คุณธรรมกับการออมทรัพย์ของ “เดม”


ให้เขาจัดการตัวเอง คาดหวังเพียงแค่ให้เขารับผิดชอบตัวเอง ไม่ซีเรียสอะไรมาก

     กลับถึงบ้านเย็นวานนี้ (27 ธันวาคม 2548) ก็ได้รับจดหมายจากฝ่ายกิจการนักเรียนโรงเรียนเรวดีพัทลุง โรงเรียนของน้องเดม ทันทีที่ได้ยินชื่อนี้ครับ คำว่า “คุณธรรมกับการออมทรัพย์” จากที่น้องเดมอ่านจดหมายให้ผมฟัง ดังนี้ครับ

     เรียน ท่านผู้ปกครองทราบ
                   เนื่องด้วยทางโรงเรียนเรวดีพัทลุง ได้จัดให้มีโครงการ “คุณธรรมกับการออมทรัพย์” เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการประหยัด รู้จักเก็บออม โดยทางโรงเรียนได้ดำเนินการให้นักเรียนนำเงินมาฝากคุณครูประจำชั้นได้ทุกวัน เมื่อครบเวลา 1 เดือน ทางโรงเรียนจะดำเนินการฝากธนาคารออมสินให้นักเรียน สำหรับนักเรียนที่มีสมุดบัญชีแล้ว ให้นำเงินและสมุดมาฝากคุณครูประจำชั้นได้ทุกวัน นักเรียนที่ประสงค์จะเปิดบัญชีใหม่ให้นักเรียนนำเงินฝากครั้งแรก 100 บาท พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน มามอบให้ครูประจำชั้น ในวันที่ 28 – 30 ธันวาคม 2548 เพื่อทางโรงเรียนจะได้ดำเนินการเปิดบัญชีให้ต่อไป
                    จึงเรียนมาเพื่อทราบ
                                                     ฝ่ายกิจการนักเรียนโรงเรียนเรวดีพัทลุง

     ผมได้พูดคุยกับน้องเดมว่าเป็นสิ่งที่ดีและน่าชื่นชม แต่ก็ขาดทุนทันทีที่พูดจบ เพราะน้องเดมบอกว่าถ้าพ่อฝากให้สัปดาห์ละ 50 บาท เดือนนึงก็ได้.... (นานหน่อย) 200 บาท ผมนึกในใจว่าสงสัยน้องเดมคงคำนวณไว้แล้วระหว่างที่คอยผมมาถึงบ้าน แต่ไวเท่าความคิดครับ ทันทีที่น้องเดมกล่าวจบ ผมก็ต่อรองว่างั้นคนละครึ่ง น้องเดมสะสมวันละ 5 บาท สัปดาห์นึงได้ 25 บาท พ่อจะสมทบให้อีก 25 บาท รวมเป็น 50 บาท และก็ตกลงตามนั้น ผมขาดทุนแรกเริ่ม 100 บาท เพราะน้องเดมไม่ยอมเอาเงินจากกระปุกออกมา ผมต้องเป็นคนเริ่มต้นให้ไปเปิดสมุดบัญชี

     จริง ๆ แล้วน้องเดมเขาจะออมทรัพย์อยู่แล้ว 2 ทาง คือ ฝากออมทรัพย์ของหมู่บ้าน ในวันที่ 1 ของทุกเดือน ส่วนนี้เขาใช้เงินจากการขายน้ำยาง (พารา) ในส่วนแบ่งที่ยายของเขาให้ไว้เพื่อเป็นทุนการศึกษาในอนาคต และอีกส่วนคือการนำเงินเหลือจ่ายจากโรงเรียนมาใส่ในกระปุกออมสิน ก็ใส่บ้าง ไม่ใส่บ้าง แล้วแต่เขาเอง ไม่ได้ไปเข้มงวดอะไรมาก ถือว่าน้องเดมรับผิดชอบเอาเอง เมื่อได้มาก ๆ เข้าก็จะนำไปฝากสมทบออมทรัพย์ของหมู่บ้าน ครั้งนึง ๆ ก็ประมาณ 400 – 500 บาท น้องเดมได้รับเงินไปโรงเรียนวันละ 20 บาท ค่ารถรับ – ส่ง จ่ายเป็นรายเดือน ส่วนอาหารกลางวัน ขนมที่เป็นอาหารว่าง และนมสด ทางโรงเรียนจัดให้ จ่ายเป็นรายเดือน เงินที่ได้วันละ 20 บาท จึงเหลือเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ให้เขาจัดการตัวเอง คาดหวังเพียงแค่ให้เขารับผิดชอบตัวเอง ไม่ซีเรียสอะไรมาก จากการที่คอยสังเกตก็เห็นมักจะไปกับยางรัดผมสีสวย ๆ แบบสวย ๆ หรือ กิ๊บติดผม ที่ชอบนัก พอเบื่อก็จะได้น้อง ๆ (ลูกพี่ลูกน้อง) ส่วนจะซื้อของกิน หรือผลไม้เพื่อฝากปู่ หรือ ตาและยาย ก็บ่อยเช่นกันที่เขาจะใช้เงินของเขาเอง (แต่ผมมักจะแซวว่าซื้อไปขายมากกว่า เพราะขากลับมักจะได้กลับมามากกว่าเสมอ)

 

     ก่อนน้องเดมจะมาหอมแล้วขอไปนอนก่อน ขณะที่ผมบันทึกนี้อยู่ ก็ขอ 2 รูป เพราะเห็นกล้องวางอยู่ ตามที่นำมาลงไว้ครับ

หมายเลขบันทึก: 10850เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2005 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คุณขาดทุนเพียงน้อยนิดวันนี้ แต่จะได้กำไรมหาศาลในครั้งหน้า เมื่อลูกคุณเป็นเด็กที่รู้จักอดออม เพราะดิฉันเองก็พยายามออมหนึ๋งส่วนใช้สามส่วนอยู่ค่ะ แต่บางเดือนก็ทำลำบากหน่อยถ้าไปเที่ยวบ่อย..ลูกสาวสวยนะค่ะ

ให้คุณพ่อน้องเดมบอกเลขที่บัญชีน้องเดมมา จะฝากสมทบให้ทุกเดือนค่ะ ฝากคิดถึงน้องเดมด้วยค่ะ แล้วเจอกันวันปีใหม่ค่ะ

 

เก็งมากจะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท