Knowledge Charing


การจัดการเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ต่อต้านในการแบ่งปันความรู้อีกสิ่งหนึ่งก็น่าจะเกิดจากการที่สืบเนื่องมาจากองค์กรไม่เคยมีค่านิยม ไม่มีการปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนความรู้ให้แต่ละบุคคล ไม่ได้มีการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมมาตั้งแต่เริ่มแรก จึงทำให้การทำงานหาความรู้หรือเทคนิคในการทำงานโดยต่างฝ่ายต่างทำจึงเกิดการหวงความรู้ กลัวผู้อื่นจะเรียบแบบ และทำให้ตนเองหมดความสำคัญไป อย่างเช่นเรื่องที่คุยกันในชั้นเรียนคือพนักงานขายก็จะไม่แชร์ความรู้หรือเทคนิคอะไรของตนเองให้กับผู้อื่นเนื่องจากการทำยอดขายต้องต่อสู้และหายอดให้ได้ก็จะเป็นผลงานของตนเองไป

หากเกิดกรณีนี้ควรแก้ไขปัญหาได้โดยให้มีการแข่งขันสร้างผลงานกับองค์กรภายนอกเปรียบเทียบกับกิจการที่เหมือนกันผลงานของแต่ละคนในองค์กรก็คือผลงานในภาพรวมขององค์กรตัวเองและมีการส่งเสริมให้รางวัลในกลุ่มหรือทีมงานนั้น ๆ ถ้าเป็นเช่นนี้ได้ทุกคนก็จะดึงความรู้ เทคนิค ประสบการณ์ออกมาเพื่อพัฒนางาน สิ่งเหล่านี้ก็จะสามารถสร้างความประสบผลสำเร็จให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี โดยการเริ่มต้น การจัดการเปลี่ยนแปลง เพราะปัจจัยของความสำเต็จอยู่ที่การถ่ายโอน การแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีความรู้และมีความเต็มใจ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบและต้องการความร่วมมือจาก ทุก ๆ ฝ่ายโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ประยุกต์ ใช้งานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1103เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2005 08:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท