันทึกเป็นเอกสารหลักฐาน วิธีการเตรียมการรับรอง ISO  ส่วนใหญ่ก็จะมีการจัดตั้งทีมนำเพื่อรับผิดชอบ ศึกษากฏเกณฑ์ต่างๆ แล้วก็นำเผยแพร่ลงไปยังผู้ปฏิบัติ ตามที่ทีมนำได้ตีความและตัดสินใจว่าควรจะทำอย่างนั้น ควรจะทำอย่างนี้  ผู้ปฏิบัติก็ทำไปตามคำแนะนำ (one-way) และเมื่อผ่านการรับรอง ทุกคนก็จะโล่งอก หลังจากนั้น เหตุการณ์ทุกอย่างก็ค่อยๆ จางหายไป กลับเข้าสู่ภาวะเดิม คิดแบบเดิม และ ปฏิบัติแบบเดิม

       มาตรฐาน ISO 15189 เป็นข้อกำหนดคุณภาพสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์โดยเฉพาะ ภาควิชาพยาธิฯ ก็มีเป้าหมายที่จะขอรับการรับรองเช่นกัน ถึงแม้จะไม่ชอบการทำตาม series ISO แต่ก็คงต้องไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ และ จริงๆแล้ว กฎเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานก็มีประโยชน์จริงๆ เพื่อทำให้ทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการมั่นใจในผลการตรวจทดสอบ

       การเริ่มดำเนินการที่ภาคฯ ก็เหมือนกับที่อื่นๆ คือการตั้งคณะทำงานกลาง เพื่อศึกษาข้อกำหนด และเขียนข้อกำหนดกลาง ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ห้องปฏิบัติการต่างๆ ในภาคทำตาม  คณะทำงานได้ทุ่มเทอย่างหนัก โดยการประชุมโต๊ะกลม สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง มาเป็นเวลาหลายเดือน แต่ห้องปฏิบัติการที่รอทีมกลาง ก็ยังไม่ได้รับคำแนะนำวิธีการดำเนินการอย่างชัดเจน  ดิฉันได้พยายามบอกทีมงานว่า น่าจะเปลี่ยนวิธีการให้เป็นรูปแบบใหม่ คิดใหม่ โดยเฉพาะการนำกระบวนการ KM มาดำเนินการ (นอกจากการทำโครงการพัฒนางานภายใต้โครงการ Patho Otop แล้ว) แต่ทุกคนก็ยังยืนยันว่า อยากให้ทีมกลางกำหนดกฏเกณฑ์ให้เสร็จ ก่อนที่จะแจกจ่ายวิธีไปให้ผู้ปฏิบัติ

      ขณะนี้ ได้ยินข่าวที่น่ายินดีอย่างยิ่ง กองบัญชาการ ISO กำลังจะออกจาก war room เพื่อออกภาคสนาม โดยลงไปเป็นแนวร่วมกับผู้ปฏิบัติงานในห้องแลบต่างๆ แทนการบัญชาการแนวดิ่ง  การปฏิบัติการจะแบ่งเป็น 3 ทีมแบ่งกันดูแลมาตรฐานด้านต่างๆ ได้แก่ 1. ด้านระบบคุณภาพ 2. ด้านระบบบุคลากร และ 3 ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และเครื่องมือ  อ.ปลื้มจิต หัวเรือใหญ่ของทีม ISO บอกว่า การลงไปครั้งนี้ จะไม่ใช่การตรวจประเมินภายใน (internal audit) แต่จะไปในเป็นแนวร่วม เพื่อไปเรียนรู้ร่วมกันกับผู้ปฏิบัติว่า เขามีความเข้าใจ หรือไม่เข้าใจอย่างไร มีการดำเนินการไปถึงไหนแล้ว และจะต้องทำอะไรต่อไป ต้องการความช่วยเหลืออะไร  หลังจากนั้น จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้ไปพูดคุยกับห้องแลบต่างๆ และทำตารางอิสราภาพ (ตารางประเมินความสามารถ) แต่ละห้องแลบ ทำเรื่องใดได้ดี เรื่องใดยังทำไม่ได้สมบูรณ์นัก  จากนั้นทีมแนวร่วม ISO ก็จะทำตัวเป็นแม่สื่อ จับคู่ให้ห้องแลบที่ทำได้ดี และยังทำได้ไม่ดีนัก ในแต่ละหัวข้อ ได้มีโอกาสไปศึกษา ดูตัวอย่างจริง ซึ่งกันและกันแบบต่อหน้าต่อตา ซึ่งก็อยู่ในภาควิชาอยู่แล้ว

อย่างนี้ จะเรียกได้หรือไม่ว่า KM กำลังจะเข้ามาเป็นวิถีในการดำเนินงาน/กิจกรรมในภาควิชา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงาน โดยเฉพาะงานใหญ่ๆ ที่ต้องการความร่วมมือของคนจำนวนมาก หรืออีกนัยหนึ่ง KM กำลังกลายเป็นเป็นวัฒนธรรมองค์กรของชาวพยาธิ มอ. นั่นเอง
หมายเลขบันทึก: 11068เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2005 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอชื่นชมกับความคืบหน้าของเรื่องนี้และขบวนการดำเนินการค่ะ เคยอยากเห็นอะไรๆแบบที่เป็นระบบแบบนี้ (แต่ไม่คิดว่ามันจะยุ่งมากขนาดนี้) มานานแล้ว และเห็นได้ชัดว่าขบวนการดำเนินการและกระตุ้นความกระตือรือล้นของอาจารย์ได้ผลอย่างดีมากเลยค่ะ ส่วนตัวแล้วกำลังพยายามทำความเข้าใจกับระบบนี้ เพื่อจะได้ช่วยในส่วนที่สามารถจะทำได้ให้เต็มที่ค่ะ
ทีม ISO อ่านข้อคิดเห็นของคุณโอ๋แล้ว.."ยิ้ม"..อีกสักพักเราจะ.."ย่อง"..ไปหาค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท