KM : ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตชุมพร


วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ของศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตชุมพร

ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตชุมพร

               ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 ได้จัดประชุมเจ้าหน้าที่ พนักงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความเข้าใจร่วมกันในหน่วยงาน และให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการโครงการ KM ร่วมกัน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่และพนักงานราชการเป็นอย่างมาก ซึ่งผลจากการประชุมร่วมกัน ได้มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในโครงการดังนี้

               1. นายวันชัย  สุขเจริญ        ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานการเกษตร 7   เป็นที่ปรึกษากลุ่มฯ

               2. นายวัลลภ  นาอนันต์       ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตร                       เป็นประธานกลุ่มฯ

               3. นางโสภิดา  ถนอมชนม์   ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตร                       เป็นเลขานุการกลุ่มฯ

               4. นางอนงนาฏ  ขาวมรดก  ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการ                       เป็นผู้ช่วยเลขานุการกลุ่มฯ

               ให้คณะทำงานฯ มีหน้าที่รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อวางแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบบริหารความรู้ของศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตชุมพร รวมทั้งดำเนินการตามแผนประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินการและจัดทำรายงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง

KV : วิสัยทัศน์ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตชุมพร

               "มุ่งพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนาพืช เป็นศูนย์บริการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเกษตร โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"

สมรรถนะหลัก

               1. ด้านบริหารองค์กร

               2. ด้านวิจัยและพัฒนา

               3. ด้านงานบริการประชาชน

               4. ด้านพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

สมรรถนะย่อย (C ย่อย)

              1. ด้านบริหารองค์กร

                  1.1 ความสามารถในการบริหารงบประมาณและแผนงานโครงการให้เป็นไปอย่างผลิตภาพ มีประสิทธิภาพ เกิดผลลัพธ์สูงสุดต่อทางราชการ

                  1.2 ความสามารถในการบริหารงานด้านการเงิน บัญชี งานธุรการ งานสารบรรณ และให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย

                  1.3 ความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ให้มีความรู้ความสามารถในองค์กร

                  1.4 ความสามารถในการบริหารจัดการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิต

                  1.5 ความสามารถในการพัฒนางานพื้นที่ตามโครงการพระราชดำริฯ และเศรษฐกิจพอเพียง

                  1.6 การมีส่วนร่วมและเสริมสร้างพันธไมตรีที่ดี

                  1.7 การติดตามประเมินผล

              2. ด้านวิจัยและพัฒนา

                  2.1 ความสามารถในการศึกษาวิจัยพัฒนาพืชและปัจจัยการผลิต

                  2.2 ความสามารถในการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการเกษตร

                  2.3 ความสามารถในการควบคุมมาตรฐานสินค้าเกษตรให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล

                  2.4 ความสามารถในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

             3. ด้านงานบริการประชาชน

                 3.1 ความสามารถในการให้บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิต

                 3.2 ความสามารถในการให้บริการตรวจสอบรับรองคุณภาพตามมาตรฐานสินค้าเกษตร ให้เป็นไปตามระเบียบข้อกฎหมาย

                 3.3 ความสามารถในการผลิตและจำหน่ายปัจจัยการผลิต

                 3.4 ความสามารถในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง

                 3.5 ความสามารถในการบริการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร    

             4. ด้านพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

                 4.1 ความสามารถในการพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

                 4.2 ความสามารถในการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและสารสนเทศด้านการเรียนรู้

                 4.3 ความสามารถในการพัฒนาแหล่งข้อมูลฐานความรู้ของชุมชนและเกษตรกร

 

 

คำสำคัญ (Tags): #บันทึกกิจกรรม#km
หมายเลขบันทึก: 1106เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2005 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท