KM..ยิ่งทำ..ยิ่งเห็น


เพราะเราต้องการแทรกหรือทำKMไปด้วยกันกับงานไปเลย

         วันนี้มีการสัมมนานักส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี และโครงการส่งเสริมการเกษตร ในปีงบประมาณ  2549 มีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมสัมมนา ประมาณ 100 คนเศษ

          มีการพูดถึงการจัดการความรู้กันบ้างนิดหน่อยโดยคุณเอื้อ คือท่านเกษตรจังหวัด เพราะทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดให้มีการนำการจัดการความรู้แทรกอยู่ในกระบวนการส่งเสริมการเกษตรในปี 2549 นี้ด้วย แต่ทีมงานคือท่านหัวหน้าวิโรจน์  พ่วงกลัด หน.ฝ่ายยุทธศาสตร์ฯ และคุณสายัณห์ ก็เพียงแต่พูดเป็นแนวทางกว้างๆ เพียงนิดหน่อย  เพราะเราต้องการแทรกKMหรือทำไปด้วยกันกับงานไปเลย

         เพราะการจัดการความรู้ควรลงมือทำไปเลยน่าจะดีกว่า กลุ่มคนที่เข้าใจเริ่มต้นก่อน ค่อยๆ แทรกซึม หาทีม สร้างเครือข่าย ขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ  เพราะหลายคนหลายความคิด ทำให้เข้าใจได้เหมือนๆ กันได้ยาก  เพราะแต่ละคนก็จะมีเลนส์มองโลกของใครของมัน ทำก่อนแล้วอธิบายหรือทำให้เข้าใจทีหลังน่าจะดีกว่าสำหรับบางกลุ่มบางคน คนไหนหรือกลุ่มไหนพออธิบายหรือทำให้เข้าใจได้ก็อธิบายเลย  เพราะเป็นเรื่องการทำงาน/พัฒนางานกันอยู่แล้ว  จะได้ไม่คิดว่าเป็นการไปเพิ่มงานปกติ (ข้อนี้ควรระวังให้มากนะครับ) 

          ส่วนผมก็เป็นแมวมองคอยดักจับความรู้หรือสิ่งดีๆ ที่จะนำมาจัดการหรือต่อยอด คิดสร้างงานไปเรื่อยๆ ซึ่งก็ไม่เสียความตั้งใจ เพราะอย่างน้อยวันนี้ได้ในหลายๆ ประเด็น เช่น

  • ได้ประสานงานกับพวกพี่ๆ และเพื่อนๆ นักส่งเสริมเพื่อจะร่วมทีมกันไปร่วมสังเกต KM สัญจรที่พิจิตร วันนี้ได้ผู้สนใจแล้ว 10 คน และจะมีการชักชวนเกษตรกรแกนนำกลุ่มที่ดำเนินการอยู่แล้ว ประมาณ 2-3 คนไปร่วมด้วย (ทาง สคส.คงไม่ว่าถ้าเราจะไปร่วมกันเป็นคณะประมาณ 10 คน)
  • ปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนกับคุณกมลรัตน์  นาคคำ ซึ่งรับผิดชอบงานสถาบันเกษตรกร ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มที่มาขึ้นทะเบียนแล้วประมาณ 100 กลุ่ม สิ่งที่กลุ่มขาดก็คือความรู้ในการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มอาชีพ เราเลยตกลงกันในเบื้องต้นว่า จะคัดเลือกจากตัวแทนอำเภอละ 1 กลุ่ม เพื่อมาเรียนรู้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนากลุ่ม และขยายผลสู่ทุกกลุ่มต่อไป เครื่องมือธารปัญญาคงต้องเป็นพระเอกแล้วล่ะงานนี้ เพราะมีแกนร่วมที่เหมือนกันสามารถประเมินและเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้
  • ได้พูดคุยกับคุณเสนาะ  ยิ้มสบาย นักส่งเสริมฯ ตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย ที่มีเกษตรกรปลูกผักเป็นอาชีพหลักกันมากและปลูกตลอดปี พบว่ายังดำเนินกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักเหมือนเดิม ตอนนี้ขยายเป็น 6 กลุ่ม มีการใช้สารสกัดชีวภาพกันมากขึ้น และมีบางรายน่าสนใจเพราะจะพัฒนาสู่เกษตรอินทรีย์ ผมเลยปรึกษาและขออนุญาตท่านเกษตรจังหวัด ว่าวันศุกร์นี้จะไปเยี่ยมเยียนเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม คุณเอื้อบอกว่า"ลุยเลยไอ้น้อง" (ขอบคุณมากครับท่าน)
  • ช่วงเย็น ได้มีการนำเสนอวิชาการการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี จากนักวิชาการของศูนย์ไบโอฯ ที่พิษณุโลก ซึ่งก็เป็นหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตรของเราเช่นกัน มีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชทั้งส้มเขียวหวานและข้าว รวมไปถึงโรคพืชด้วย และเพาะเลี้ยงเพื่อขยายเชื้อได้โดยเกษตรกรเอง  ใจตรงกันกับพี่สายัณห์ ซึ่งลุกขึ้นถามและขอเชิญมาร่วมเสวนากับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวานที่ขาณุฯ ในวันที่ 17 มกราคม ศกหน้า  พรุ่งนี้เราคงต้องรีบทำหนังสือเชิญมาร่วม และวันศุกร์นี้ ผมและพี่สายัณห์คงต้องไปดูแปลงทดลองที่เขาใช้กับส้มเขียวหวานแล้วได้ผล ผ่านมา1 ปีเศษแล้วที่ไม่ได้พ่นสารเคมีเลย ต้องรีบไปดูแล้วละครับ องค์ความรู้อยู่ใกล้กับพวกเราแค่นี้เอง

          มีอีกหลายเรื่องครับ ต้องลงไปดูของจริงก่อน แล้วจะเขียนบันทึกมา ลปรร.กันต่อนะครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 10903เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2005 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ทาง สคส. ไม่ว่าครับ   แต่คุณวีรยุทธโทรไปบอกหัวหน้าทีมพิจิตร คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ ก่อนก็ดี 09 961 1204 ครับ

วิจารณ์

ขอบพระคุณมากครับ ประสานงานเรียบร้อยแล้วครับ
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
ขอฃื่นฃมในความตั้งใจ จะเป็นกำลังใจและคอยสนับสนุน รธส.กสก.
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
ขอฃื่นฃมในความตั้งใจ จะเป็นกำลังใจและคอยสนับสนุน รธส.กสก.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท