มหาวิทยาลัยวิจัย : จุฬาฯ (2)


มหาวิทยาลัยวิจัย : จุฬาฯ (2)

ในตอนที่ 1 (click) ได้บันทึกโครงสร้างปัจจุบันไว้   ในตอนที่ 2 นี้จะบันทึกโครงสร้างใหม่ที่กำลังจะเริ่มใช้   คือโครงสร้าง CRA (Collaborative Research Center - กลุ่มพันธมิตรร่วมวิจัย)   ซึ่งจะมี 24 CRA ได้แก่
 1. พลังงานและพลังงานทางเลือก
 2. ปิโตรเคมี
 3. พอลิเมอร์
 4. สิ่งแวดล้อมและมลพิษ
 5. Biology & Food
 6. Natural & Biomedical Products
 7. คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
 8. วัสดุ
 9. Biomedica & Tissue Engineering
 10. Information, Communication & Imaging Technology
 11. Robotec Science & Control System
 12. การเปลี่ยนแปลงของโลก
 13. ฟิสิกส์
 14. นาโนเทคโนโลยี
 15. ความหลากหลายทางชีวภาพ
 16. Logistics
 17. Emerging & Re - emerging Diseases
 18. Human & Animal Systems
 19. Socio - Bio - Medical Science
 20. Molecular Biology
 21. ประชากรและการพัฒนาสังคม
 22. ภูมิภาคศึกษา
 23. ภาษา  วัฒนธรรม  ศิลปะ  และภูมิปัญญา
 24. กำลังพัฒนา

         CRA จำนวน 24 ศูนย์นี้ไม่ใช่ว่านั่งเทียนคิดนะครับ   ทางจุฬาฯ เขามีกระบวนการร่วมกันคิด   โดยพิจารณาทั้งปัจจัยภายในจุฬาฯ เอง   ปัจจัยที่หลากหลายภายในประเทศ   และปัจจัยภายนอกประเทศด้วย   และมีการทำ Research Strategic Map ออกมาด้วย

เขายกตัวอย่าง CRA Biology & Food ประกอบด้วย 7 หน่วยงานและมีหัวหน้าทีมดังนี้
 1. ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล   รศ. ดร. สมเกียรติ  ปิยะธีรธิติวรกุล  ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
 2. หน่วยปฏิบัติการวิจัยแป้งและไซโคลเด็กซทริน  รศ. ดร. เปี่ยมสุข  พงษ์สวัสดิ์  ภาควิชาชีวเคมี
 3. หน่วยปฏิบัติการวิจัยอณูชีววิทยาและยีโนมกุ้ง   รศ. ดร. อัญชลี  ทัศนาขจร  ภาควิชาชีวเคมี
 4. หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการเพาะและการเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อไทย  รศ. ดร. เผดิมศักดิ์  จารยะพันธุ์  สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
 5. หน่วยปฏิบัติการวิจัย Genetic Engineering  รศ. ดร. อัญชลี  ทัศนาขจร
 6. หน่วยปฏิบัติการวิจัย Enzyme Engineering ผศ. ดร. ทิพากร  ลิมปเสนีย์  ภาควิชาชีวเคมี
 7. หน่วยปฏิบัติการวิจัย Food Safety & Quality Assurance  ผศ. จิราภรณ์  ธนียวัน   ภาควิชาจุลชีววิทยา

         เท่ากับเอาจุดแข็งของจุฬาฯ มา cluster เข้าด้วยกันเพื่อพุ่งเป้าตามแนวทางที่คาดว่าจะทำประโยชน์แก่ประเทศได้มาก   และจะดึงดูดทรัพยากรวิจัยเข้ามาหนุนได้มากขึ้น   เกิด synergy จาก clustering ทำให้มีผลลัพธ์ด้านการวิจัยมากยิ่งขึ้น

         ผมคิดว่าเป็นแนวคิดในการจัดโครงสร้างที่เยี่ยมยอดมาก   สิ่งที่จะต้องคิดและดำเนินการในขั้นต่อไปคือการจัดการ   ที่จะให้การเชื่อมโยงแบบ clustering เกิดแรงเสริมระหว่างกัน   ไม่ใช่แค่ได้ชื่อว่าเป็น cluster หรือที่ร้ายคือพอ cluster กันแล้วเกิดแรงลบระหว่างกัน

         ยุทธศาสตร์ที่ดี   โครงสร้างที่ดี   ยังไม่พอ   ต้องการการจัดการที่ดีด้วย

วิจารณ์  พานิช
 23 ธ.ค.48

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย#อุดมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 10917เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2005 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท