lสอนภาษาไทยให้อ่านออก ทำไงดี


           วันนี้พอมีเวลา ฝนตกไปไหนลำบากจะเล่าอะไรดี นึกขึ้นมาได้ว่าปัญหาที่หลายคนบ่นคือเด็กอ่านหนังสือไม่ได้ ทำไมสมัยก่อนเด็กอ่านหนังสือเก่ง นึกถึงสมัยเราเป็นนักเรียน ป. ๑ พ.ศ.๒๔๙๙ ครูสอนเราแบบไหน น่าจะใช้แบบนั้นจะดีกว่า  เราไม่เก่ง ไม่จบเอกภาษาไทย แต่ประสบการณ์ น่าจะเข้าท่ากว่าวิธีการสอนสมัยนี้ ลองนึกเรียบเรียงได้ว่า หลักสูตรแกนกลางสาระภาษาไทย หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๔๔ สรุปดังนี้สาระการเรียนรู้รายปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
อ่านออกเสียง-          อ่านร้อยแก้วและร้อยกรอง-          อ่านทำนองเสนาะ-          การท่องอาขยาน อ่านในใจ-          อ่านจับใจความและคาดคะเนเหตุการณ์-          การตั้งคำถาม ตอบคำถาม-          การเข้าใจความหมาย ประโยค ข้อความการเขียน-          เขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด-          การเขียนตามคำบอก-          การคัดลายมือ-          การใช้คำเขียนประโยค-          การเขียนเรื่องสั้นๆแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกความต้องการและประสบการณ์-      การใช้เลขไทยหลักการอ่าน-          การอ่านคำพื้นฐาน ประมาณ ๖๐๐ คำ และคำในสาระอื่น-          การอ่านแจกลูก และสะกดคำในมาตราต่างๆการผันวรรณยุกต์-          การอ่านคำที่มีการันต์ อักษรควบ อักษรนำ                                              ฯลฯ อ่านออกเสียง-          อ่านร้อยแก้วและร้อยกรอง-          อ่านทำนองเสนาะ-          การท่องอาขยาน อ่านในใจ-          การเข้าใจความหมายของคำ ประโยค ข้อความ-          การอ่านจับใจความ และคาดคะเนเหตุการณ์-          การตั้งคำถาม ตอบคำถามการเขียน-          เขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด-          การเขียนตามคำบอก-          การคัดลายมือ-          การเขียนประโยคและข้อความ-          การเขียนเรื่องสั้นๆแสดงจินตนาการความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ-          การเขียนบันทึก-      การใช้เลขไทยหลักการอ่าน-          การอ่านคำพื้นฐาน ประมาณ ๘๐๐ คำ และคำในสาระอื่น-          การอ่านแจกลูก และสะกดคำในมาตราต่างๆการผันวรรณยุกต์-          การอ่านคำที่มีการันต์ อักษรควบ อักษรนำ                               ฯลฯ 
 ประสิทธิภาพด้านหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน คือ นักเรียนต้องอ่านคล่อง เขียนได้ ตามนโยบาย สภาพปัจจุบัน  เราได้ยินเสียงบ่นจากครูทุกชั้นว่า เด็กอ่านหนังสือไม่ได้ ไม่เว้นแม่กระทั่งเด็กในช่วงชั้นที่ ๓ แต่เราก็ไม่เคยปรับปรุงแก้ไข ส่วนหนึ่งคือไม่กล้าปฏิบัตินอกเหนือคำสั่ง ทั้งทั้งที่เราทราบปัญหาดี ว่าควรใช้วิธีสอนอย่างไรเมื่อเป็นเช่นนี้ เราน่าลองปรับการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อให้เด็กบรรลุอ่านคล่อง เขียนคล่อง อันนำไปสู้การเรียนรู้ในสาระอื่นต่อไป แม้จะไม่ใช่หลักวิชาการเท่าไรนัก อาศัยผลเชิงประจักษ์ ประสบการณ์ของครูโบราณ      กล่าวคือ ในชั้น ป.๑ เป็นชั้นที่มีความสำคัญมาก เราต้องปูพื้นฐาน ในการฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้สูงขึ้น ต่อไป เดิม เราเรียนตามรูปแบบ ๒ ชุดคือ                ชุดแรก  กรมวิชาการให้เรียน ชุดพื้นฐานภาษาไทย หนังสือรถไฟ  นักเรียนต้องเรียนคำว่า รถไฟ ก่อน ตามธรรมชาติการเรียนรู้ ไม่น่าเริ่มด้วยคำนี้ เพราะนักเรียนยังไม่มีความพร้อม คำว่า รถไฟ มี เป็นอักษรนำ ตามด้วย สระโอะลดรูป มี  ใช้แทน เป็นตัวสะกด นักเรียนไม่สามารถทำความเข้าใจได้ เพราะซับซ้อน นอกจากใช้วิธีจำเพียงอย่างเดียว และมีอีกหลายคำที่ยากเกินเหตุที่เด็กจะรับได้                ชุดสอง หนังสือของ สปช. เป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนภาษาไทย แบบ มปภ.ซึ่งเรียกกันว่าหนังสือกระรอกไร้บ้าน มีวิธีการสอน ๕ ขั้นตอน คือ๑.       ครูเล่าเรื่อง         นักเรียนเล่าย้อนกลับ๓.     ครูและนักเรียนช่วยกันเขียนเรื่อง๔.      ครูและนักเรียนช่วยกันทำหนังสือเล่มใหญ่๕.     ฝึกทักษะทางภาษาในการเรียนการสอนแบบนี้ ขั้นตอนที่ ๕ น่าจะมาก่อนจึงจะดีกว่า เมื่อฝึกทักษะดีแล้วจึงควรเริ่มอ่าน กระรอกไร้บ้านที่สำคัญหนังสือระบุว่าเป็นหนังสืออ่านประกอบ แต่ทำไมบังคับให้ครูต้องสอนก่อนเล่มอื่นไม่ทราบ นี่คือปัญหาที่บ่นกันมาทุกวันนี้ว่านักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกมาจดบัดนี้                ภาษาไทยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เสียงรวมกันแล้ว มี ๘๐ หน่วย ภาษาอังกฤษ มีพยัญชนะ สระ เพียง ๒๖ หน่วย เรามีมากกว่าถึง ๕๔ หน่วย โดยเฉพาะภาษาไทยมีลักษณะโดดเด่น สลับซับซ้อน พิสดาร ไม่เหมือนภาษาอื่นใด ภาษาแต่ละภาษาย่อมมีที่มาของธรรมชาติไม่เหมือนกัน ทั้งเอกลักษณ์ ขั้นตอนการเรียนรู้                 ดังนั้น ทำให้เรานึกถึงการเรียนรู้ภาษาไทยในอดีต น่าจะเหมาะสมกับธรรมชาติของภาษา และคนไทยมากที่สุด ดังนั้นเราจึงควรมาปรับปรุงรูปแบบกันดีกว่า โดยใช้ข้นตอนการเรียนรู้ ดังนี้๑.       เรียนรู้เรื่องพยัญชนะ๒.     เรียนรู้เรื่องสระ๓.     เรียนรู้เรื่องวรรณยุกต์๔.     เรียนรู้การประสมแบบง่ายๆ๕.     เรียนรู้เรื่องการผัน๖.        เรียนรู้เรื่องการแจกลูก๗.     เรียนรู้เรื่องอักษรนำ๘.     เรียนรู้เรื่องคำควบกล้ำ๙.       เรียนรู้เรื่องการสะกด เมื่อจบ ๙ ขั้นแล้ว จึงต่อด้วยวิธีการของ มปภ. ชั้น ป.๑ ถ้าใช้วิธีและขั้นตอนแบบนี้ นักเรียนต้องอ่านได้แน่นอน รวมทั้งใช้วิธีนี้ แก้ปัญหาเด็กในชั้นอื่นที่อ่านหนังสือไม่ได้

๑.       ขั้นตอนที่ ๑ การเรียนรู้เรื่องพยัญชนะ สอนให้นักเรียน สังเกต และจำพยัญชนะไทยทั้ง ๔๔ ตัว ให้ได้ก่อน ผู้เล่ามีความเห็นว่าที่ผู้แต่งสมัยเราเป็นเด็ก เด็ก แต่งได้สัมผัส คล้องจอง เนื้อเรื่องร้อยรัด เช่นก.เอ๋ยก.ไก่ /ข. ไข่อยู่ในเล้า/ฃ. ขวด ของเรา/ ค.ควาย เข้านาฯ จนถึงฮ. ความหมายรับกันจนครบ แต่ของสมัยนี้ ดูให้ดีจะพบว่าไม่ ไพเราะ ความหมายไม่สอดคล้อง กันเท่าไร ผู้เล่าคิดเองนะ

๒.     ขั้นตอนที่ ๒ การเรียนรู้เรื่องสระ  เมื่อเด็กจำพยัญชนะได้คล่องแล้ว จึงเริ่มเรียนสระ ครูเขียนแผนภูมิสระทั้ง ๓๒ รูป ให้เด็กดู ควรเขียนไว้ ๒ ข้าง ดังนี้

            -            อ่านว่า     สระอะ                           -       อ่านว่า      สระอา   

              -ิ            อ่านว่า     สระอิ                                  -        อ่านว่า      สระอี

เขียนจนครบ ๑๖ คู่

                           เมื่อเด็กจำ อ่านได้ แนะให้สังเกต และสรุปให้ได้ว่าเสียงของสระ  แถวซ้าย ต่างกับ แถวขวา อย่างไร ครูอ่านซำๆ ฝึกการสังเกต การวิเคราะห์ จนเด็ก สังเกตได้ว่า แถวซ้าย เสียงสั้น แถวขวาเสียงยาว    หรือ    แล้วแต่วิธีกรของครู แต่ครูอย่าบอกเด็กว่าสระมีเสียงสั้นกับเสียงยาว พยายามให้เด็กสังเกต เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ข้อสำคัญต้องให้ทุกคนจำพยัญชนะ และรูปสระให้ได้๓.     ขั้นตอนที่ ๓ เรียนรู้เรื่องวรรณยุกต์ ใช้แผนภูมิ/บัตรคำ เขียนรูปวรรณยุกต์ ทั้ง ๔ รูป พร้อมเสียง ๕ เสียง หาวิธีให้เด็กจำให้ได้ว่า วรรณยุกต์ ตัวไหน เสียงอะไร                    

รูปวรรณยุกต์                                                                                                         เสียง                  สามัญ        เอก           โท          ตรี           จัตวา

๔.     ขั้นตอนที่ ๔ เรียนรู้เรื่องการประสมแบบง่ายๆเมื่อเด็กจำได้แล้ว จึงสอนให้นำพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ มาประสมกัน
๑). ประสมพยัญชนะ กับสระก่อน
                              

                                   -ะ                                                       - า

                                  กะ                                                     กา                             

                                      -ิ                                                           -ี

                                   กิ                                                        กี

ให้หัดประสมจนครบทั้ง ๑๖ คู่ ควรใช้กลุ่มอักษรกลางมาก่อน แล้วกลุ่มอักษรสูง และต่ำตามลำดับ โดยยังไม่ต้องบอกเด็กว่าอักษรมีกี่หมู่ ให้เด็กจำ  สังเกตว่า  วิเคราะห์อักษรแต่ละหมู่มีกี่ตัว เพื่อสอนในเรื่องอักษรสามหมู่ในโอกาสต่อไป

  ๒) ประสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เมื่อเด็กประสมพยัญชนะ สระ ได้แล้ว จึงสอนให้นำวรรณยุกต์มาประสม

กา     -     ก่า  / กา       -้     ก้า  / กา        -๊          ก๊า    /     กา     -๋           ก๋า                        
 กาเอกก่า           กาโทก้า              กาตรีก๊า                      กาจัตวาก๋า

สอนทีละหมู่เหมือนเดิม อย่าเร่งรีบ จนทุกคนสามารถอ่าน ประสมได้                                   

๕.ขั้นตอนที่ ๕ เรียน เรืองการผัน        เมื่อนักเรียนประสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ได้แล้ว ขั้นตอนไปเป็นเรื่องการหัดผัน โดยใช้วรรณยุกต์ มาช่วย การผัน ใช้สระเสียงยาว  เริ่มจากอักษรกลางก่อน       

วรรณยุกต์                                                                                                                                  กา              ก่า           ก้า          ก๊า            ก๋า             เสียง                             สามัญ           เอก         โท          ตรี          จัตวา  

                     ให้เขียนแผนภูมิ มีรูปวรรณยุกต์   สระ   สียง ไว้ถาวร  แล้วนำพยัญชนะเป็นบัตรคำมาทีละตัว  ให้อ่าน เช่น พยัญชนะ เด็กออกเสียงว่า กา    ก่า    ก้า    ก๊า   ก๋า     (ไม่ต้องอ่าน กอ อา กา /กา เอก ก่า/กา โท ก้า)                       ในชั้น ป.๒ จะรู้จักการผันกับสระลดรูป  ศึกษาเพิ่มเติมจากแบบเรียนภาษาไทย ชั้น ป.๒ (หลักสูตร ๒๕๒๑)

  ๖.  ขั้นตอนที่ ๖ การเรียนรู้การแจกลูก

เมื่อหัดผันได้คล่องเริ่มฝึกการแจกลูกต่อเนื่องจากขั้น ๕ คล้ายการประสม ในขั้น ๔ เช่น             กา                         ก่า                   ก้า                     ก๊า                     ก๋า                

              กอ อา กา                กา เอก ก่า       ก้าโทก้า             กาตรีก๊า          กาจัตวา

๗.     ขั้นตอนที่ ๗ การเรียนรู้อักษรนำ

คำในภาษาไทยแยกเป็น คำที่ใช้ อ. นำ กับคำที่ใช้ห.นำป.๒ เพิ่มการใช้อักษรนำ อื่น เช่น ใช้ ผ.ส. นำ                                 

 ๘. ขั้นตอนที่ ๘ การเรียนรู้คำควบกล้ำ

                                  การอ่านคำควบกล้ำ จะอ่านพยัญชนะ ๒ ตัวควบกันแล้วตามด้วยสระ  ตัวสะกดและวรรณยุกต์ เช่น กรับ อ่าน กรอ- อะ- บอ กรับ ฯลฯ ครูหาคำมาให้นักเรียนฝึกอ่าน เช่น คำที่มี กร,กล,ขร,ขล,คร,ตร,ปร,ปล,พร,พล ควบกล้ำ

  ๙.     ขั้นตอนที่ ๙ การเรียนรู้การสะกด

                           สอนคำที่สะกดคำ จะเริ่มในมาตราแม่ ก กา ก่อน แล้วตามด้วย มาตราตัวสะกดกง,กน,กม,เกย,เกอว ซึ่งเป็นคำเป็น (แบบเรียนเร็ว เล่ม ๑)แล้วสะกดคำใน แม่ กก,กด,กบ ซึ่งเป็นคำตาย คำเป็นก่อนเพราะออกเสียงง่าย   สอนคำที่สะกด มีสระเสียงสั้น คู่กับยาว เรียงตามมาตราตัวสะกด ๘ แม่ ใช้พยัญชนะอักษร กลาง สูง ต่ำ ตามลำดับ                 
มาตราแม่ก.กา       กะ = กอ-อะ-กะ             / กา=กอ-อา-กา       
แม่กง                      กัง = กะ-งอ-กัง              / กาง=กา-งอ-กาง 
แม่กน                    
กัน=กะ-นอ-กัน              / กาน=กา- นอ-กาน   
แม่กม                     กัม
=กะ-มอ-กัม                / กาม=กา-มอ-กาม             
 
แม่เกย&nbsp

คำสำคัญ (Tags): #ศน.km
หมายเลขบันทึก: 108952เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2007 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สวัสดีครับอาจารย์...วิธีการที่อาจารย์นำเสนอเป็นวิธีการที่ดีที่ตอนนี้ผมกำลังทดลองสอนพิเศษเพื่อแก้ปัญหาเด็กที่อ่านไม่ออก(ป.2-6)ผลยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าใดนักเนื่องจากเพิ่งเริ่มทดลอง ผมดีใจที่มีคนมองปัญหาและแก้ปัญหาในทางเดียวกันกับผม

ภาษาไทยนี้ดี  มากมากควรรักษาไว้  จาก  0891350916

อาจารย์สอนดีมากอยากให้มาสอนที่บ้านค่ะ  0867851194
ดีมากค่ะ  คุณครูเก่งมากเลยค่ะ เพราะทุกวันนี้เด็กอ่านไม่ค่อยได้อยู่แล้ว ต่อไปน่าจะมีแบบฝึกเขียนคำไทยบ้างค่ะ
เห็นด้วยกับวิธีของอาจารย์นะคะ จอลองนำไปใชกับเด็กมัธยมต้นที่อ่านไม่ออกดูค่ะ  ขอบคุณมากที่เสนอแนะวิธีดีๆ

ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ให้ข้อเสนอแนะดิฉันเห็นด้วยกับอาจารย์อย่างยิ่งเพราะมันเป็นเรื่องที่ดิฉันประสบกับตัวเองซึ่งมันตรงกับที่อาจารย์แนะนำพอดีคือดิฉันเริ่มสอนภาษาไทยแบบมปภ.( ป.1) ปี2541เด็กสนุกสนานมากแต่เด็กขึ้นป.2 ครูป.2 บ่นว่าเด็กไม่รู้เรื่องเขาต่อยอดไม่ได้(เขาไม่ได้สอนแบบมปภ.)ทำให้เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ปี2542 ก็ยังไม่น่าพอใจ และเป็นวิธีการสอนที่ครูเหนื่อยมากเนื่องจากขั้นที่5ไม่มีสื่อ ดิฉันกลุ้มใจอยู่ 2ปี ก็เลยมานั่งคิดถึงอดีตที่เราเคยเป็นนักเรียน แล้วดิฉันก็ตัดสินใจนำวิธีการแบบที่เคยได้รับสมัยเป็นนักเรียนมาใช้โดยไม่บอกให้เพื่อนครูรู้ คือ ดิฉันก็จะให้ความรู้กับนักเรียน เกี่ยวกับ โดยเริ่มจากง่ายไปหายาก คือ พยัญชนะ / สระ  /การผันพยัญชนะกับสระ / วรรณยุกต์ /การผันพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ / ตัวสะกด / การผันพยัญชนะ สระ ตัวสะกด /การผันพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และมีตัวสะกด / คำที่ใช้สระไ / ใ  หลังจากนั้น ก็ใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบมปภ. เมื่อถึงขั้นที่ 5 ก็จะเพิ่มเติมในเรื่องต่อไปนี้ คือคำที่ประสมสระแล้วลดรูป เปลี่ยนรูป/คำควบกล้ำ/คำที่มี ห นำ/ เครื่องหมาย ไม้ยมก ไม้ไต่คู้ ตัวการันต์/คำคล้องจอง/บทร้องเล่น /บทกล่อมเด็ก และอื่นๆอีกถ้าเด็กรับได้  ซึ่งพอดิฉันใช้วิธีนี้ผลปรากฎว่าเด็กอ่านออกเขียนได้ เลื่อนชั้นขึ้นไปครูป.2 ก็พอใจ พอปี2544 ดิฉันใช้วิธีนี้อีก ก็ได้ผล จนพี่ที่สอนป.2 บอกว่า "เจ้าสอนแบบไหนไม่รู้ล่ะ แต่เด็กเลื่อนชั้นขึ้นมาแล้วมันมันอ่านออกเขียนได้ เขาพอใจ ทำให้เขาสอนง่าย " มันก็เลยทำให้ดิฉันแอบดีใจ ภูมิใจ แล้วก็ทำให้ขอบคุณไปถึงครูบาอาจารย์ที่เคยสอนมา ขอบคุณท่านจริงๆ หลังจากนั้นดิฉันก็ใช้วิธีนี้เรื่อยมา จนเมื่อปี 2546 จึงนำผลงานขอกำหนดตำแหน่ง และเป็นปีที่ได้ผลมากๆเพราะดิฉันตั้งใจเต็มที่ แต่แล้วผลงานที่ดิฉันเขียนรายงานไปไม่เข้าตากรรมการ อาจเป็นเพราะเราไม่ชำนาญในด้านนี้ ทำให้ผลการตัดสินไม่อนุมัติ แต่ดิฉันก็ภาคภูมิใจอย่างที่สุดเพราะเด็กที่ดิฉันสอนเขาอ่านออกเขียนได้และมีความสุข สรุปแล้วดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวความคิดของท่านที่เสนอแนะไว้เพราะมันตรงกับที่ดิฉันได้กระทำอยู่ในปัจจุบัน ( ดิฉันได้จัดทำสื่อซึ่งเป็นแบบฝึกเสริมทักษะ จำนวน 20 ชุด มีทั้งหมด 25 เล่ม หากท่านใดสนใจ ยินดีที่จะเผยแพร่เพื่อเด็กไทยจะได้อ่านออกเขียนได้ )

แบบฝึกเสริมทักษะ จำนวน 20 ชุด สำหรับการสอนภาษาไทย น่าสนใจมากครับ

ยิ่งใหม่ยิ่งอ่านไม่ได้ ดูของเก่าบ้างคงจะดี

ไม่กลัวพ่อแม่ ไม่กลัวครู ไม่ตก ซ่อมเอา ไม่มีเวลาให้กับการเรียน

มีให้กับมือถือ เกม ทีวี เที่ยว

หนังสือมากจนแบกไม่ไหว ได้ดีที่บริษัท และดอกฯทั้งหลายที่ชอบคิด

นี่แหละยุคโลกาวินาศ (ธุรกิจทางการศึกษา )

ขอบคุณที่ท่านชี้แนะ ที่อ่านไม่คล่องมีแทบทุกโรงเรียน

ดีมากครับ ผมก็เป็นคนที่อ่านไม่ออกเท่าไร

ไม่รู้อะไรมาก เขียนบางที่ก็ไม่ถูก คิดที่จะไปเรียน กศน แต่ก็อาย

เพราะเอาแต่คิดว่า ถ้าเขาให้เขียนอะไรและทำไม่ใด้จะเป็นตัวทัว

แต่ผมก็ตั้งใจอ่านเขียนแต่ก็ไม่รู้มากเท่าไรเพราะไม่มีใครบอก

สวัสดีครับ

ที่บ้านผมสอนลูกอ่านหนังสือ จากป้ายโฆษณา ร้องเพลงที่ชอบจากคาราโอเกะ นำของใช้ในชีวิตประจำวัน แปลงเป็นตัวอักษร ให้เขียน ให้อ่าน เล่นเกมส์จากการเขียนรูป ฝึกบ่อย เกิดทักษะ ต่อไปก็เพิ่มคำไปเรื่อยๆ ครับ

สวัสดีคะ

ดีใจที่ได้พบครูภาษาไทยที่มีแนวทางเดียวกัน ดิฉันสอนแบบมปภ.ตั้งแต่ปี 41 จนปัจจุบัน ดีใจที่เห็นรอยยิ้มเด็กขณะเรียน

ขอบคุณค่ะที่ให้แนวทาง

ตอนนี้ หนูสอนเด็กที่อ่านไม่ออก 29 คน

ทดลองมา 1 เทอม มีคนที่อ่านได้และยังอ่านไม่ออกเหมือนเดิม 5 คน

หนูสอนแบบนี้แหละค่ะ ไม่เอาแล้วภาษาพาที ไม่เหมาะกับนักเรียนของหนู

ขอขอบคุณอาจารย์มากค่ะ เป็นความรู้และวิธีที่ดีมากถึงหนูจะเป็นครูรุ่นใหม่แต่ก็เห็นว่าวิธีของอาจารย์ดีมากและไม่ทราบว่าครูจะอนุญาตไหมถ้าหนูจะนำวิธีนี้ไปเผยแพร่ให้กับเพื่อนๆครูที่โรงเรียนค่ะ

ขอบคุณคะที่ให้แนวทาง เพราะไม่ได้จบเอกประถมโดยตรงมีปัญหาการสอนนักเรียนป.1มากขอนำวิธีของคุณครูไปใช้บ้างนะคะ 

ขอบคุณมากค่ะ

ตอนนี้กำลังสอนการอ่านหนังสือให้ลูกอยู่พอดี แต่เด็กเกิดอาการกลัวการอ่าน

สังเกตุจากตอนสอบได้คะแนนไม่ดี แต่อยู่บ้านชอบอ่านนิทานแม้จะอ่านไม่ค่อยคล่องก็ตาม ยังดีกว่าไม่ยอมอ่านเลย

ขอบคุณมากสำหรับแนวทางการสอน  คิดว่าถ้าครูใช้วิธีนี้น่าจะช่วยให้เด็กที่อ่านไม่ออกหลายๆคน  อ่านได้ค่ะ

แม่โบว์ อดีตครูเอกชน

ขอบคูณค่ะ ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ลูกเรียนภาษาไทยไม่เข้าใจเลย(ป.2)

พอเจอครูก็ตอบว่าน้องไม่เข้าใจ (งงมากค่ะ)

ทั้งที่อยู่บ้านน้องอ่านได้ดีค่ะ

แต่พออยู่กับครูทำไมอ่านไม่ได้

พอดิฉันวิเคราะห์คือ(จากการถามเพื่อนลูก ตัวลูก)

คือให้เด็กจับกลุ่มอ่านกันเอง(ป.2)

และมาอ่านให้ครูฟัง(แต่เด้กคนอื่นอ่านได้ครูกล่าว)

ขอสรุป คือ ความใกล้ชิดกับเด็กไม่มี(ไม่เอาใจใส่)

เสียดัง(เพราะเด็กส่วนใหญ่จะกลัวครู)

เด็กยังตัดสินใจไม่ได้เพราะไม่รู้ว่าถูกรึปล่าว

ครูไม่มองกลับไปที่ตัวเองว่าตนบกพร่องตรงไหน ได้แต่ให้พ่อ แม่ คอยดู

(ถ้าทั้ง2ฝ่ายไม่ช่วยกันเด็กจะทำได้ไง)

พอเด็กเศร้าก็หาว่าที่บ้านมีปัญหา ดิฉันงงจริงๆค่ะ

**อยากได้คำตอบ อาจารย์คิดว่ายังไงค่ะมันตรงหลักสูตรไหม ไม่เข้าใจค่ะ

สงสารเด็กค่ะเพราะน้องเรียนเอกชนมาก่อนเลยไม่รู้ระบบของรัฐบาล

ขอบคุณค่ะ

เป็นวิธีสอนที่ดีคะ

ตอนนี้ลูกเรียนอยู่ ป.1 และป.2 ยังอ่านและเขียนหนังสือไม่คล่อง อยากได้แบบเสริมทักษะไม่ทราบว่าจะติดต่อได้อย่างไร

ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับแนวการสอน

ถ้าผมเป็นนายกรัฐมนตรี จะแต่งตั้งให้อาจารย์เป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษา เย้ เพราะมีความคิดที่น่าสนใจและเป็นวาระแห่งชาติ ที่ รมต.ไม่เคยพูดถึงเลย พูดถึงแต่ แทบเละ หรือ ทุเรศ นั่นเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท